Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้เรียกร้องทางการเวียดนามปล่อยตัวนักโทษทางความคิดโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้เรียกร้องทางการเวียดนามปล่อยตัวนักโทษทางความคิดโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข

                เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีวันชาติของประเทศเวียดนาม ในวันที่ 2 กันยายน 2558 ซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty) เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เขียนจดหมายถึงนายเจือง เติ๊น ซาง (Truong Tan Sang) ประธานประเทศเวียดนาม เรียกร้องให้มีการอภัยโทษพิเศษซึ่งครอบคลุมนักโทษ 17,000 คน และควรจะครอบคลุมถึงนักโทษทางความคิดด้วย โดยผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศออสเตรเลีย ไอวอรี่โคสต์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เนปาล เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ สเปน สวีเดน ไทย และสหรัฐอเมริกา ได้เขียนจดหมายในลักษณะเดียวกันถึงรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม เพื่อเรียกร้องให้ทางการเวียดนามปล่อยตัวนักโทษทางความคิดทุกคนโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข

                ในบัญชีรายชื่อนักโทษทางความคิด 51 คนที่อาจยังไม่ครบทั้งหมด ซึ่งจัดทำโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ครอบคลุมถึงบุคคลที่ถูกคุมขังเพียงเพราะใช้สิทธิของตนอย่างสงบ รวมทั้งสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมโดยสงบและการสมาคม รายชื่อดังกล่าวประกอบด้วย ต่า ฟอง เติ่น (Ta Phong Tan) บล็อกเกอร์ บาทหลวงเหงวียน วัน หลี (Nguyen Van Ly) นิกายคาทอลิก และ เจิ่น ฮวิ่ง ซุย  เทิ๊ก (Tran Huynh DuyThuc) บล็อกเกอร์และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศ นักโทษทางความคิดทั้งสามคนได้ถูกศาลตัดสินจำคุกตั้งแต่ 8-16 ปี เพียงเพราะแสดงความเห็นอย่างสงบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตน รวมทั้งสิทธิมนุษยชน

                ต่า ฟอง เติ่น (Ta Phong Tan) อดีตตำรวจหญิงถูกศาลสั่งจำคุก 10 ปีเมื่อเดือนกันยายน 2555 และให้กักบริเวณในบ้านอีกห้าปีเมื่อได้รับการปล่อยตัว ศาลตัดสินว่าเธอมีความผิดตามมาตรา 88 ข้อหา “กระทำการโฆษณาชวนเชื่อ” เพื่อต่อต้านรัฐ เธอเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมผู้สื่อข่าวอิสระแห่งเวียดนาม (Free Journalists’ Clubof Viet Nam) ที่เป็นหน่วยงานอิสระเมื่อปี 2550 และมีจุดประสงค์สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกและเป็นทางเลือกนอกเหนือจากสื่อมวลชนที่ถูกควบคุมโดยรัฐ เธอยังจัดทำบล็อกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อConglysuthat (“ความยุติธรรมและความจริง”) เผยแพร่บทความเกี่ยวกับความยุติธรรมด้านสังคม การละเมิดสิทธิมนุษยชน และอธิปไตยของประเทศ ที่ผ่านมา ต่า ฟอง เติ่น ทำการประท้วงอดอาหารมาแล้วสามครั้ง เพื่อประท้วงสภาพการคุมขังที่เลวร้ายและการปฏิบัติมิชอบในเรือนจำ ครั้งล่าสุดเธออดอาหารเป็นเวลา 23 วันระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2558 สุขภาพของเธออ่อนแอมาก เธอป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ ความดันโลหิตสูง และอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ 

                บาทหลวงเหงวียน วัน หลี (Nguyen Van Ly) ถูกจำคุกมากว่า 20 ปีตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 เนื่องจากการเรียกร้องเสรีภาพด้านศาสนาและประชาธิปไตยอย่างสงบ ในเดือนเมษายน 2549 บาทหลวงหลี ได้ร่วมก่อตั้ง Bloc 8406 ซึ่งเป็นขบวนการสนับสนุนประชาธิปไตยผ่านอินเตอร์เน็ต และรณรงค์ให้เคารพสิทธิมนุษยชน และได้รับการสนับสนุนจากผู้คนบนอินเตอร์เน็ตหลายพันคน แต่เพียงไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากนั้น เขาก็ถูกจับกุม ถูกไต่สวนอย่างไม่เป็นธรรม และถูกลงโทษในข้อหา “กระทำการโฆษณาชวนเชื่อ” เพื่อต่อต้านรัฐ เขาถูกศาลสั่งจำคุกแปดปี โดยถูกกักบริเวณในบ้านพักห้าปีหลังจากได้รับการปล่อยตัว ระหว่างถูกควบคุมตัว เขาต้องทนทุกข์จากสุขภาพที่เลวร้าย เช่น จากอาการเส้นเลือดหัวใจอุดตันที่ไม่มีการตรวจพบในเบื้องต้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ส่งผลให้เขาเป็นอัมพาต แม้ว่าเขาจะได้รับอนุญาต “ให้ขอลดหย่อนโทษชั่วคราว” เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ด้วยเหตุผลด้านการรักษาพยาบาล เขาก็ถูกส่งตัวกลับเข้าเรือนจำอีกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ในสภาพที่มีอาการเจ็บป่วย และคงยังใช้โทษอยู่จนทุกวันนี้

                เจิ่น ฮวิ่ง ซุย  เทิ๊ก (Tran Huynh DuyThuc) เป็นผู้รณรงค์อย่างสงบให้มีการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ สังคม และระบบการบริหารราชการ รวมทั้งการเคารพสิทธิมนุษยชน ในวันที่ 20 มกราคม 2553 ศาลตัดสินว่าเขามีความผิดในข้อหา “พยายามล้มล้างการปกครอง” ของรัฐตามมาตรา 79 ของประมวลกฎหมายอาญา และให้จำคุกเขา 16 ปี โดยให้กักบริเวณในบ้านอีกห้าปีหลังได้รับการปล่อยตัว ระหว่างการไต่สวนของศาล เขาให้การว่าได้ถูกทรมานให้รับสารภาพระหว่างถูกควบคุมตัว ซึ่งเขาปฏิเสธไม่ยอมสารภาพ ตามข้อมูลของพยานที่ให้การต่อศาล ผู้พิพากษาใช้เวลาพิจารณาคดีเพียง 15 นาทีก่อนจะมีคำตัดสิน และใช้เวลา 45 นาทีในการอ่านคำพิพากษา แสดงให้เห็นว่ามีการจัดทำคำพิพากษาไว้ล่วงหน้า

                นักโทษทางความคิดอื่น ๆ ในบัญชีรายชื่อประกอบด้วยบล็อกเกอร์ที่ทำกิจกรรมอย่างสงบ นักกิจกรรมด้านสิทธิแรงงานและสิทธิที่ดิน นักกิจกรรมทางการเมืองและศาสนาและผู้สนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้รณรงค์เพื่อความยุติธรรมทางสังคม สมาชิก 22 คนของกลุ่มสิ่งแวดล้อมและศาสนาเบีย เซิน (Bia Son) ที่เคลื่อนไหวอย่างสงบในจังหวัดฝู เยิน(Phu Yen) ถูกศาลตัดสินจำคุกตั้งแต่ 10 ปีจนถึงตลอดชีวิต ฐานวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาล และถูกกล่าวหาว่าวางแผนสถาปนา “รัฐใหม่”

                นักโทษทางความคิดเหล่านี้ไม่เคยใช้หรือไม่เคยสนับสนุนความรุนแรง พวกเขาถูกคุมขังเพียงเพราะใช้สิทธิของตนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมและการสมาคมอย่างสงบ ส่วนใหญ่ถูกลงโทษโดยเป็นผลมาจากการไต่สวนคดีอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งอ้างอิงข้อบัญญัติที่คลุมเครือในประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2542 ของเวียดนาม เช่น มาตรา 79 (มีเป้าหมายเพื่อ “ล้มล้างการปกครอง” ของรัฐ) มาตรา 88 (“กระทำการโฆษณาชวนเชื่อ” เพื่อต่อต้านรัฐ) มาตรา 258 (“ใช้เสรีภาพประชาธิปไตยอย่างมิชอบ....”) หรือข้อหาอื่น ๆ ที่อ้างขึ้นมา

                จดหมายจากเลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กระตุ้นให้รัฐบาลเวียดนามประกันให้นักกิจกรรม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้สื่อข่าว และบุคคลอื่นใดที่กระทำการอย่างสงบ สามารถจัดกิจกรรมที่ชอบธรรมของตนได้โดยไม่ต้องกลัวจะถูกตอบโต้ ถูกคุกคาม ถูกข่มขู่ ถูกจับกุม ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และถูกคุมขัง ทั้งนี้เป็นไปตามพันธกรณีของเวียดนามที่มีต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) และกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอื่น ๆ รวมทั้งปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (UN Declaration on Human Rights Defenders)

ข้อมูลพื้นฐาน

                สภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำของเวียดนามมีสภาพเลวร้าย และนักโทษทางความคิดหลายคนมีสุขภาพอ่อนแอ และถูกปฏิบัติอย่างมิชอบระหว่างถูกควบคุมตัว ส่วนใหญ่พวกเขาหรือเธอถูกควบคุมตัวในเรือนจำที่ห่างไกลจากครอบครัว ทำให้การเยี่ยมเป็นไปอย่างยากลำบาก และมักมีการใช้การกดดันและการบีบบังคับรูปแบบต่างๆ เพื่อบีบให้พวกเขาสารภาพต่อความผิดตามข้อกล่าวหา

                ในฐานะรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เวียดนามมีหน้าที่เคารพและคุ้มครองสิทธิตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ รวมทั้งข้อห้ามอย่างเบ็ดเสร็จต่อการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย เมื่อปีที่แล้วมีการปล่อยตัวนักโทษทางความคิดจำนวนหนึ่งก่อนถึงกำหนดโทษ แต่ยังมีนักโทษทางความคิดอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องได้รับการปล่อยตัวโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข

 

ป้ายคำ: 

  • เวียดนาม
  • นักโทษทางความคิด
  • ซาลิล เช็ตติ
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล