Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

14 องค์กรสิทธิกดดัน “บริษัททุ่งคำ” หยุดฟ้อง “ไทยพีบีเอส” กรณีเหมืองทองคำ จ.เลย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

14 องค์กรสิทธิกดดัน “บริษัททุ่งคำ” หยุดฟ้อง “ไทยพีบีเอส”
กรณีเหมืองทองคำ จ.เลย

แอมเนสตี้และองค์กรสิทธิรวม 14 แห่ง ออกแถลงการณ์ร่วมกดดันบริษัททุ่งคำให้เพิกถอนการดำเนินคดีอาญาต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส พร้อมเรียกร้องรัฐบาลไทยให้คุ้มครองเสรีภาพสื่อ

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมหน่วยงานและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศรวม 14 แห่ง ออกแถลงการณ์กดดันให้ “บริษัท ทุ่งคำ จำกัด” ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ เพิกถอนการดำเนินคดีอาญาต่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท) หรือ “สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส” และสื่อมวลชนสี่คนโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาในหลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Right)

          บริษัททุ่งคำอ้างว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสสร้างความเสียหายให้กับชื่อเสียงของบริษัท หลังจากที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากเหมืองทองคำแบบเปิดของบริษัทในจังหวัดเลย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและสื่อมวลชนทั้งสี่อาจถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 รวมทั้งคดีแพ่งซึ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนรวม 50 ล้านบาท ตลอดจนข้อหาอื่นๆ และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของสถานีชั่วคราวด้วย

          ศาลอาญามีกำหนดจะอ่านคำสั่งหลังการไต่สวนในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 โดยหากศาลรับพิจารณาคดี สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและสื่อมวลชนทั้งสี่คนจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนการสืบพยานต่อไป โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยจะส่งตัวแทนเข้าร่วมสังเกตการณ์การอ่านคำสั่งดังกล่าวด้วย

          บริษัททุ่งคำได้ยื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาในลักษณะเดียวกันต่อต่อสมาชิกของ “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านรอบเหมืองทองคำดังกล่าวที่รวมกันเพื่อรณรงค์ปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วย

          นอกจากนี้ 14 องค์กรสื่อยังขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลไทยให้คุ้มครองเสรีภาพสื่อ ยกเลิกการเอาผิดทางอาญาสำหรับข้อหาหมิ่นประมาท และปรับปรุงแก้ไขให้เนื้อหาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลด้วย

          ทั้งนี้ แอมเนสตี้ประเทศไทยได้ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างเหมืองแร่ทองคำและชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยมีการส่งอาสาสมัครและนักกิจกรรมลงพื้นที่เมื่อเดือนมกราคม 2559 ที่ผ่านมา เพื่อเรียนรู้ปัญหา ตลอดจนหาทางออกภายใต้หลักสิทธิมนุษยชนสากลร่วมกัน

ร่วมลงนามในแถลงการณ์โดย:

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International)
อาร์ติเคิล 19 (Article 19)
โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
คณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (Committee to Protect Journalists)
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH - International Federation for Human Rights)
องค์กรฟอร์ติฟายไรท์ (Fortify Rights)
ลอว์เยอร์ไรท์วอทช์แคนาดา (Lawyers’ Rights Watch Canada)
องค์กรโพรเทกชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (Protection International)
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders)
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Press Alliance)
โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

แลถงการณ์ฉบับเต็มภาษาไทย

แลถงการณ์ฉบับเต็มภาษาอังกฤษ


 

ป้ายคำ: 

  • ทุ่งคำ
  • เหมืองแร่เมืองเลย
  • บริษัททุ่งคำ
  • เหมืองแร่ทองคำ
  • วังสะพุง
  • ไทยพีบีเอส
  • ศาลอาญา