Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

อาเซียน: จุดเริ่มต้นที่ดีด้านนโยบายผู้ลี้ภัย แต่มีอีกหลายพันคนยังเสี่ยงชีวิตในทะเล

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย

อาเซียน: จุดเริ่มต้นที่ดีด้านนโยบายผู้ลี้ภัย แต่มีอีกหลายพันคนยังเสี่ยงชีวิตในทะเล

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า การตัดสินใจของรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เรื่องการเปลี่ยนนโยบายผลักดันเรือผู้ลี้ภัยและคนเข้าเมือง ถือว่ามาถูกทางแล้ว แต่ยังขาดมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนต่อชีวิตอีกหลายพันคนที่ยังเสี่ยงภัยในทะเล และขาดแนวทางการแก้ไขจากต้นตอของปัญหา

                ริชาร์ด เบนเน็ต (Richard Bennett) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่านับเป็นข่าวดีสำหรับผู้อพยพทางเรือเหล่านี้ที่สามารถเข้าสู่ชายฝั่งอย่างปลอดภัย แต่ก็ยังไม่สามารถช่วยเหลืออีกหลายพันคนที่ยังลอยเรืออยู่ในทะเล ในขณะที่เสบียงอาหารและน้ำลดน้อยลง หรือสำหรับกลุ่มที่อาจจะออกเรือมาสมทบอีก 

                “ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยไม่สามารถปัดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะรัฐภาคีต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UN Convention on the Law of the Sea) ในแง่การจัดให้มีปฏิบัติการทางทะเลเพื่อค้นหาและช่วยเหลือชีวิตผู้คน”

                ในแถลงการณ์ร่วมระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียระบุว่า พร้อมจะตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวเพื่อรองรับผู้ที่ยังลอยเรืออยู่ในทะเลถึง 7,000 คน เชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาซึ่งหลบหนีการปราบปรามมาจากพม่า รวมทั้งที่เป็นชาวบังคลาเทศ โดยศูนย์ดังกล่าวจะดำเนินการช่วยเหลือเป็นระยะเวลาหนึ่งปี และมีเงื่อนไขว่าประชาคมนานาชาติต้องให้ความช่วยเหลือในการส่งกลับหรือส่งตัวผู้อพยพไปยังประเทศอื่นด้วย

                “การตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  ดีกว่าไม่มีการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองใดๆ เลย แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และเสี่ยงว่าอาจไม่ถึงมาตรฐานการคุ้มครองระดับสากล กล่าวคือผู้ที่ต้องการที่พักพิงจะต้องสามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สถานะผู้ลี้ภัยได้อย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี ต้องไม่มีการเอาผิดทางอาญาต่อผู้ลี้ภัยและคนเข้าเมืองที่ยากลำบากด้วยข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งยังไม่สามารถส่งกลับบุคคลเหล่านี้ไปยังประเทศซึ่งเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือสิทธิของพวกเขา” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว

                แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการจัดพูดคุยอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับวิกฤตที่เกิดในภูมิภาคเมื่อวันพุธ โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยเข้าร่วม ที่ผ่านมามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในระดับสากล หลังจากมีรายงานข่าวการผลักดันเรือที่พยายามเข้าสู่ชายฝั่งออกไป ปล่อยให้พวกเขาเสี่ยงชีวิตอยู่ในทะเล

                ประเทศไทยไม่ได้ลงนามในข้อตกลงที่จัดให้มีศูนย์พักพิงชั่วคราวครั้งนี้ โดยอ้างว่ามีข้อจำกัดเกี่ยวกับกฎหมายในประเทศ แต่รับปากว่าจะไม่ผลักดันเรือให้ออกไปสู่ทะเล และจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อผู้ที่อยู่บนเรือ

                “ผู้ที่อยู่บนเรือกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านมนุษยธรรม การปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือพวกเขา นอกจากจะเป็นการละเมิดหลักความเป็นมนุษย์แล้ว ยังเป็นการละเมิดหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement)ด้วย  ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว

                ในวันที่ 29 พฤษภาคม ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดระดับภูมิภาคสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ รวมทั้งตัวแทนรัฐบาลจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย รวมทั้งพม่าและหน่วยงานสหประชาชาติ ทั้งนี้เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับวิกฤตในภูมิภาคที่เกิดขึ้น

                “การประชุมในสัปดาห์หน้าเป็นโอกาสสำคัญเพื่อแก้ไขรากเหง้าของปัญหาที่วิกฤตอยู่ตอนนี้ รวมทั้งการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบทั้งในกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่มีต่อชาวโรฮิงญาและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในพม่า” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว

ข้อมูลพื้นฐาน

                ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้อพยพทางเรือจากประเทศพม่าและบังคลาเทศเข้าสู่มาเลเซียและอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การปราบปรามการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทยเหมือนจะเป็นสาเหตุทำให้นายหน้าค้าแรงงานและผู้ค้ามนุษย์ต้องแสวงหาเส้นทางขนส่งเส้นทางใหม่ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration – IOM) และเชื่อว่ายังมีผู้อพยพอยู่ในเรืออีก 6,000 คนใกล้กับประเทศไทย

                ผู้โดยสารหลายพันคนหลบหนีมาจากประเทศบังคลาเทศและพม่า รวมทั้งผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่ยากลำบากอย่างชาวมุสลิมโรฮิงญาซึ่งหลบหนีการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงในพม่า และตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์

                หลายคนต้องยอมเสี่ยงตายเดินทางในท้องทะเลที่เต็มไปด้วยอันตราย เพื่อหลบหนีจากสภาพที่ยากจะทนในบ้านเกิดของตนเอง

ร่วมลงชื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทางทะเล : หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ ‘6,000 ชีวิต’ จะต้องตายอยู่กลางทะเล

South East Asia: Necessary U-turn on refugee boats still leaves thousands at risk

 

ป้ายคำ: 

  • ผู้ลี้ภัย
  • มนุษย์เรือ
  • โรฮิงญา
  • หลักการไม่ส่งกลับ
  • การค้ามนุษย์
  • เขียว สัมพัน๑ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล