Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ความรับผิดชอบของบรรษัทต่อสิทธิมนุษยชน

ในปี 2555 สมาชิกและอาสาสมัครแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมรณรงค์ให้บริษัทเชลล์แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบอันร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากมลภาวะทางน้ำมันในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์

เพราะตระหนักถึงผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากมลภาวะทางน้ำมันในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ เราต้องการให้เชลล์แสดงความรับผิดชอบด้วยจำนวนเงินเริ่มต้นหนึ่งพันล้านบาทในการขจัดมลพิษและปรับปรุงสภาพแวดล้อมซึ่งถูกทำลายจากกรณีที่น้ำมันรั่วไหล

การปนเปื้อนทางน้ำมันส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ ทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ สารพิษที่ปนเปื้อนเป็นอุปสรรคต่อชาวบ้านในการได้รับน้ำดื่มและอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ทั้งยังเป็นการเสี่ยงต่อสุขภาพพลานามัยของผู้คนหลายพันคน โดยเฉพาะกลุ่มชาวบ้านผู้ยากไร้

ความล้มเหลวในการขจัดมลภาวะทางน้ำมันซึ่งเกิดจากการขุดเจาะของบริษัทส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวทั้งยังทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม การรั่วไหลของน้ำมันสองครั้งใหญ่ในปี 2551 ที่โบโด โอโกนิแลนด์ ดำเนินอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์กว่าที่เหตุการณ์จะหยุด และกว่าสามปีที่ผ่านมาทางบริษัทก็ยังไม่มีการดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม

ในเดือนสิงหาคม ปี 2554 หลังจากการประเมินความเสียหายจากการรั่วไหลดังกล่าวในโอโกนิแลนด์ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) พบว่าเชลล์ล้มเหลวในการขจัดมลภาวะทางน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ในขณะที่หน้าที่และความรับผิดชอบในการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์เป็นของรัฐบาลไนจีเรีย อย่างไรก็ตามเป็นที่ชัดเจนในรายงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติที่ว่า ยังคงเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย

พวกเราเรียกร้องให้ บริษัทเชลล์แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบอันร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากมลภาวะทางน้ำมันในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ ดังนี้

  • จัดสรรเงินจำนวนหนึ่งพันล้านบาทตามการประเมินของ UNEP ซึ่งเงินจำนวนนี้จะเป็นเงินเริ่มต้นในการจัดตั้งกองทุนอิสระในการทำความสะอาดมลภาวะที่เกิดจากน้ำมันรั่วไหลในโอโกนิแลนด์
  • ทำความสะอาดมลภาวะที่เกิดจากน้ำมันรั่วไหลและส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมในโบโดอย่างครอบคลุม โดยต้องมีการปรึกษาหารือร่วมกับชุมชน
  • จัดให้มีการทบทวนอย่างโปร่งใสต่อกระบวนการการจัดการทั้งหมดในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในการทำความสะอาด การสืบสวนการรั่วไหลของน้ำมัน การปรึกษาหารือกับชุมชน และการจ่ายเงินค่าชดเชยความเสียหาย
  • สนับสนุนต่อความจำเป็นที่ยังต้องมีการประเมินอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบที่จะเกิดจากมลภาวะทางน้ำมันในพื้นที่อื่นๆ ที่มีการขุดเจาะน้ำมันในบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์
  • รับผิดชอบค่าชดเชยต่อทุกชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเพียงพอและเป็นธรรม.

ข้อมูลพื้นฐาน

บริเวณลุ่มน้ำไนเจอร์ (Niger Delta) เป็นแหล่งสะสมน้ำมัน มหาศาลและมีค่ามากแต่ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ จากประชาชนทั้งหมด 31 ล้านคน กลับอาศัยอยู่อย่างยากจน เป็นเวลานานกว่าทศวรรษที่มลภาวะซึ่งเกิดจากการขุดเจาะน้ำมันในลุ่มน้ำ ไนเจอร์ได้ก่อให้เกิด การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง

บริษัทเชลล์ได้สัมปทาน 80% ของการกลั่นน้ำมันและแก๊สในบริเวณนี้การดำเนินงานของบริษัทที่สร้างความเสีย หายให้กับพื้นที่นั้นได้ปล้นสิทธิมนุษยชนไปจากประชาชนและผลักให้ พวกเขาจมอยู่กับความยากจน  แทนที่รัฐบาลของไนจีเรียจะปกป้องประชาชนของตนเองแต่กลับละเลยให้พวกเขาให้ อยู่กับมลพิษจากบริษัทน้ำมัน

 

ผลกระทบจากการดำเนินการของเชลล์ต่อสิทธิมนุษยชน 

ในเดือนสิงหาคม 2551 ท่อส่งน้ำมันของเชลล์รั่ว และมีน้ำมันมากกว่า 1,600 บาเรล ปนเปื้อนในลำน้ำท้องถิ่นที่โบโด (Bodo Creek) นี่เป็นเรื่องเศร้าบทหนึ่งจากมลภาวะที่เชลล์ก่อขึ้น และรัฐบาลประเทศไนจีเรียไม่เคยควบคุมดูแลน้ำมันรั่วการเผาไหม้ของแก๊สและมลภาวะทั้งหมดนี้กำลังส่งผลกระทบอันเลวร้ายต่อผืนดินและแหล่งน้ำของชุมชน ประชาชนท้องถิ่นต้องดื่มน้ำที่ปนเปื้อนมลภาวะ กินปลาที่มีสารพิษปนเปื้อน เพาะปลูกบนที่ดินที่ถูกแย่งชิง และหายใจเอาอากาศที่มีแต่กลิ่นน้ำมันและแก๊ส  

เชลล์กำลังละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนท้องถิ่นดังนี้ 

  • สิทธิที่จะมีน้ำสะอาดอุปโภคและบริโภค 
  • สิทธิที่จะสามารถประกอบอาชีพ 
  • สิทธิที่มีสุขภาพที่ดีและอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี