Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

จดหมายเปิดผนึกถึงสมบัด สมพอน จากผู้อำนวยการในสาขาทั่วโลกของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
Amnesty International Thailand

For English>>http://www.amnesty.org/en/library/info/ASA26/002/2014/en

12 ธันวาคม 2557

จดหมายเปิดผนึกถึงสมบัด สมพอน จากผู้อำนวยการในสาขาทั่วโลกของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

เรียน     คุณสมบัด

            สองปีหลังจากคุณหายตัวไปในตอนค่ำของวันที่ 15 ธันวาคม 2555 พวกเราซึ่งเป็นผู้อำนวยการจากสาขาทั่วโลกของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเขียนจดหมายเพื่อแสดงความหวังอย่างลึกซึ้งว่าคุณจะสามารถกลับมาอย่างปลอดภัย

            พวกเราได้เห็นภาพวีดิโอจากกล้องวงจรปิดขณะที่คุณหายตัวไปด้านนอกป้อมตำรวจบนถนนท่าเดื่อ กรุงเวียงจันทน์ เป็นหลักฐานยืนยันอย่างหนักแน่นว่าเจ้าหน้าที่ของทางการลาวมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะในฐานะผู้กระทำการโดยตรง หรือให้ความสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจ

            แต่สองปีผ่านไป รัฐบาลลาวปฏิเสธว่าไม่ได้จับกุมตัวคุณไว้ และไม่ยอมรับผิดชอบต่อการหายตัวไปของคุณ พวกเขาไม่ดำเนินการสอบสวนโดยทันทีอย่างละเอียด อย่างเป็นผลและอย่างไม่ลำเอียง พวกเขาปฏิเสธความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกที่เสนอมา รวมทั้งความช่วยเหลือในการวิเคราะห์ภาพต้นฉบับในกล้องวงจรปิด

            เรารู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งกับการที่ทางการลาวไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของตน ลาวได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CPED) เมื่อเดือนกันยายน 2551 แม้จะยังไม่ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาดังกล่าว แต่ก็สมควรจะต้องปฏิบัติตามเนื้อหา  และเจตนารมณ์ของข้อบังคับเหล่านั้น ลาวยังเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลต้องจัดให้มี “การเยียวยาที่เป็นผล” เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิที่รับรองไว้ในกติกา รวมทั้งสิทธิที่จะมีอิสรภาพและความปลอดภัยของบุคคล

            คุณสมบัด คุณได้อุทิศชีวิตให้กับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดความยากจนในลาว เป็นที่เคารพนับถือ และยังมีกัลยาณมิตรมากมายระหว่างการทำงาน ทั้งหมดเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากลเมื่อปี 2548 ตอนที่คุณได้รับรางวัลรามอนแม็กไซไซ สาขาผู้นำชุมชน ซึ่งมักเรียกกันว่าเป็นรางวัลโนเบลสำหรับเอเชีย

            การบังคับบุคคลให้สูญหายที่เกิดขึ้นกับคุณ ส่งผลคุกคามต่อบุคคลอื่นๆ ในลาวที่ต้องการถกเถียงและแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา และทำให้ภาคประชาสังคมทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องตกใจ

            การคลี่คลายคดีนี้ของทางการลาวและความจริงใจและความสำเร็จที่จะนำตัวคุณกลับมาอย่างปลอดภัย เป็นบททดสอบว่าทางการลาวมีเจตนารมณ์ที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างไร แต่จนถึงปัจจุบันพวกเขายังไม่สามารถสอบผ่านบททดสอบนี้

            คุณสมบัด ที่ผ่านมามีการแสดงข้อกังวลมากมาย และมีการเสนอความช่วยเหลือจากทุกมุมโลกเพื่อค้นหาตัวคุณ ความพยายามเหล่านี้จะไม่ยุติลง ความใส่ใจของเราต่อเรื่องนี้รวมทั้งประชาคมนานาชาติจะไม่สูญหายไป จนกว่าคุณจะได้กลับมาอยู่กับครอบครัวอย่างปลอดภัย และมีการนำตัวผู้อยู่เบื้องหลังการบังคับบุคคลให้สูญหายมาลงโทษ รวมทั้งมีการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชนและผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในลาว

            เราจะส่งสำเนาจดหมายฉบับนี้ไปยังรัฐบาลลาว และอยากให้คุณได้ทราบว่าเราจะยังคงกระตุ้นพวกเขาต่อไปให้

  • ประกันให้มีการปล่อยตัวคุณโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข และให้คุณได้กลับมาอยู่กับครอบครัวอย่างปลอดภัย
  • ให้สอบสวนการหายตัวไปของคุณโดยไม่ชักช้า อย่างไม่ลำเอียงและอย่างรอบด้าน รวมทั้งทางการลาวควรยอมรับและร่วมมือกับหน่วยงานในต่างประเทศที่เสนอความช่วยเหลือด้านเทคนิค
  • ให้แจ้งข้อมูลอย่างละเอียดและสม่ำเสมอเกี่ยวกับความคืบหน้าของการสอบสวน เพื่อให้ครอบครัวของคุณ ทนายความ และบุคคลอื่น ๆ ที่มีความสนใจโดยชอบได้รับทราบ

เรายังคิดถึงคุณเสมอ และเรายังสนับสนุนคุณ สำนักงานสาขาทั่วโลกของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจะไม่หยุดยั้งในการเรียกร้องให้นำตัวคุณกลับคืนมา เราจะยังคงไม่หยุดยั้งที่จะตั้งคำถามว่า “สมบัดอยู่ที่ไหน?”

ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

Claire Mallinson

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออสเตรเลีย

Shamini Darshni

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มาเลเซีย

Roger Minoungou

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล บูกินาฟาโซ

Altantuya Batdorj

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มองโกเลีย

Alex Neve and Bob Goodfellow

เลขาธิการและผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แคนาดา

Grant Bayldon

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล นิวซีแลนด์

Ana Piquer Romo

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ชิลี

John Peder Egenæs

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล นอร์เวย์

Mark Martin

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สาธารณรัฐเช็ก

Marina Navarro Mangado

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปรู

Frank Johansson

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฟินแลนด์

Romel Cardenas de Vera

รักษาการณ์ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิลิปปินส์

Stephan Oberreit

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฝรั่งเศส

Nataša Posel

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สโลเวเนีย

Mabel Au

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฮ่องกง

Manon Schick

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สวิสเซอร์แลนด์

Ananth Guruswamy

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเดีย

Bo Tedards

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไต้หวัน

Hideki Walkabayashi

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ญี่ปุ่น

ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

Catherine Hee-Jin Kim

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เกาหลีใต้

Kate Allen

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อังกฤษ

Stanislas Brabant

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ลักเซมเบิร์ก

Steven Hawkins

ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สหรัฐอเมริกา

เอกสารที่เกี่ยวข้อง: 

ป้ายคำ: 

  • WHERE IS SOMBATH?
  • AMNESTY INTERNATIONAL
  • สมบัด สมพอน
  • OPEN LETTER FROM AMNESTY INTERNATIONAL DIRECTORS TO SOMBATH SOMPHONE