Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้เรียกร้องทางการไอร์แลนด์ยกเลิกข้อหาอาชญากรรมจากการทำแท้ง

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้เรียกร้องทางการไอร์แลนด์ยกเลิกข้อหาอาชญากรรมจากการทำแท้ง

                ประเทศไอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายทำแท้งที่เคร่งครัดที่สุดในโลก โดยผู้หญิงที่ทำแท้งจะต้องถูกจำคุกนานถึง 14 ปี โดยมีข้อยกเว้นเพียงกรณีเดียว คือ การตั้งครรภ์นั้นเป็นภัยต่อชีวิตของผู้เป็นแม่ ทั้งนี้ผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ให้ครบกำหนด ไม่ว่าการตั้งครรภ์นั้นจะเกิดจากการถูกข่มขืน การมีเพศสัมพันธ์กับคนในครอบครัว หรือแม้กระทั่งเด็กอาจเสียชีวิตขณะตั้งครรภ์ก็ตาม โดยที่ไม่คำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้หญิงและครอบครัวว่าต้องการให้กำเนิดลูกที่ไม่สามารถมีชีวิตต่อไปหรือไม่? อีกทั้งรัฐบาลของประเทศไอร์แลนด์ยังได้ปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้งในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการให้ข้อมูลที่เป็นการส่งเสริมการทำแท้งถือเป็นคดีอาชญากรรม และถ้าหากผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุข หรือผู้ที่ให้คำปรึกษาด้านการตั้งครรภ์ให้คำแนะนำเรื่องการทำแท้งแก่ประชาชน พวกเขาจะต้องถูกลงโทษ

                การที่รัฐบาลไอร์แลนด์บังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดในการห้ามไม่ให้ผู้หญิงทำแท้ง หรือแม้กระทั่งได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง และยังลงโทษผู้ที่ทำแท้งโดยการจำคุกในข้อหาอาชญากรรมถือเป็นการละเมิดสิทธิในการใช้ชีวิต สิทธิในการมีสุขภาพที่ดี สิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิในการไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพจากการถูกทรมาน

                กฎหมายที่เคร่งครัดนี้นำไปสู่การเสียชีวิตของสาวิตา ฮาลาพานาวาร์ จากอาการช็อกเนื่องจากการติดเชื้อขั้นรุนแรง โดยเธอต้องทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดจากการที่เธอแท้งลูก ซึ่งเธอได้พยายามขอร้องให้แพทย์เอาเด็กออก แต่แพทย์ไม่ยอมทำตามเพราะขัดต่อกฎหมายของไอร์แลนด์ เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการประท้วง และกฎหมายทำแท้งก็ได้รับการปรับเปลี่ยนให้ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ถ้าหากการตั้งครรภ์นั้นเป็นภัยต่อชีวิต แต่มันก็ยังไม่เพียงพอเพราะในกรณีของสาวิตา แพทย์ไม่เชื่อว่าอาการของเธอจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้หญิงในไอร์แลนด์จึงยังคงเสี่ยงชีวิตจากการตั้งครรภ์ที่เป็นอันตรายต่อไป

                ทำให้ในทุกๆ วันมีผู้หญิงในไอร์แลนด์อย่างน้อย 10 คนเดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อทำแท้ง หรือคิดเป็น4,000 คนต่อปี โดยรวมการเดินทางไปยังประเทศอื่นๆในยุโรปด้วย และถึงแม้ว่าเหตุผลในการทำแท้งของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกันไป แต่เหตุผลของการที่เธอต้องเดินทางออกนอกประเทศเพื่อมาทำแท้งนั้นเป็นเหตุผลเดียวกัน คือ พวกเธอถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากร และต้องถูกจำคุกนานถึง 14 และการเดินทางแต่ละครั้งนั้นก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ซึ่งมันจะไม่เป็นอย่างนี้เลยถ้าพวกเธอได้รับการบริการด้านสาธารณสุขที่เป็นธรรมในประเทศของตัวเอง

ดังนั้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไอร์แลนด์ ดังนี้

  • ยกเลิกการตั้งข้อหาอาชญากรรมต่อการทำแท้ง
  • ยกเลิกมาตราที่ 40.3.3 ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุให้ทารกในครรภ์มีสิทธิเท่าเทียมกับมารดา ส่งผลให้การทำแท้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ
  • ยกเลิกกฎหมายคุ้มครองชีวิตขณะตั้งครรภ์ (Protection of Life During Pregnancy Act) ปี 2013 ซึ่งได้ระบุให้การทำแท้งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายโดยมีข้อยกเว้นเพียงกรณีเดียว คือ การตั้งครรภ์นั้นเป็นภัยต่อชีวิตของผู้เป็นแม่ กฎหมายนี้ควรมีการปรับปรุงให้ผู้หญิงสามารถทำแท้งในกรณีอื่นได้ เช่น กรณีที่เด็กในครรภ์เสียชีวิต กรณีที่การตั้งครรภ์อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้เป็นแม่ และกรณีที่การตั้งครรภ์นั้นเกิดจากการถูกข่มขืน หรือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว
  • ยกเลิกกฎหมายควบคุมข้อมูล (Regulation of Information Act) ปี 1995 ซึ่งได้ปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งในประเทศไอร์แลนด์

ร่วมลงชื่อกับเราได้ที่ http://amn.st/6186B6yTI