Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

Skype และ Snapchat ติดโผแอพฯ ที่ไม่ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

Skype และ Snapchat ติดโผแอพฯ ที่ไม่ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

แอมเนสตี้จัดอันดับความเป็นส่วนตัวของ 11 แอพฯ ข้อความ สแน็ปแช็ตและสไกป์อยู่ในกลุ่มรั้งท้าย ส่วนเฟซบุ๊กกับแอปเปิ้ลได้คะแนนสูงสุด พร้อมเรียกร้องทุกแอพฯ เข้ารหัสแบบ end-to-end

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจัดอันดับ “ดัชนีความเป็นส่วนตัวในการส่งข้อความ” โดยพิจารณาจาก 11 บริษัทเจ้าของแอพพลิเคชั่นส่งข้อความยอดนิยมของโลกว่ามีมาตรฐานในการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนจาก 0 ถึง 100

          “คุณจะต้องประหลาดใจที่ข้อความต่างๆ ของเราไม่ได้เป็นความลับ จริงๆ แล้วบทสนทนาของเราตกเป็นเป้าหมายจากการโจรกรรมข้อมูลออนไลน์และถูกสอดแนมจากภาครัฐมาโดยตลอด” เชรีฟ อัลซาเยด-อาลี หัวหน้าทีมเทคโนโลยีและสิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว

Blackberry และ Snapchat ได้คะแนนน้อยกว่า 30/100

          บริษัทสัญชาติจีนอย่างเท็นเซ็นต์ (Tencent) รั้งท้ายสุดการจัดอันดับ โดยได้ 0 คะแนน โดยถือเป็นบริษัทที่มีมาตรการด้านความเป็นส่วนตัวน้อยที่สุดและมีความโปร่งใสน้อยที่สุด ตามมาด้วยแบล็กเบอร์รี่ (Blackberry) และสแน็ปแช็ตที่ได้ไปเพียง 20 และ 26 คะแนนตามลำดับ

          แม้ว่าบริษัทอย่างไมโครซอฟท์ (Microsoft) จะมีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนอันหนักแน่น แต่สไกป์ (Skype) ซึ่งเป็นแอพฯ ของไมโครซอฟท์กลับมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลที่หละหลวม โดยได้ไปเพียง 40 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 4 จากท้ายตาราง โดยทั้งไมโครซอฟต์ สแน็ปแช็ต แบล็กเบอร์รี่ และเท็นเซ็นต์ ต่างไม่มีการเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “end-to-end” ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ผู้ส่งและผู้รับเท่านั้นจะสามารถอ่านข้อความได้

          สำหรับสแน็ปแช็ต แอพฯ ที่พัฒนาโดยบริษัทในสหรัฐฯ ซึ่งมีผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก แม้จะมีนโยบายเรื่องความเป็นส่วนตัวที่แน่นหนา แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่น การที่สแน็ปแช็ตไม่มีการเข้ารหัสแบบ end-to-end และไม่มีการให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับภัยคุกคามด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้ เป็นต้น

Facebook และ Apple มีความปลอดภัยสูง

          ในขณะที่หลายๆ บริษัทไม่มีมีนโยบายความเป็นส่วนตัวที่เหมาะสม เฟซบุ๊ก (Facebook) เจ้าของเฟซบุ๊กเมสเซ็นเจอร์ (Facebook Messenger) และวอตส์แอปป์ (WhatsApp) ซึ่งมีผู้ใช้ถึง 2,000 ล้านคนทั่วโลก ถูกจัดให้เป็นบริษัทที่ใช้การเข้ารหัสเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามสิทธิมนุษยชนได้ดีที่สุด ตลอดจนให้ข้อมูลที่โปร่งใสที่สุดเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของบริษัทด้วย โดยทำคะแนนไปได้ 73 จาก 100 คะแนน

          อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ใช้จะสามารถเลือกใช้การเข้ารหัสแบบ end-to-end ที่มากับลูกเล่นใหม่อย่างโหมดสนทนาลับ (Secret Conversation) บนเฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์ได้ ในค่าเริ่มต้นของเฟซบุ๊กเมสเซ็นเจอร์กลับยังคงใช้การเข้ารหัสที่อ่อนแอ หมายความว่าเฟซบุ๊กจะสามารถเข้าถึงข้อมูลการสนทนาของผู้ใช้ในแอพฯ ได้ ขณะที่วอตส์แอปป์ใช้การเข้ารหัสแบบ end-to-end เป็นค่าเริ่มต้นและยังแจ้งรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับระบบดังกล่าวให้ผู้ใช้ได้ทราบด้วย

          แอปเปิ้ล (Apple) ทำคะแนนได้ 67 คะแนน โดยบริษัทใช้การเข้ารหัสแบบ end-to-end ทั้งในไอเมสเสจ (iMessage) และเฟซไทม์ (Facetime) อย่างไรก็ตาม แอปเปิ้ลยังจำเป็นต้องแจ้งผู้ใช้งานตระหนักถึงความปลอดภัยที่ลดลงเมื่อส่งข้อความจากไอเมสเสจไปยังแอพฯ ข้อความแบบสั้น (SMS) ทั่วไป

เกณฑ์การจัดอันดับ

  • คำนึงถึงภัยคุกคามความเป็นส่วนตัวออนไลน์และเสรีภาพในการแสดงออกของผู้ใช้
  • ใช้การเข้ารหัสจากปลายต้นทางถึงปลายทาง (end-to-end) เป็นค่าเริ่มต้น
  • แจ้งผู้ใช้ให้ตระหนักถึงภัยคุกคามต่างๆ ต่อสิทธิของพวกเขาและระดับความมีประสิทธิภาพของการเข้ารหัส
  • เปิดเผยรายละเอียดต่างๆ เมื่อรัฐร้องขอข้อมูลของผู้ใช้จากบริษัท
  • เปิดเผยรายะเอียดเชิงเทคนิคของระบบการเข้ารหัสที่ใช้กับแอพพลิเคชั่น

การเข้ารหัสแบบ end-to-end: ฟังก์ชันพื้นฐานที่หลายแอพฯ ยังไม่มี 

          แอพพลิเคชั่นยอดนิยมอย่างวอตส์แอปป์ สไกป์ และไวเบอร์ (Viber) ที่มีผู้ใช้หลายร้อยล้านคนทั่วโลก ซึ่งก็รวมถึงกลุ่มผู้ใช้ที่มีความเสี่ยงสูงด้วย เช่น นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน นักการเมืองฝ่ายค้านในประเทศต่างๆ ไปจนถึงสื่อสารมวลชน

          เชรีฟ อัลซาเยด-อาลี กล่าวว่า “ตอนนี้ผู้ใช้หลายล้านคนกำลังส่งข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นส่งข้อความเหล่านี้ที่ไม่มีแม้แต่ระบบป้องกันความเป็นส่วนตัวขั้นพื้นฐานที่สุด”

          “บริษัทส่วนมากไม่พยายามปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้แอพพลิเคชั่นของพวกเขาเลย นักกิจกรรมทั่วโลกจำเป็นต้องพึ่งพาระบบการรักษาความเป็นส่วนตัวที่แน่นหนา มันจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้เมื่อบริษัทไอทีต่างๆ ทำให้พวกเขาตกอยู่ในอันตรายจากความล้มเหลวในการตอบสนองต่อภัยคุกคามสิทธิมนุษยชนอย่างเหมาะสม” เชรีฟ อัลซาเยด-อาลี กล่าวเสริม

          แอมเนสตี้เชื่อว่าการเข้ารหัสแบบ end-to-end ควรเป็นระบบขั้นพื้นฐานที่สุดที่แอพฯ ต่างๆ ควรมีเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยเรียกร้องให้บริษัทไอทีต้องใช้การเข้ารหัสแบบ end-to-end กับแอพฯ ข้อความของพวกเขา ซึ่งจะช่วยปกป้องและส่งเสริมสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนทั่วไป นักกิจกรรม ตลอดจนคนส่วนน้อยของสังคมที่ถูกคุกคามทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัทต่างๆ ยังควรเปิดเผยรายละเอียดเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติว่าพวกเขาแสดงความรับผิดชอบต่อการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออกของผู้ใช้อย่างไรบ้าง

ตารางฉบับเต็ม


 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง: 

ป้ายคำ: 

  • เสรีภาพในการแสดงออก
  • สิทธิความเป็นส่วนตัว
  • ความเป็นส่วนตัว
  • เฟซบุ๊ก
  • แอปเปิ้ล
  • สไกป์
  • ไลน์
  • ความปลอดภัย
  • ข้อมูลความเป็นส่วนตัว
  • การเข้ารหัสแบบ end-to-end
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล