Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

เมียนมา: การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นท่ามกลางการกดขี่ที่หนักหน่วงและการระงับสิทธิของชาวโรฮิงญา

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

เมียนมา: การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นท่ามกลางการกดขี่ที่หนักหน่วงและการระงับสิทธิของชาวโรฮิงญา

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยก่อนที่จะมีการลงคะแนนเสียงในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ว่าการคุมขังนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวอย่างสงบ การจำกัดเสรีภาพในการพูด การเลือกปฏิบัติ และการระงับสิทธิทางการเมืองของชนกลุ่มน้อยโดยเฉพาะชาวโรฮิงญาที่ถูกคุกคาม ได้บั่นทอนความสำคัญของการเลือกตั้งในประเทศเมียนมาอย่างรุนแรง

ในช่วงหนึ่งเดือนก่อนการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์นี้ ทางการเมียนมาได้สั่งคุมขังนักโทษทางความคิดรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 19 คน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล คาดว่าขณะนี้มีจำนวนนักโทษทางความคิดรวมกันแล้วทั้งสิ้น 110 คน แม้ว่าตัวเลขที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้มาก เพราะยังมีอีกหลายร้อยคนที่ถูกตั้งข้อหาและอยู่ระหว่างรอการประกันตัวอยู่

โจเซฟ เบเนดิกต์ (Josef Benedict) ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า ในขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเมียนมากำลังจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และอีกหลายพันคนอาจได้ร่วมเดินขบวนและรับฟังการปราศรัยของนางอองซานซูจี แต่กลับมีบุคคลอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกศาลสั่งจำคุกเพียงเพราะการแสดงความเห็นหรือการประท้วงอย่างสงบ ผู้มีอำนาจอ้างว่าประเทศนี้กำลังเดินหน้าสู่เส้นทางการปฏิรูป แต่ในความเป็นจริงแล้วยังคงมีการเดินหน้าปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบอย่างเข้มข้น

เมื่อเดือนที่แล้ว แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับนักโทษทางความคิดยุคใหม่ในเมียนมา ซึ่งตกเป็นเหยื่อการปราบปรามที่เข้มข้นยิ่งขึ้น

“ทางการได้เริ่มปราบปรามการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งตั้งแต่หลายเดือนก่อน นับเป็นปฏิบัติการเพื่อให้แน่ใจว่าบรรดาเสียง ‘ที่ไม่พึงประสงค์’ จะถูกคุมขังในเรือนจำ และเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่คิดจะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลต้องคิดให้รอบคอบก่อนจะพูดอะไรออกมา”           

แต่สำหรับชาวโรฮิงญาและกลุ่มคนอื่นๆ อีกหลายแสนคนแล้ว การแสดงความเห็นระหว่างการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่กระทำไม่ได้เลย เนื่องจากพวกเขาได้ถูกตัดสิทธิในการเลือกตั้งไปแล้ว

เมื่อต้นปีนี้ ทางการเมียนมาได้ประกาศยกเลิกบัตรประจำตัวชั่วคราวของชาวโรฮิงญา หรือที่เรียกว่า “บัตรขาว” ส่งผลให้ชาวโรฮิงญาไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้ในวันอาทิตย์นี้ แม้ว่าพวกเขาจะสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งเมื่อปี 2553 และ 2555 ที่ผ่านมาก็ตาม นอกจากนี้ยังมีการเพิกถอนสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครชาวมุสลิมและโรฮิงญาเป็นจำนวนมากด้วยเหตุผลที่มีลักษณะเลือกปฏิบัติ ในขณะเดียวกันทางการกลับไม่สามารถแก้ปัญหาการรณรงค์เพื่อยุยงสร้างความเกลียดชัง และยุยงให้เกิดการเลือกปฏิบัติและใช้ความรุนแรงต่อชาวมุสลิม

“การกีดกันชาวโรฮิงญาออกจากการเลือกตั้งอย่างสิ้นเชิง ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติที่ร้ายแรงและหยั่งรากลึก นับเป็นสัญญาณเตือนแก่ประชาคมระหว่างประเทศ และเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า ทางการเมียนมาไม่มีเจตจำนงที่จะแก้ไขปัญหาของชาวโรฮิงญาในลักษณะที่เคารพศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของพวกเขา”

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 หรือเพียงสองวันก่อนการเลือกตั้ง รัฐบาลเมียนมาจะเข้าสู่กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามวาระของประเทศเมียนมา (Universal Periodic Review) ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่กรุงเจนีวา ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญที่ประชาคมระหว่างประเทศจะใช้โอกาสนี้เพื่อกดดันทางการเมียนมาให้แก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงในประเทศ

“ในขณะที่การเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้เป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของเมียนมา แต่บททดสอบที่แท้จริงถึงเจตจำนงของทางการเมียนมาเพื่อเดินหน้าสู่การปฏิรูปสิทธิมนุษยชนจะเกิดขึ้นในช่วงอีกไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ ไม่กี่เดือน หรือไม่กี่ปีข้างหน้า หลังจากคูหาเลือกตั้งปิดตัวลง” โจเซฟกล่าว

////

ท่านสามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มเรื่อง “ย้อนกลับไปในวิถีเก่า: นักโทษทางความคิดยุคใหม่ในประเทศเมียนมา”  (Going back to the old ways: A new generation of prisoners of conscience in Myanmar) ได้ที่ https://www.amnesty.org/en/documents/asa16/2457/2015/my/

Myanmar: Elections marred by growing repression and Rohingya disenfranchisement

เอกสารที่เกี่ยวข้อง: 

ป้ายคำ: 

  • เมียนมา
  • เลือกตั้ง
  • นักโทษทางความคิด
  • โรฮิงญา