Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกปฏิบัติการด่วนเรียกร้องทางการไทยต้องไม่ส่งชาวอุยกูร์ไปประเทศที่เสี่ยงอันตราย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
© GREG BAKER/AFP/Getty Images

ปฏิบัติการด่วน

เพื่อคุ้มครองไม่ให้ส่งชาวอุยกูร์ไปรับการทรมาน

                กลุ่มชาติพันธุ์ชาวอุยกูร์ประมาณ 50 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ต้องได้รับการคุ้มครองไม่ให้ถูกบังคับส่งตัวไปยังประเทศที่พวกเขาอาจได้รับการทรมาน ความกังวลต่อบุคคลเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น หลังจากทางการไทยได้บังคับส่งกลับชาวอุยกูร์ประมาณ 100 คนไปยังประเทศจีนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2558

                เชื่อว่าทั้ง 50 คนนี้ที่ยังอยู่ในประเทศไทยเป็นกลุ่มเดียวกับชาวอุยกูร์กว่าร้อยคนที่ถูกส่งกลับประเทศจีนไปแล้ว ทั้งหมดถูกทางการไทยควบคุมตัวเนื่องจากเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายเมื่อเดือนมีนาคม 2557 ในช่วงที่ถูกควบคุมตัว สื่อรายงานว่าทางการจีนให้ข้อมูลว่าบุคคลเหล่านี้เป็นชาวพื้นเมืองอุยกูร์จากเขตปกครองตนเองซินเจียง

                เจ้าหน้าที่ไทยยืนยันเมื่อเช้าวันที่ 8 กรกฎาคมว่า ได้ส่งตัวพวกเขาประมาณ 100 คนไปประเทศจีน โดยอ้างว่ามีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นชาวจีน ทั้งยังยืนยันว่าได้ส่งชาวอุยกูร์อีกประมาณ 170 คนไปประเทศตุรกี และระบุว่ายังไม่ได้ตรวจสอบสัญชาติของบุคคลอีกกว่า 50 คนซึ่งยังถูกควบคุมตัวอยู่ในประเทศไทย

                ชาวอุยกูร์จากเขตปกครองตนเองซินเจียงของจีน อาจเสี่ยงจะถูกทรมานและปฏิบัติหรือลงโทษ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี หากถูกบังคับส่งกลับไปจีน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีข้อมูลของผู้แสวงหาที่พักพิงที่เป็นชาวอุยกูร์ซึ่งถูกบังคับส่งกลับไปจีน โดยหลายกรณีพวกเขาจะถูกควบคุมตัวเอาไว้ และมีรายงานว่าถูกทรมาน และบางกรณีถูกศาลตัดสินประหารชีวิตและบางส่วนถูกประหารชีวิตไปแล้ว

                ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งกลับ (principle of non-refoulement) ซึ่งห้ามส่งบุคคลไปยังประเทศหรือเขตอำนาจศาลที่มีความเสี่ยงอย่างแท้จริงว่า พวกเขาจะถูกละเมิดหรือถูกปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง หลักการนี้ปรากฏอยู่ในกฎบัตรระหว่างประเทศจำนวนมาก และมีสถานะเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ต่อทุกรัฐ ไม่ว่ารัฐดังกล่าวจะให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม การบังคับส่งกลับบุคคลไปยังประเทศที่เสี่ยงจะถูกทรมานและปฏิบัติอย่างโหดร้าย ยังเป็นการละเมิดอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี   (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคี

            โปรดเขียนจดหมายทันทีในภาษาไทย อังกฤษ หรือภาษาของท่านเอง

แสดงข้อกังวลอย่างจริงจังต่อกรณีที่ทางการไทยบังคับส่งกลับบุคคลประมาณ 100 คนซึ่งเชื่อว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวอุยกูร์ไปประเทศจีน ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงจะถูกทรมานและปฏิบัติหรือลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี 
กระตุ้นให้ไทยไม่ส่งบุคคลใด ๆ รวมทั้งชาวอุยกูร์อีกประมาณ 50 คนซึ่งยังไม่ทราบสัญชาติ ไปยังประเทศที่อาจเสี่ยงที่จะถูกทรมานและปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี 

                กรุณาส่งจดหมายก่อนวันที่ 21 สิงหาคม 2558 ไปยัง

นายกรัฐมนตรี

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

ทำเนียบรัฐบาล

ถนนพิษณุโลก ดุสิต

กรุงเทพฯ 10300 ประเทศไทย

โทรสาร +66 2 282-5131

คำขึ้นต้น: เรียน นายกรัฐมนตรี

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร

กระทรวงการต่างประเทศ ถ.ศรีอยุธยา

กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรสาร +66 2643 5320 / +66 2643 5314

อีเมล์ minister@mfa.go.th

///

 

ปฏิบัติการด่วน

คุ้มครองไม่ให้ส่งชาวอุยกูร์ไปรับการทรมาน

ข้อมูลเพิ่มเติม

                ตามกฎหมายเข้าเมืองของประเทศไทย บุคคลต่างชาติซึ่งไม่มีหนังสือรับรองการเข้าเมืองที่ถูกต้อง จะถือเป็น “ผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย” และอาจถูกจับกุม ถูกควบคุมตัวโดยไม่มีเวลากำหนด และถูกส่งกลับ

                ชาวอุยกูร์เป็นชนชาติพันธุ์กลุ่มน้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม มักอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองซินเจียงในประเทศจีน นับแต่ทศวรรษ 1980 ชาวอุยกูร์ตกเป็นเป้าหมายการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบและกว้างขวางโดยทางการจีน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมตัวและการคุมขังโดยพลการ การควบคุมตัวโดยไม่ให้ติดต่อกับโลกภายนอก และการจำกัดอย่างเข้มงวดต่อเสรีภาพด้านศาสนา รวมทั้งสิทธิทางวัฒนธรรมและสังคม ทางการในพื้นที่มักควบคุมการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเข้มงวด โดยห้ามไม่ให้เจ้าพนักงานของรัฐและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีไปทำละหมาดในมัสยิด รัฐบาลจีนยังมีนโยบายจำกัดการใช้ภาษาอุยกูร์ เป็นการจำกัดอย่างเข้มงวดต่อเสรีภาพด้านศาสนา และยังส่งเสริมให้ประชากรชาวฮั่นอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

                การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์เกิดขึ้นมาต่อเนื่องหลายทศวรรษ และรุนแรงยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภายหลังการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ทางการจีนได้อ้าง “สงครามปราบปรามการก่อการร้าย” เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการปราบปรามชาวอุยกูร์อย่างเข้มข้น นับแต่นั้นมา ทางการมักสร้างภาพว่าการลุกฮือของชาวอุยกูร์ เป็นส่วนหนึ่งของการก่อการร้ายระหว่างประเทศ และมักตีความว่าการแสดงออกทางวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์ซึ่งไม่ผ่านการรับรองของรัฐ เป็นหลักฐานยืนยันพฤติการณ์แบบ “พวกแบ่งแยกดินแดน”

                ในเดือนพฤษภาคม 2557 ทางการได้รณรงค์ปราบปรามอย่างเข้มงวด (“strike hard”) ในเขตปกครองตนเองซินเจียง โดยเจ้าหน้าที่จะเน้นการจับกุมอย่างรวดเร็ว การไต่สวนคดีอย่างรวบรัด และการกำหนดบทลงโทษต่อจำเลยคราวละมาก ๆ รัฐบาลเรียกร้องให้มี “ความร่วมมือ” มากขึ้นระหว่างหน่วยงานฟ้องคดีและศาล ซึ่งทำให้เกิดข้อกังวลเพิ่มเติมว่าจำเลยจะไม่ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ในเดือนมกราคม 2558 การรณรงค์ปราบปรามอย่างเข้มงวดได้รับการขยายเวลาออกไปอีกหนึ่งปี ภายใต้สภาพการณ์ดังกล่าว เป็นเหตุให้ชาวอุยกูร์จำนวนมากตัดสินใจหนีออกจากประเทศ ทางการจีนตอบโต้ด้วยการคุกคามญาติของผู้ที่หลบหนีออกไป เพื่อกดดันให้พวกเขาเดินทางกลับมา ทั้งยังมุ่งหน้าปราบปรามกิจกรรมทางการเมืองและสิทธิมนุษยชนของนักเคลื่อนไหวชาวอุยกูร์ในประเทศอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดความกลัวสำหรับชาวอุยกูร์จำนวนมากที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ รวมทั้งผู้แสวงหาที่พักพิงและผู้ลี้ภัย ซึ่งกลัวว่าจะถูกบังคับส่งกลับไปประเทศจีน

                ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือเอเชียกลาง ได้บังคับส่งกลับผู้แสวงหาที่พักพิงชาวอุยกูร์หลายสิบคนไปประเทศจีน เช่น เมื่อเดือนธันวาคม 2552 ทางการกัมพูชาได้ส่งกลับผู้แสวงหาที่พักพิงชาวอุยกูร์จำนวน 20 คนไปประเทศจีน โดยในจำนวนนี้มีรายงานว่าห้าคนถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต อีกแปดคนถูกตัดสินจำคุกตั้งแต่ 16-20 ปี โดยเป็นการพิจารณาคดีแบบปิดลับ ในเดือนธันวาคม 2555 ทางการมาเลเซียได้บังคับส่งกลับชาวอุยกูร์หกคน ซึ่งอยู่ระหว่างการขอสถานภาพผู้ลี้ภัยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Refugees - UNHCR) เราไม่สามารถยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกส่งกลับเหล่านี้ได้

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง: 

ป้ายคำ: 

  • อุยกูร์
  • จีน
  • ทางการไทย
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • หลักการไม่ส่งกลับ
  • อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน