Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ยื่นจดหมายข้อเสนอแนะที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ยื่นจดหมายข้อเสนอแนะที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

16 มีนาคม 2558 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยื่นจดหมายข้อเสนอแนะที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างฯ ปรับเปลี่ยนเนื้อหาร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย และคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ โดยมีเนื้อหาจดหมายดังนี

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ขอขอบคุณสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เปิดโอกาสให้ทางองค์การฯ เข้าพบ และยื่นหนังสือในช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อนำเสนอข้อห่วงใยและข้อเสนอแนะของทางองค์การที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ... และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีการนำข้อเสนอแนะของทางองค์การฯไปปรับใช้ในเนื้อหาของร่างกฎหมาย

อย่างไรก็ดี แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ยังคงมีความกังวลกับร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานของสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี การคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบพึงเป็นไปตามข้อ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) รวมถึงที่สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก (ข้อ 19 ของกติกา ICCPR) และการสมาคม (ข้อ 22 ของกติกา ICCPR)

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ปรารถนาที่จะเห็นร่างกฎหมายที่กำหนดแนวทางการชุมนุมโดยสงบชอบธรรม และเป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ การแสดงออก และสมาคมของประชาชนไทย โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เห็นว่าข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุงร่างพรบ. เพื่อการบรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว ข้อเสนอแนะของทางองค์การประกอบด้วย

  1. ให้ตัดข้อบัญญัติใดๆ ที่มุ่งเอาผิดทางอาญากับผู้จัดและผู้ประท้วง และให้ตัดข้อบัญญัติใด ๆ ที่เอาผิดกับการกระทำอันเป็นผลมาจากการชุมนุมอย่างสงบทั้งของผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ประท้วง โดยคำนึงว่าควรใช้กฎหมายอาญาทั่วไปกับผู้ประท้วง เช่นเดียวกับที่ใช้กับบุคคลอื่น ๆ

  2. เปลี่ยนถ้อยคำในมาตรา 10 และมาตราอื่นๆ ที่จำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ โดยให้เหลือเงื่อนไขการจำกัดสิทธิเท่าที่กระทำได้ตามข้อ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และลดข้อจำกัดต่าง ๆ ในการกำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งล่วงหน้า โดยให้เหลือเพียงการแจ้งล่วงหน้าในกรณีที่เป็นการจัดการชุมนุมขนาดใหญ่ หรือกรณีที่คาดว่าจะเกิดความวุ่นวายในระดับหนึ่ง

  3. เปลี่ยนถ้อยคำที่คลุมเครือที่ปรากฏในมาตรา 16 ของร่างพ.ร.บ. เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ชุมนุมซึ่งจะต้องไม่ก่อให้เกิด “ความไม่สะดวก” และต้องไม่ชุมนุมโดยไม่ได้รับอนุญาตระหว่างเวลา 18.00 น.-06.00 น. ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรการจำกัดการชุมนุมอย่างสงบมากเกินกว่าที่จะกระทำได้ตามกติกา ICCPR รวมถึงการให้อำนาจตำรวจในการห้ามการชุมนุม หากเชื่อว่าจะมีการขัดขวางบริการของภาครัฐ หรือการปิดกั้นการเข้าไปยังสถานที่ตามที่กำหนดโดยรัฐมนตรี

  4. ประกันว่า โดยการประกาศใช้กฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งใดๆ การจำกัดสิทธิต้องได้รับการตีความอย่างแคบทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ และเป็นไปตามหลักความจำเป็นและความได้สัดส่วน

  5. ฟื้นคืนหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ และให้ขจัดอุปสรรคใด ๆ ที่ขัดขวางการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการชุมนุมโดยสงบและการสมาคม

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณาข้อเสนอแนะของทางองค์การฯ เพื่อประกันให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของไทย