Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้พบมาตรการ “อียู” กดดันให้อิตาลีละเมิดสิทธิผู้ลี้ภัย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
ภาพ: AFP/Getty Images

แอมเนสตี้พบมาตรการ “อียู” กดดันให้อิตาลีละเมิดสิทธิผู้ลี้ภัย

รายงานฉบับใหม่ของแอมเนสตี้พบว่าแรงกดดันจากสหภาพยุโรปที่ต้องการให้ประเทศอิตาลีเข้มงวดต่อผู้ลี้ภัยมากขึ้นส่งเสริมให้เกิดการใช้กำลัง ขับไล่ เลือกปฏิบัติ และการทรมานต่อผู้ลี้ภัยเพิ่มมากขึ้น

          การทุบตี การช็อตด้วยไฟฟ้า การทำอนาจารเพื่อให้อับอาย และความรุนแรงอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ลี้ภัยในอิตาลีล้วนเป็นข้อมูลที่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ค้นพบและนำเสนอผ่านรายงานฉบับใหม่ Hotspot Italy: How EU’s flagship approach leads to violations of refugee and migrant rights โดยรายงานฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นว่ามาตรการของสหภาพยุโรปหรือ “อียู” ที่เรียกกันว่า “hotspot approach” หรือกระบวนการลงทะเบียนผู้ลี้ภัยในประเทศหน้าด่านอย่างอิตาลีและกรีซไม่เพียงแต่จะลดทอนสิทธิของผู้ลี้ภัยเท่านั้น แต่ยังบานปลายไปถึงการส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงด้วย

          มัตเตโอ เด เบลลิส นักวิจัยแอมเนสตี้ อินเตอร์แนชั่นแนล กล่าวว่าผู้ลี้ภัยต่างต้องฝ่าฟันอันตรายต่างๆ ในการเดินทางเพื่อมาที่พักพิงอันปลอดภัยในยุโรป แต่สิ่งที่พวกเขาเจอกลับเป็นการโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายและขับไล่ออกนอกประเทศจากมาตรการอันรุนแรงของอียู

          “ภายใต้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะลดจำนวนผู้ลี้ภัยที่กำลังหลั่งไหลเข้ามา มาตรการของสหภาพยุโรปกลับบังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐของอิตาลีทำเกินความจำเป็นและบางครั้งก็ละเมิดกฎหมายด้วย” มัตเตโอ เด เบลลิส กล่าว

          ตามขั้นตอนของ hotspot approach เมื่อผู้ลี้ภัยเดินทางมาถึงประเทศหน้าด่านอย่างอิตาลี เจ้าหน้าที่จะระบุตัวตน บันทึกลายนิ้วมือ และซักถามข้อมูลต่างๆ เพื่อประเมินความช่วยเหลือตลอดจนตัดสินว่าจะดำเนินการการขอที่พักพิงของผู้ลี้ภัยต่อหรือส่งพวกเขากลับประเทศ ทว่าจากการสัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพมากกว่า 170 คนโดยแอมเนสตี้ พบว่ากระบวนการเหล่านี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

          ทั้งนี้ เพื่อลดความตึงเครียดในประเทศหน้าด่าน อียูกำหนดให้ประเทศหน้าด่านสามารถส่งต่อผู้ลี้ภัยไปยังประเทศอียูอื่นๆ ได้ แต่ในความเป็นจริงดูเหมือนว่ามาตรการนี้จะไม่เป็นผลนัก โดยมีผู้ลี้ภัยแค่ 1,200 เท่านั้นที่ถูกอิตาลีส่งไปประเทศอื่นในอียูจากทั้งหมด 40,000 ตามที่ตกลงกันไว้ โดยปีนี้คาดว่ามีผู้ลี้ภัยมากถึง 150,000 ที่เดินทางมาถึงอิตาลี

การใช้กำลังบังคับให้พิมพ์ลายนิ้วมือ

          มาตรการพิมพ์ลายนิ้วมือเริ่มใช้ในปี 2558 โดยข้อเสนอของคณะกรรมมาธิการยุโรป (European Commission) ซึ่งระบุให้ทางการอิตาลีพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ลี้ภัยทันทีเมื่อพวกเขาเดินทางเข้าประเทศ แต่ผู้ลี้ภัยบางส่วนปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือเนื่องจากพวกเขาต้องการลี้ภัยไปยังประเทศอื่น เนื่องจากในระเบียบดับลิน (Dublin Regulation) กำหนดว่าถ้าผู้ลี้ภัยมีลายนิ้วมือที่อยู่ในระบบของประเทศไหนในอียูแล้ว พวกเขาอาจไม่สามารถลี้ภัยไปยังประเทศอื่นได้และถูกส่งกลับมายังอิตาลีในท้ายที่สุด

