Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ทัศนะสื่อไทยต่อการทำข่าวอาชญากรรมร้ายแรง กรณี “โทษประหารชีวิต” (Death Penalty)

หมวดหมู่ : บล็อก

ทัศนะสื่อไทยต่อการทำข่าวอาชญากรรมร้ายแรง

กรณี “โทษประหารชีวิต” (Death Penalty)

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 สมศรี หาญอนันทสุข    

          ทุกครั้งที่สังคมไทยเผชิญปัญหาการก่ออาชญากรรมร้ายแรง (Heinous Crime)  โดยเฉพาะกรณีสะเทือนขวัญที่คนจำนวนมากให้ความสนใจ สื่อมวลชนหลายสำนักมักปล่อยให้มีการเสนอข่าวอย่างอิสระ ไร้ขีดจำกัด มีภาพหรือเสียงของผู้เล่าข่าวบางคนพูดถึงเรื่องราวการกระทำผิด ด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่พอใจผู้ต้องหา ปนความคิดเห็นส่วนตัวเสมอ ทั้งที่ยังไม่ทราบว่าผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมนั้นเป็นคนร้ายตัวจริงหรือไม่  หรือผู้ก่อเหตุนั้นมีแรงจูงใจจากอะไร หลายครั้งสื่อมักไม่ปฏิบัติกับผู้ตกเป็นข่าวทั้งสองฝ่าย (ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ) อย่างเหมาะสม  ไม่มองผู้ถูกกล่าวหาในฐานะ “ผู้ต้องหา” แต่ปล่อยให้อารมณ์ของข่าวได้พิพากษาพวกเขาเสมือน “นักโทษ” ไปล่วงหน้า   โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันกันสูง ต้องช่วงชิงความรวดเร็วในการเสนอข่าวแบบฟันธง “คอยไม่ได้” ยิ่งทำให้เกิดการละเมิดสิทธิของผู้ตกเป็นข่าวอย่างมาก จึงไม่แปลกที่ข่าวมักจะออกมาในแนวชี้นำให้คนเข้าใจผิด สร้างกระแสเกินเลย ไม่ว่าจะเกิดกับผู้ถูกจับกุม กรณีฆ่า ข่มขืน  กรณียาเสพติด ฆ่าตัดตอน  กรณีผู้ก่อการร้ายภาคใต้ วิสามัญฆาตรกรรม หรือกรณีการใช้ความรุนแรงของเด็กอาชีวะ ก็ตาม

ทัศนะสื่อไทยกับโทษประหารชีวิต

           การที่สื่อไทยสนับสนุนการลงโทษสถานหนักกับผู้ก่ออาชญากรรมแล้วยังทำตัวเป็นผู้รณรงค์เสียเองเพื่อให้มีการประหารชีวิตในหลายๆกรณี เพราะมีมุมมองง่ายๆว่าวิธีนี้จะลดปัญหาในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือออย่างน้อยก็เป็นการก่อกระแสสังคมสร้างความไม่ยอมรับ (Social Sanction) ไว้ก่อน   คงจะยังอีกยาวไกลที่จะทำให้นักข่าวไทยมีทัศนะคติที่ถูกต้อง มองรากเหง้าที่มาของปัญหา ไม่ใช้อารมณ์  สามารถแยกแยะได้ว่าวิธีการใดคือการลงโทษอย่างแท้จริงและอะไรคือการก่ออาชญากรรมโดยรัฐ  ปัญหานักข่าวไทยไม่ต่างจากประชาชนทั่วไปที่เกิดมาในสังคมที่มีโทษประหารชีวิตมาโดยตลอด จึงเห็นชอบให้ดำรงโทษนี้อยู่ 

          สื่อไทยหลายคนต้องการให้มีการประหารฯผู้กระทำผิดคดีร้ายแรงในทันที ไม่มีข้อยกเว้น เพราะถือเป็นการเยียวยาที่เหมาะสมให้กับผู้เคราะห์ร้ายและญาติ  ส่วนผู้ใดที่ไม่เห็นด้วยกับโทษประหารฯ ถือเป็นพวกที่มีความคิดตื้นเขิน ไร้สาระ ไม่คำนึงถึงหัวอกของผู้ถูกกระทำที่เผชิญกับความสูญเสียอย่างแสนสาหัส    

          มีนักธุรกิจชื่อดังท่านหนึ่งซึ่งเป็นนักเขียนหนังสือแนวธรรมะ(ผู้ชอบเล่าประสบการณ์ความดีของตนที่คนไทยชื่นชอบ) ถึงกับเรียกร้องให้ประเทศไทยเอาเยี่ยงอย่างการลงโทษอย่างเด็ดขาดของประเทศจีนและสิงคโปร์  ซึ่งประหารชีวิตคนทำผิดอย่างง่ายดาย ส่วนความพยายามที่จะให้ถือ “การจำคุกตลอดชีวิต” เป็นการลงโทษสูงสุดแทนการประหารฯนั้นเป็นความคิดที่นำเข้าจากตะวันตก  สมาคมสื่อไทยทุกสำนักก็ไม่เคยคิดที่จะนำเรื่องดังกล่าวมาถกเถียงในหมู่คนทำข่าวด้วยกัน 

           ซึ่งแตกต่างจากสถาบันการศึกษาที่มีบรรดาคณาจารย์ชื่อดังหลายคนที่ศึกษาการแก้ปัญหาสังคมด้วยการใช้หลักสันติวิธีออกมาแสดงท่าทีชัดเจนในการไม่เห็นด้วยกับการลงโทษประหารฯ ถึงขนาดพยายามให้ตัดคำว่า “โทษประหาร” ออกจากการบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ดังจะเห็นในมาตรา ๓๒ ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทํามิได้ แต่การลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการ ลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม” กล่าวคือแม้โทษประหารยังมีได้ตามดุลพินิจของศาล แต่รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสที่จะให้ยกเลิกโทษประหารในอนาคต

สื่อน้ำดี มีความเป็นมืออาชีพ

          ผู้ทำงานสื่อที่ดีต้องมีความชัดเจนในการนำเสนอเรื่องราว เหตุการณ์ ข้อเท็จจริง ด้วยท่าทีที่ไม่สนับสนุนความรุนแรง และเป็นสื่อกลางให้ผู้คนได้พูดคุยเรื่องโทษประหารฯ ในแง่คิดที่เป็นเหตุเป็นผล ส่งเสริมการใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาทุกเรื่องโดยไม่มีข้อยกเว้น  เลิกล้มความคิดที่มองว่า “การประหารฯ ไม่ถือเป็นความรุนแรง”  สื่อเองต้องพูดคุยกัน   เพื่อให้บุคลากรทุกคนยกระดับความคิดความเชื่อที่เป็นสากล ยึดหลักคำสอนทางศาสนามาประกอบการทำงานสื่ออย่างมั่นคง  ไม่เผลอแสดงความคิดเห็นทั้งหน้าจอ หรือนอกจอในทางสนับสนุนการลงโทษประหารฯที่หลายคนถือว่า   เป็นการ “ก่ออาชญากรรมอย่างหนึ่งแต่เป็นการลงมือโดยรัฐ” หรือเป็นการฆ่าคนที่ถูกกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นการประหารฯ ด้วยการยิงเป้าหรือฉีดยาก็ตาม ทั้งสองวิธีที่ประเทศได้ใช้ลงโทษมานั้นต่างทำให้ผู้กระทำผิดต้องตายทั้งสิ้น 

ในจำนวน  193 ประเทศมี 96 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท   9 ประเทศได้ยกเลิกโทษประหารสำหรับความผิดทางอาญาทั่วไปเท่านั้น    35 ประเทศ ยกเลิกโทษประหารในทางปฏิบัติ  140 ประเทศ ยกเลิกโทษประหารในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ    58 ประเทศ ยังคงบทลงโทษประหาร และประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 58 ประเทศนั้น   สำหรับประเทศใน ASEAN ที่ยกเลิกโทษประหารฯทั้งทางกฏหมายและทางปฏิบัติ ได้แก่ประเทศฟิลิปปินส์ และ กัมพูชา ส่วนประเทศพม่ายังคงมีโทษนี้อยู่ในทางกฏหมาย แต่ไม่นำมาปฏิบัติ  ซึ่งน่าสนใจว่านักข่าวของเขาคิดอย่างไรเมื่อมีการก่ออาชญากรรมร้ายแรงเกิดขึ้นในสังคม พวกเขาควรจะเขียนหรือ วิพากษ์วิจารณ์อาชญากรและผู้ค้ายาเสพติดหรือไม่เพื่อให้มีการประหารฯกลับคืนมา  (ข้อมูลจากแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล)

การลงโทษต้องมีคุณธรรมด้วยหรือ???

          เมื่อใดก็ตามที่ทุกคนทราบข่าวอาชญากรรม แล้วมีคนเห็นอกเห็นใจเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย หรือคิดอยากช่วยผู้ถูกกระทำ ถือว่าคนๆนั้นมีคุณธรรม มีน้ำใจ มีความรู้สึกนึกคิด และเมื่อใดก็ตามที่คนทราบข่าวว่าเจ้าหน้าที่ปล่อยเกียร์ว่างไม่เร่งรีบสืบหาอาชญากร ปล่อยให้ผู้กระทำผิดยังลอยนวล (Impunity) แล้วต้องการมีส่วนผลักดันให้ความยุติธรรมปรากฏ เมื่อนั้นก็ถือว่าคนๆนั้นใส่ใจคนอื่น มีคุณธรรม และอีกเช่นกันที่เมื่อไหร่ที่ผู้กระทำผิดถูกจับได้ แล้วได้รับการลงโทษ  ทุกคนจะรับรู้ได้ถึงความยุติธรรม เที่ยงธรรม สังคมมีคุณธรรม

          แต่หากเมื่อใดก็ตามที่มีคนเห็นด้วยกับความคิดข้างต้นแล้วยังขืนคิดไปไกลกว่านั้นถึงขั้นเรียกร้องลงโทษผู้กระทำผิดให้ได้รับโทษสูงสุดหยุดอยู่ที่การจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น  ขณะเดียวกันกลับไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิต จะถือว่าคนๆนั้นผิดปกติ  จะถูกถามว่า “เอ็งจะเอายังไงกันแน่”    มันเป็นความคิดที่ซ้อนขึ้นมา ขัดแย้งกับการลงโทษอย่างสาสมในขั้นประหารชีวิต ที่คนไทยส่วนใหญ่มองว่าเที่ยงธรรมแล้ว  เมื่อคนทำผิดได้กระทำในสิ่งที่ไร้คุณธรรมก่อน  ก็สมควรแล้วที่จะได้รับโทษในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ “ใช้วิธีการที่ไร้คุณธรรมกับคนที่ไร้คุณธรรม เราอย่าไปคิดมากให้เปลืองสมอง”  ซึ่งต่างจากผู้ไม่เห็นด้วยกับโทษประหารที่ตั้งคำถามตามมาว่า “การปลิดชีวิตคนจะถือเป็นการลงโทษได้อย่างไร?” มันเป็นเพียงการกำจัดคนผิดให้ออกไปจากสังคมไม่ให้โอกาสกล่อมเกลากลับตัวเป็นคนดี  ความเห็นฝ่ายหลังนี้เราเรียกว่าคุณธรรมซ้อนคุณธรรม ที่ต้องเปิดใจถกเถียงกันในหมู่นักสื่อสารมวลชนให้ตกผลึก เพื่อให้การทำข่าว หรือรายการมีจุดยืนที่ชัดเจน เน้นการส่งเสริมคุณธรรมกับคนดีและคนทำผิด ให้เป็นแบบอย่างที่เข้าใจกัน 

สื่อมวลชนไทยเสพความรุนแรงมาแต่กำเนิด

          ในประวัติศาสตร์ไทยยังไม่เคยมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต สื่อไทยจึงยังคุ้นเคยกับการทำข่าวการลงโทษในลักษณะนี้มาแต่กำเนิด ไม่แน่ใจว่าคนไทยจะอยู่ได้โดยไม่มีโทษประหารชีวิตได้อย่างไร จะปลอดภัยหรือไม่  คงจะมีบ้างที่สื่อมวลชนไทยบางคนที่เคยใช้ชีวิตในประเทศที่ไม่มีโทษนี้หลงเหลืออยู่ อาทิเช่น ประเทศสมาชิกอียู (European Union) แคนาดา ออสเตรเลีย หรือในบางประเทศของอาเซียน เช่นฟิลิปปินส์  กัมพูชา เมียนมาร์ และไม่เห็นด้วยกับโทษนี้    อย่างไรก็ตาม เรายังไม่เคยมีการไตร่ตรองว่าเหตุใดประเทศเหล่านั้นเขาอยู่ได้ด้วยการยกเลิกโทษนี้ไปแล้ว และสื่อส่วนใหญ่ของเขาก็ไม่ออกมาเรียกร้องให้นำโทษประหารฯนี้กลับมาบังคับใช้อีก หรือว่าจะถึงเวลาแล้วที่เราสื่อมวลชนไทยต้องหันมาทบทวนทัศนะคติของคนทำข่าว รายการ ที่ประกาศตัวว่าไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงทุกรูปแบบ

การตกผลึกทางความคิดของคนทำงานสื่อ

          สื่อที่ดี จะไม่เห็นด้วยกับการปล่อยให้คนทำผิดลอยนวล (impunity) ไม่ว่าจะลอยนวลด้วยอิทธิพลท้องถิ่น    ติดสินบน หรือเจ้าหน้าที่ปล่อยเกียร์ว่าง   บทบาทของสื่อคือตัวกลางที่สื่อสารให้คนในสังคมเห็นความจริง ปรากฏตามหลักฐาน ข้อเท็จจริง ทำให้สังคมเข้าใจเรื่องการลงโทษที่สมเหตุสมผล เมื่อไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงทุกรูปแบบดังที่กล่าวมาแล้ว  ความคิดของคนทำสื่อ  ควรมีความเสมอต้นเสมอปลาย (consistence) ไม่ควรเห็นชอบกับการลงโทษแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน  ต้องคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม ความยุติธรรมที่มีมิติของสิทธิมนุษยชนของทุกฝ่าย เพราะหลักการของการลงโทษผู้กระทำผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องการตัดเนื้อร้ายออกจากร่างกาย แต่เป็นการหาวิธีการรักษาให้อวัยวะส่วนนั้นกลับมาเป็นเนื้อดี แล้วคืนคนที่ได้รับการกล่อมเกลาแล้วนี้ คืนสู่สังคม  สื่อต้องไม่นำเสนอทางออกให้สังคมแบบตื้นเขิน ฉาบฉวย ในลักษณะที่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ควรเสนอการแก้ปัญหาที่ต้นตอ ทั้งทางสังคม  ครอบครัว และความผิดปกติทางด้านจิตใจ ขณะเดียวกันมีส่วนร่วมในการหาช่องทางการป้องปราม  ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างอีกด้วย

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • สื่อมวลชน
  • ความรุนแรง
  • ทัศนะสื่อ