Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ยื่นข้อเรียกร้องกระทรวงยุติธรรมเพื่อนำไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ยื่นข้อเรียกร้องกระทรวงยุติธรรมเพื่อนำไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2558 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมสว่างกมล ชั้น ๓ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เข้าพบ พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในฐานะตัวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อยื่นจดหมายและรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตประจำปี 2557 ซึ่งรวบรวมโดยนักวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ให้แก่กระทรวงยุติธรรมผ่านกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้ดำเนินการให้การศึกษา สร้างความเข้าใจ และรณรงค์ให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณีมาอย่างยาวนาน และพบว่าไม่มีหลักฐานใดแสดงว่าโทษประหารชีวิตมีส่วนช่วยป้องกันอาชญากรรม จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรักษาพันธสัญญาและเห็นคุณค่าของทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน  จึงขอให้รัฐบาลไทยพิจารณาสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศในการยกเลิกโทษประหารชีวิต ดังนี้

  • ประกาศพักการประหารชีวิตในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการโดยทันที เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 3 โดยมีเจตจำนงที่จะออกกฎหมายให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในท้ายที่สุด
  • เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อลดจำนวนความผิดทางอาญาที่มีบทโทษประหารชีวิต
  • ลงนามและให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights) ที่มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิต

หลังจากนั้นในเวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 8 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการฯ  พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มอบหมายให้ นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ เป็นประธานการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการรณรงค์ยุติโทษประหารชีวิตในหัวข้อ "เยาวชนแดนประหาร" โดยมีโดยมี นายโทชิ คาชามะ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียเครือข่ายญาติและครอบครัวของเหยื่ออาชญากรรมที่สนับสนุนสิทธิมนุษยชนเป็นผู้บรรยาย

โทชิ คาซามะ ช่างภาพมืออาชีพชาวญี่ปุ่นที่เดินทางเก็บภาพและถ่ายทอดเรื่องราวของเยาวชน ที่ถูกลงโทษประหารชีวิตในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โทชิทำงานดังกล่าวในฐานะอาสาสมัคร ด้วยความตั้งใจมายาวนานกว่า 8 ปีที่เขาได้ใส่ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจลงบนภาพถ่ายเยาวชนที่ถูกลงโทษให้ตาย ภาพนั้นมีความเรียบง่ายอย่างที่สุด เป็นภาพขาวดำ ไม่มีการโพสท่า โทชิเล่าเรื่องราวของภาพด้วยความเรียบง่ายเช่นกัน

ความเรียบง่ายเป็นวิธีการที่เขาเอาชนะความสงสัยและความไม่เป็นมิตรของผู้คุมเรือนจำเพื่อ ให้เขาเข้าถึงห้องขังได้ และเป็นวิธีการที่ทำให้เขาได้เข้าพบเยาวชนผู้เป็นงานศิลปะของเขาได้ด้วยดี โทชิทุ่มเทให้กับงานศิลปะของเขาอย่างมาก โทชิเข้าหาพวกเขาทีละคน เขาไม่เพียงแต่พบปะพูดคุยกับครอบครัวของเยาวชนที่ถูกลงโทษ แต่ยังพูดคุยกับครอบครัวของเหยื่ออาชญากรรม และเจ้าหน้าที่เรือนจำอีกด้วย เขาอธิบายว่าพวกเขาเป็น "มนุษย์ที่มีค่า" และเขาหวังว่าเรื่องราวและภาพถ่ายเหล่านี้จะช่วยเตือนให้เราเห็นถึงความ รุนแรงของการใช้โทษประหารชีวิต และนี่จะเป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยนำไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด

โทชิเคยตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมรุนแรงเช่นกัน เขาเคยถูกทำร้ายเกือบปางตาย แต่เมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาบอกกับครอบครัวและลูก ๆ ของเขาว่า “เราโกรธ เราเกลียดอาชญากรรมได้ เราโกรธ เราเกลียดความรุนแรงได้ แต่อย่าโกรธ อย่าเกลียดบุคคลที่กระทำความผิด” เขาบอกว่าถ้าเราใช้ความรุนแรงตอบโต้ เราจะอยู่ด้วยความโกรธแค้น นอกจากครอบครัวจะเจ็บปวดจากการถูกกระทำของอาชญากรแล้ว เขายังต้องสูญเสียจิตใจที่ดีงามของคนในครอบครัวไปด้วย ซึ่งเขาไม่อยากให้เกิดการสูญเสียครั้งที่สองขึ้นมาอีก

“ผมสอนลูกๆ ของผมว่า จงเกลียดชังความรุนแรงและอาชญากรรม แต่จงอย่าเกลียดอาชญากรที่ก่อเหตุ เพราะจะทำให้มีจิตใจที่เต็มไปด้วยความอาฆาตพยาบาท ผมสามารถพูดอย่างนี้ได้ เพราะได้เห็นเหยื่อและบรรดาญาติๆ ของเหยื่อที่ข้ามพ้นจุดนี้ไปได้ ไม่ติดอยู่กับวังวนของความอาฆาตพยาบาท แน่นอนหลังจากเกิดเหตุอาชญากรรม ครอบครัวของเหยื่อและคนรอบข้างจะโกรธและอาฆาตแค้น แต่อย่าลืมว่าทุกคนต้องใช้ชีวิตต่อไป หากอยู่กับความโกรธเกลียดชังก็ไม่สามารถมีชีวิตที่สงบสุขได้”

สำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต และโทษดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติและเนื่องด้วยประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2557 – 2561) ที่รัฐบาลได้ประกาศอย่างเป็นทางการและมีผลปฏิบัติตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา โดยหนึ่งในแผนสิทธิมนุษยชนด้านกระบวนการยุติธรรมคือ เปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตให้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต เพื่อสานต่อวัตถุประสงค์ในการยกระดับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กำลังดำเนินการผลักดันเรื่องนี้อยู่

 

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • การยกเลิกโทษประหารชีวิต
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลฒ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
  • กระทรวงยุติธรรม
  • โทชิ คาซามะ
  • เยาวชนแดนประหาร