          ภายใต้แรงกดดันของสหภาพยุโรป ทางการอิตาลีจึงต้องใช้กำลังบังคับให้ผู้ลี้ภัยพิมพ์ลายนิ้วมือ แอมเนสตี้ได้รับรายงานเกี่ยวกับการควบคุมตัวโดยพลการ การข่มขู่คุกคาม และการใช้กำลังบีบบังคับต่อผู้ลี้ภัยทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก ไปจนถึงการทำอนาจารเพื่อให้อับอายด้วย ผู้ลี้ภัยที่เป็นผู้หญิงวัย 25 ปีจากเอริเทรียเล่าว่าเธอถูกตำรวจตบหน้าซ้ำไปซำมาจนกว่าจะยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ ส่วนเด็กวัยรุ่นชายวัย 16 ปีจากซูดานระบุว่าเขาถูกจับช็อตไฟฟ้า คล้ายกับผู้ลี้ภัยชายวัย 27 ปีที่เล่าว่าเขาถูกจับแก้ผ้าแล้วใช้คีมหนีบลูกอัณฑะ

“พวกเขาจับแขนขาผมไว้แล้วใช้คีมหนีบไปที่อัณฑะ มันเจ็บปวดมากจนผมอธิบายเป็นคำพูดไม่ได้เลย”

– ผู้ลี้ภัยจากซูดาน

          แอมเนสตี้ตระหนักดีว่าเจ้าหน้าที่รัฐของอิตาลีส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐานและลายนิ้วมือส่วนใหญ่ก็ได้มาจากความสมัครใจ แต่รายงานความรุนแรงเหล่านี้ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นโปร่งใสและอิสระเช่นกัน โดยแอมเนสตี้ได้ติดต่อเพื่อขอคำชี้แจงและพูดคุยแก้ไขปัญหาร่วมกับกระทรวงมหาดไทยของอิตาลีหลายครั้งแต่ยังไม่มีการตอบรับใดๆ

การคัดกรอง

          การคัดกรองมีขึ้นเพื่อแยกผู้ลี้ภัยออกจากผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ผลกระทบทางจิตใจและร่างกายจากการเดินทางทำให้การคัดกรองเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอได้ หญิงชาวไนจีเรียคนหนึ่งบอกกับแอมเนสตี้ว่าตอนที่มาถึงอิตาลี เธอหวาดกลัวและสับสนมากจนจำอะไรไม่ได้

“ฉันไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเรามาถึงตรงนี้ได้ยังไง ฉันได้แต่ร้องไห้ มองไปเห็นแต่ตำรวจเต็มไปหมด ฉันหวาดกลัวและสับสนมาก ฉันจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าพ่อแม่ตัวเองชื่ออะไร”

– ผู้ลี้ภัยจากไนจีเรีย

          เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกสั่งให้ถามผู้ลี้ภัยที่มาถึงใหม่ว่าทำไมพวกเขาถึงเดินทางมาอิตาลีแทนที่จะถามตรงๆ ว่าพวกเขาต้องการลี้ภัยหรือไม่ เพราะจริงๆ แล้วการออกสถานะผู้ลี้ภัยจะพิจารณาจากความเสี่ยงอันตรายของพวกเขาถูกส่งกลับประเทศต้นทางและไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่พวกเขาเดินทางเข้ามายังประเทศหน้าด่าน ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการขับไล่ผู้ลี้ภัยกลับประเทศโดยพลการและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงอื่นๆ ตามมา 

การขับไล่กลับประเทศ

          ภายใต้แรงกดดันจากอียู อิตาลีพยายามเพิ่มจำนวนการส่งกลับผู้ลี้ภัยให้มากขึ้น อิตาลีได้บรรลุข้อตกลงเพื่อส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังประเทศต้นทางที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างซูดาน เยมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อิตาลีได้ส่งชาวซูดาน 40 คนกลับประเทศ โดยคำให้การของผู้ลี้ภัยที่ถูกส่งกลับวัย 23 ปีคนหนึ่งระบุว่ามีการทำร้ายร่างกายผู้ที่ถูกส่งกลับ

“มีเจ้าหน้าที่มารอพวกเราอยู่ที่สนามบิน เราถูกจับแยกอกมา  ผมเห็นพวกเขาซ้อมคนหนึ่ง จากนั้นเราโดนสอบถามทีละคน ผมกลัวมากถ้าพวกเขาเจอผมอีก จะเกิดอะไรขึ้นกับผมก็ไม่รู้”

– ผู้ลี้ภัยจากซูดาน

          มาตรการของอียูนอกจากจะไม่ได้ช่วยลดภาระของประเทศหน้าด่านแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความตึงเครียดและแรงกดดันที่นำไปสู่ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย แอมเนสตี้เรียกร้องมาโดยตลอดให้ประเทศในยุโรปปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้อิตาลีต้องยุติการละเมิดสิทธิของผู้ลี้ภัยและไม่ส่งพวกเขากลับไปประเทศต้นทางโดยพลการ


 

ป้ายคำ: 

  • อิตาลี. กรีซ
  • ผู้ลี้ภัย
  • สหภาพยุโรป
  • อียู
  • สิทธิผู้ลี้ภัย
  • ประเทศหน้าด่าน
  • ระเบียบดับลิน
  • การทรมาน
  • การทำร้ายร่างกาย
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล