Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

เมื่อกฎหมายการทำแท้งที่เข้มงวดที่สุดในโลกทำให้ผู้หญิงกลายเป็นอาชญากร

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

เมื่อกฎหมายการทำแท้งที่เข้มงวดที่สุดในโลกทำให้ผู้หญิงกลายเป็นอาชญากร

ไอร์แลนด์ เอลซัลวาดอร์และชิลี เป็นสามประเทศมีกฎหมายการทำแท้งที่เข้มงวด จนทำให้ชีวิตของผู้หญิงทั้งสามประเทศนี้ต้องตกอยู่ในความเสี่ยง ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา เป็น “วันสากลเพื่อรณรงค์การเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย” (Global Day of Action to Decriminalize Abortion) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและองค์กรทั่วโลกได้ร่วมกันเรียกร้องเพื่อให้มีการยกเลิกกฎหมายที่เข้มงวดนี้ 

สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เป็นประเทศที่เกือบจะห้ามการทำแท้งโดยสมบูรณ์ ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้หญิงในประเทศนี้จะไม่สามารถเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย และถูกกฎหมายได้ นอกจากนี้ ในกฎหมายคุ้มครองชีวิตระหว่างการตั้งครรภ์ ปี ค.ศ. 2013 (The Protection of Life During Pregnancy Act 2013) นั้นได้ระบุให้การทำแท้งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย โดยมีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียว คือ เมื่อผู้หญิงตกอยู่ในความเสี่ยงที่ “เป็นจริง หรือ ร้ายแรง” ถึงชีวิต เท่านั้น อีกทั้ง ในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายของไอร์แลนด์ครั้งที่แปดในรัฐธรรมนูญนั้นได้มีการคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตอยู่ของทารกในครรภ์ และในกฎหมายว่าด้วยกฎระเบียบของข้อมูลนั้นก็ได้ปิดกั้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้งทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขนั้นจะไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้งได้เลย ด้วยกลัวว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นการ “ส่งเสริม” หรือ “สนับสนุน” การทำแท้ง 

กฎหมายการทำแท้งของไอร์แลนด์ปฏิบัติกับผู้หญิงอย่างกับว่าพวกเธอเป็นอาชญากร โดยผู้หญิง ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข หรือใครก็ตามที่ให้ความช่วยเหลือจะมีความผิดฐานฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองชีวิตระหว่างการตั้งครรภ์ และต้องถูกจำคุก 14 ปี ขึ้นไป รวมทั้งถูกปรับเป็นเงิน 4,000 ปอนด์ และด้วยความที่การทำแท้งในไอร์แลนด์เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ทำให้มีผู้หญิงราว 4,000 คน โดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 34 ปี เดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปทำแท้งในทุกปี 

เอลซัลวาดอร์ และชิลี เป็นสองประเทศที่ห้ามการทำแท้งโดยสมบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า การทำแท้งในสองประเทศนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าชีวิตหรือสุขภาพของผู้หญิงนั้นจะตกอยู่ในความเสี่ยง หรือทารกในครรภ์ไม่สามารถมีชีวิตต่อไปได้  หรือการตั้งครรภ์จะเป็นผลมาจากการถูกข่มขืน หรือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวก็ตาม ซึ่งผลกระทบจากการห้ามทำแท้งโดยสมบูรณ์นั้นสามารถนำไปสู่การทรมาน และการปฏิบัติที่โหดร้ายในรูปแบบต่างๆ ได้ ตามที่มีการสรุปโดยผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการทรมาน อีกทั้งยังนับว่าเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างต่อผู้หญิงอีกด้วย 

ในประเทศเอลซัลวาดอร์ ผู้หญิงที่แท้งบุตรนั้นจะถูกตั้งข้อหาฆาตกรรม ซึ่งเป็นข้อหาที่ร้ายแรงมาก และต้องถูกลงโทษด้วยการถูกจำคุก 50 ปีขึ้นไป และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเองก็ได้ทำการบันทึกกรณีที่มีผู้หญิงจำนวนมากถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลาหลายสิบปีจากการที่เธอแท้งบุตร นอกจากนี้ กฎหมายยังทำให้ผู้ที่มีอาชีพด้านสาธารณสุขต้องตกที่นั่งลำบาก เพราะการช่วยชีวิตผู้ป่วยอาจทำให้พวกเขาต้องถูกลงโทษด้วยการถูกจำคุกตั้งแต่ 6 – 12 ปี ขึ้นไป

กฎหมายของประเทศชิลีก็ไม่ได้มีความแตกต่างมากนัก เหมือนกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ผู้หญิงในประเทศชิลีที่สามารถไปต่างประเทศได้ ก็จะออกนอกประเทศเพื่อไปทำแท้งตามที่พวกเธอต้องการ แต่สำหรับผู้หญิงที่ไม่มีกำลังทรัพย์มากพอจะออกไปต่างประเทศ พวกเธอก็ต้องทำแท้งแบบหลบๆซ่อนๆ ซึ่งส่งผลให้เธอตกอยู่ในความเสี่ยงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และในกรณีที่การทำแท้งอย่างไม่ปลอดภัยส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน การเข้ารับการรักษาอาจทำให้พวกเธอถูกแจ้งความและอาจถูกตัดสินให้จำคุก 3 – 5 ปี 

ประธานาธิบดีของประเทศชิลี มิเชล แบชเชเลต ได้พยายามผลักดันให้การทำแท้งนั้นถูกกฎหมายในกรณีที่ผู้หญิงถูกข่มขืน หรือเมื่อชีวิตของผู้หญิงตกอยู่ในความเสี่ยง หรือเมื่อทารกในครรภ์ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ โดยขณะนี้การลงคะแนนเสียงเพื่อผ่านร่างกฎหมายนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการถกเถียงในสภาแห่งชาติ และฝ่ายค้านซึ่งเป็นเสียงสำคัญก็ดูจะไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายนี้ ถึงแม้ว่าพลเมืองชิลี 70 เปอร์เซนต์จะสนับสนุนการทำแท้งในบางกรณีก็ตาม 

กฎหมายทำแท้งในไอร์แลนด์ เอลซัลวาดอร์ และชิลี ส่งผลให้เกิดการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงอย่างเป็นระบบ การที่ผู้หญิงไม่สามารถเข้าถึงบริการทำแท้ง และข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้งได้ ทำให้แต่ละประเทศล้มเหลวในการปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ระบุไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ และการแก้ไขกฎหมายการทำแท้งในแต่ละประเทศนั้นก็ถือว่าล่วงเลยมานานเกินไปแล้ว 

วันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็น “วันสากลเพื่อรณรงค์การเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย” แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงขอเรียกร้องให้พวกเราร่วมยืนเคียงข้างกับผู้หญิงในสาธารณรัฐไอร์แลนด์ เอลซัลวาดอร์ และชิลี อีกทั้งในแต่ละเมืองในหลายประเทศก็จะร่วมมือกันเพื่อแสดงให้รัฐบาลเห็นว่าผู้คนทั้งโลกกำลังจับตามองอยู่ โดยพวกคุณสามารถสนับสนุนได้ด้วยการลงชื่อในข้อเรียกร้องต่างๆ ทางเว็บไซต์ และทำให้ทั่วโลกรู้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในแต่ละประเทศ ซึ่งเราจะไม่ยอมให้รัฐบาลรอเวลาจนเกิดเรื่องร้ายๆขึ้นอีก!

คุณสามารถช่วยพวกเธอได้จากการเข้าไปลงชื่อในเว็บไซต์ข้างล่างนี้ 

http://bit.ly/1iWoqZu
http://amn.st/6181Bz6ut

ข้อมูลเพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 58 สภาผู้แทนราษฎรของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ได้ลงมติ เห็นชอบอนุญาตให้มีการทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นครั้งแรก แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวมีข้อกำหนดที่อนุญาตเฉพาะการทำแท้งอย่างมีเงื่อนไขเท่านั้น ซึ่งหมายถึงการยินยอมให้มีการทำแท้งเฉพาะในกรณีที่การตั้งครรภ์นั้นอาจส่งผลให้สตรีรายนั้นๆ ตกอยู่ในอันตรายถึงแก่ชีวิต 

ทั้งนี้ การผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวมีขึ้นหลังจากการเสียชีวิตเมื่อเดือนตุลาคมปี2557 ของสตรีเชื้อสายอินเดียวัย 31 ปีรายหนึ่งที่อาศัยในไอร์แลนด์ ได้ร้องขออนุญาตทำแท้งเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากแพทย์ตรวจพบว่าเธอกำลังประสบภาวะแท้งบุตร แต่กลับถูกปฏิเสธเพราะศาลไอร์แลนด์ลงความเห็นว่าเธอยังไม่ตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง จนทำให้เธอเสียชีวิตในเวลาต่อมาจากอาการเลือดเป็นพิษ  (เว็บไซด์ของผู้จัดการออนไลน์)

ประเทศในเอเชียที่ยังจำกัดสิทธิทำแท้ง ส่วนใหญ่มักเป็นประเทศเคร่งศาสนา ไม่ว่าศาสนาอิสลาม เช่น บรูไน บังกลาเทศ และอินโดนีเซีย หรือศาสนาพุทธ เช่น ศรีลังกา ภูฏาน และเมียนมาร์ และศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก เช่น ฟิลิปปินส์

ในประเทศไทย กฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ในกรณีที่การตั้งครรภ์ต่อไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้หญิง หรือในกรณีที่ผู้หญิงถูกทำให้ตั้งครรภ์โดยวิธีผิดกฎหมาย เช่น ถูกข่มขืน แต่กฎหมายไทยก็ยังไม่ยอมให้ผู้หญิงทำแท้งในกรณีที่ทารกในครรภ์พิการ หรือในกรณีที่ผู้หญิงไม่พร้อมด้วยวัยวุฒิ และทุนทรัพย์ที่จะมีลูก

ตามข้อมูลของสหประชาชาติ ประเทศพัฒนาแล้วกว่าร้อยละ 82 อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่อนุญาต (เว็บไซด์ว๊อยซ์ทีวี)

ป้ายคำ: 

  • การทำแท้ง
  • วันสากลเพื่อรณรงค์การเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย
  • ไอร์แลนด์
  • เอลซัลวาดอร์
  • ชิลี