Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ยื่นหนังสือ สตช. แสดงความกังวลด้านสิทธิมนุษยชนต่อร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เข้าพบผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อหารือเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมฉบับปัจจุบัน ที่มีเนื้อหาบางมาตราริดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบของประชาชน และไม่เป็นไปตามมาตรฐานด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ด้วย

นางสาวปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยและคณะ เดินทางเข้าพบพลตำรวจโทกวี สุภานันท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และคณะผู้แทนจากสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อหารือเกี่ยวกับร่างพรบ. โดยเฉพาะประเด็นที่ร่างกฎหมายเปิดช่องให้มีการตีความอย่างกว้างขวาง ที่อาจนำมาซึ่งการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบของประชาชนและข้อกังวลเรื่องการเอาผิดทางอาญากับผู้จัดการชุมนุมและผู้เข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ  อีกทั้งในร่างกฎหมายฉบับนี้ มีการนิยามหรือใช้ถ้อยคำที่มีข้อสังเกตว่ามีความหมายคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดปัญหาในการตีความและการนำมาใช้บังคับในทางกฎหมาย

 “เรามีความกังวลอย่างยิ่งว่าในมาตรา 7 และมาตรา 12 (1) และ 18 (1) ที่ใช้คำว่า “ความสะดวก” นั้นเปิดโอกาสให้มีการตีความและการใช้อำนาจอย่างกว้างขวาง เพื่อจำกัดการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งอำนาจดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชนอีกทั้งข้อกังวลโดยเฉพาะในเนื้อหาของมาตรา 7 ที่ระบุว่า การชุมนุมโดยสงบอาจถูกตีความว่า “ไม่เป็นการชุมนุมสาธารณะโดยสงบ” และเป็นเหตุนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีและการใช้กำลังของตำรวจได้ เพียงเพราะเหตุที่ว่าการชุมนุมนั้นเป็นเหตุให้มีการ “กีดขวางมิให้ประชาชนใช้ทางหลวงหรือทางสาธารณะได้ตามปกติ...” ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยกล่าว

การชุมนุมขนาดเล็กอย่างสงบ เช่น การชุมนุมบนถนนหรือตามจัตุรัสในเมืองนั้นย่อมทำให้เกิด“การขัดขวางการใช้ประโยชน์ตามปรกติ” ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้   แต่เมื่อกำหนดข้อกำหนดเช่นนี้ย่อมเปิดโอกาสให้ทางการสั่งห้ามหรือยุติการชุมนุมได้โดยง่าย แม้จะเป็นการชุมนุมโดยสงบก็ตาม ในทำนองเดียวกัน คำว่า “การขัดขวาง” มีความหมายที่กว้างมาก และอาจถูกใช้โดยพลการเพื่อยุติการชุมนุมโดยสงบ 

ด้านนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ รองประธานคณะกรรมการของแอมเนสตี้ฯ กล่าวเสริมว่า การปฏิบัติตามร่างกฎหมายของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายต้องอาศัยดุลยพินิจส่วนตัวของเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมาก เช่น เมื่อ “แจ้ง”ล่วงหน้าภายใน 24 ชั่วโมง แล้วก็ต้องรอการ “เห็นชอบ”เพื่อพิจารณาว่าผู้จัดการชุมนุมสามารถจัดได้หรือไม่ ในทางปฏิบัติจริงจึงอาจตีความได้ว่า ผู้จัดการชุมนุมต้อง ‘ขออนุญาต’ จากเจ้าหน้าที่ก่อนเพื่อจัดการชุมนุม หรือไม่ จึงไม่ใช่แค่เพียงการ ‘แจ้งล่วงหน้า’  ซึ่งอาจผิดไปจากเจตนารมณ์ของการแจ้งการจัดชุมนุมล่วงหน้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง

รวมทั้งอาจทำให้ประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายเกิดความสับสน เพราะประชาชนและเจ้าหน้าที่อาจมีความเข้าใจในตัวบทกฎหมายและตีความแตกต่างกัน เจ้าหน้าที่แต่ละคนอาจบังคับใช้กฎหมายในระดับมาตรฐานที่แตกต่างกัน และทำให้ประชาชนบางส่วนอาจปฏิเสธดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่งต่อการสร้างบรรทัดฐานเพื่อการบังคับใช้กฎหมายในอนาคต”

ทั้งนี้ แอมเนสตี้ฯ และผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความเห็นร่วมกันว่า การชุมนุมสาธารณะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน  และร่วมสนับสนุนการชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ  โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรจัดทำแผนรายละเอียดการปฏิบัติงานตามพรบ.ชุมนุมสาธารณะสำหรับเจ้าหน้าที่หากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในอนาคตเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานและเคารพต่อหลักการสิทธิมนุษยชน   และเห็นพ้องถึงการห้ามการใช้วาทะเกลียดชังเหยียดหยาม (hate speech)ในการชุมนุมอย่างไรก็ดี แอมเนสตี้ฯ ต้องการให้มีการปรับปรุงร่างพรบ. เพื่อคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบของประชาชนให้เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยแอมเนสตี้ฯ ได้เตรียมการเพื่อเข้าหารือกับผู้แทนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไปในสัปดาห์หน้า

ในปัจจุบัน ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมกำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังจากที่ได้รับมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อส่งผ่านให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาในวาระถัดไป

ป้ายคำ: 

  • พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • สตช.
  • สิทธิมนุษยชน