Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

กิจกรรมห้องเรียนสิทธิมนุษยชนสัญจรและเขียนจดหมายรัก(ษ์)สิทธิ 2557@บ้านกาญจนาภิเษก

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

            เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2557 เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดกิจกรรมห้องเรียนสิทธิมนุษยชนสัญจรและเขียนจดหมายรัก(ษ์)สิทธิ ณ บ้านกาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการเรียนรู้และทำความเข้าใจในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “พลังจากปลายปากกา คนธรรมดา(สามารถร่วมกัน)เปลี่ยนแปลงโลก(ได้)” โดยสมาชิกบ้านกาญจนาภิเษกจำนวน 110 คน ได้ร่วมกันลงชื่อและเขียนจดหมายให้กำลังใจผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจาก ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา

            นอกจากนั้นภายในงานยังมีกิจกรรม Light Up Nights ค่ำคืนแห่งแสงเทียน เพื่อรำลึกถึงผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากทั่วโลก และส่งต่อความหวังให้กับคนที่พบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้วไม่นิ่งเฉย แต่ช่วยกันลงมือปฏิบัติการบางอย่างเพื่อช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นอีก และร่วมกันเรียกร้องให้ปลดปล่อยผู้ที่กำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในขณะนี้ โดยมีการแสดงดนตรีจาก เอ้ นิติ’กุล และวงสายอาชีพมาร่วมให้ความบันเทิงในครั้งนี้ด้วย

          กิจกรรมเขียนจดหมายรัก(ษ์)สิทธิ เป็นโครงการรณรงค์ในช่วงระยะเวลาสองสัปดาห์ในเดือนธันวาคมของทุกปี นายซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า กิจกรรมเขียนจดหมายรัก(ษ์)สิทธิเป็นกิจกรรมสำคัญที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวคือการที่บุคคลต่าง ๆ ช่วยเหลือกันและกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม เป็นกิจกรรมที่โดดเด่นและพิเศษ ทำให้คนหลายล้านคนร่วมมือกันทำงานเพื่อให้เกิดความยุติธรรมสำหรับผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กทั่วโลก

          “กิจกรรมเขียนจดหมายรัก(ษ์)สิทธิ ถือเป็นหัวใจหลักในการทำงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล นั่นคือการลงมือทำในนามของผู้อื่น แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้ที่กล้าออกมาต่อต้านการใช้อำนาจกดขี่ ข้อความหรือจดหมายเพียงหนึ่งอาจจะถูกเพิกเฉย แต่ถ้าจดหมายจำนวนนับพันถูกส่งออกไป ทางภาครัฐคงไม่อาจนิ่งนอนใจอยู่ได้เป็นแน่ ตลอดเวลาหลายปีของการรณรงค์นี้ เราทราบดีว่าข้อความและจดหมายสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงและช่วยชีวิตผู้คนได้ และเราได้พิสูจน์ความสำเร็จนี้อีกครั้งเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการรณรงค์นี้จะมีพลังมากขึ้นในปีต่อๆ ไป”  ซาลิล เชตตี้ กล่าว

            สำหรับในปีนี้บ้านกาญจนาภิเษกร่วมรณรงค์ใน 3 กรณีด้วยกัน ได้แก่ กรณีเชียว โฮ-ชุน (Chiou Ho-shun) นักโทษที่ถูกทรมานให้รับสารภาพ และรอการประหารชีวิตมาเกือบ 25 ปีในไต้หวัน เชลซี แมนนิ่ง (Chelsea Manning) ผู้เปิดโปงข้อมูลจากสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 35 ปี จากการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของรัฐบาลผ่านเว็บไซต์ Wikileaks และเจเรมี่ คอร์ (Jerrymy Corre)คนขับบรรทุกจากฟิลิปปินส์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทรมาน ให้รับสารภาพในคดีฆาตกรรมตำรวจที่เขาไม่ได้ก่อ

            กรณีเชียว โฮ-ชุน (Chiou Ho-shun) นักโทษที่ถูกทรมานให้รับสารภาพ และรอการประหารชีวิตมาเกือบ 25 ปีในไต้หวัน สมาชิกบ้านกาญจนาภิเษกได้เขียนจดหมายให้กำลังใจเขามาแล้ว 3 ครั้ง (รวมครั้งนี้) เขาเคยได้รับจดหมายครั้งแรกจากสมาชิกบ้านกาญจนาภิเษก เมื่อปี 2555 จำนวน 93 ฉบับ ครั้งนั้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้แปลข้อความจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ แล้วส่งต่อไปยังแอมเนสตี้ฯ ในไต้หวัน เพื่อแปลข้อความเป็นภาษาจีน และนำจดหมายเหล่านั้นไปส่งต่อให้เชียวในเรือนจำ เมื่อเชียวได้รับเขาเขียนจดหมายขอบคุณมายังสมาชิกบ้านกาญจนาภิเษกเป็นภาษาจีน และมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยตามลำดับ ถึงแม้ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารจะแตกต่างกัน แต่กำลังใจที่ส่งให้กันมีความหมายสำหรับเชียวอย่างมาก

            นอกจากจดหมายจากประเทศไทยแล้ว เชียวยังได้รับจดหมายจากสมาชิกและนักกิจกรรมของแอมเนสตี้ทั่วโลก ซึ่งเขาได้ส่งข้อความขอบคุณสำหรับผู้คนที่ไม่รู้จักเขา แต่มอบความรักและความหวังให้เขาอย่างไม่รู้จบ

          "ความรักไหลเวียนข้ามพรมแดน  เพื่อนๆ จากทั่วโลกนำความเข้มแข็งมาให้ผมอย่างเหลือเชื่อ ไม่มีคำพูดใดอธิบายความซาบซึ้งใจที่ผมมีต่อทุกคนได้ ขอบคุณ!” 

            คุณสามารถร่วมลงชื่อช่วยเหลือเชียว โฮ-ชุน ได้ที่นี่ https://www.amnesty.or.th/get-involved/take-action/52

            สำหรับเซลซี แมนนิ่ง (Chelsea Manning) ถูกจำคุกจากการเปิดเผยข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน วันที่ 17 ธันวาคม 2557 เป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 27 ปีของ ทางสมาชิกบ้านกาญจนาจึงได้ร่วมร้องเพลง Happy Birthday ให้เขาด้วย

           พลทหารเชลซี แมนนิ่งถูกตัดสินจำคุก 35 ปี หลังจากเปิดเผยเอกสารลับของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาต่อเว็บไซต์ วิกิลีกส์ (Wikileaks) ในระหว่างปี 2552-2553 ซึ่งเอกสารหลายฉบับชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่กองทัพของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน และละเมิดกฏด้านมนุษยธรรมในต่างประเทศ และจากการที่กองกำลังด้านความมั่นคงของอัฟกานิสถาน อิรักได้ดำเนินการร่วมกับกองทัพสหรัฐอเมริกา และหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐ หรือ ซีไอเอ (CIA)

 

             เซลซีตั้งใจเปิดเผยเอกสารดังกล่าวสู่สาธารณชนเพื่อให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับราคาของสงครามที่ต้องจ่ายด้วยการละเมิดความเป็นมนุษย์ในปฎิบัติการของกองทัพสหรัฐในอิรักและอัฟกานิสถาน 

            “ฉันจะรับโทษ รู้ทั้งรู้ว่านี่คือราคาอันแสนแพงที่ฉันต้องจ่าย เพื่อให้ได้อยู่ในสังคมอันเสรี” 

            คุณสามารถร่วมลงชื่อช่วยเหลือเซลซี แมนนิ่ง ได้ที่นี่ https://www.amnesty.or.th/get-involved/take-action/501

            กรณีเจเรมี่ คอร์ (Jerrymy Corre)คนขับบรรทุกจากฟิลิปปินส์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทรมาน ให้รับสารภาพในคดีฆาตกรรมตำรวจที่เขาไม่ได้ก่อ สมาชิกบ้านกาญจนาภิเษกได้ร่วมกันลงชื่อในจดหมายถึง สำนักงานตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ เพื่อเรียกร้องให้ดำเนินการสอบสวนข้อกล่าวหา กรณีการทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุณต่อเจเรมี่ คอร์ อย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมาโดยทันท่วงที รวมทั้งนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วย นอกจากนั้นยังถ่ายรูปเพื่อส่งเป้นกำลังให้เขา เพื่อร่วมกันรณรงค์ “ยุติการทรมาน” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก และประเทศไทยด้วย โดยเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงอีกรูปแบบหนึ่ง

ชมประมวลภาพกิจกรรมได้ที่  http://on.fb.me/1Gug0OW

ป้ายคำ: 

  • ห้องเรียนสิทธิมนุษยชนสัญจร
  • เขียนจดหมายรัก(ษ์)สิทธิ