Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

หวั่นร่างพ.ร.บ.คอมพ์ฉบับแก้ไขใหม่ ละเมิดสิทธิ-จำกัดเสรีภาพ

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

หวั่นร่างพ.ร.บ.คอมพ์ฉบับแก้ไขใหม่ ละเมิดสิทธิ-จำกัดเสรีภาพ

เวทีรับฟังความเห็น “ชีวิตออนไลน์ ไปทางไหนดี” สะท้อนเสียงจากภาคประชาชน นักวิชาการ เอกชน พร้อมเสนอทางออกให้กับกฎหมายที่กระทบชาวเน็ตทุกคนอย่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

           ผู้จัดงานระบุว่า ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงหลักความจำเป็นและสัดส่วนที่เหมาะสม นอกจากนั้นทางปฏิบัติมักถูกนำมาใช้กล่าวโทษปัจเจกบุคคล และผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตที่ใช้เสรีภาพแสดงออกอย่างเป็นธรรม

          ประเด็นที่น่าเป็นห่วง สนช.จะเสร็จสิ้นการพิจารณาทบทวนร่างแก้ไขปลายเดือนต.ค.นี้แล้ว ทว่ามีบุคคลจำนวนไม่น้อยยังไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ที่สำคัญต้องมั่นใจได้ว่ากฎหมายจะเข้ามาคุ้มครองความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ สิทธิความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงออก ตลอดจนเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

          ดังนั้น หวังว่าคณะกรรมมาธิการร่างฯ จะสร้างความมั่นใจว่าร่างแก้ไขเป็นไปตามความเป็นจริงในโลกดิจิทัลปัจจุบัน กรอบหลักการทางกฎหมาย และมาตรฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศ มิเช่นนั้นมีโอกาสส่งผลกระทบเชิงลบ เสรีภาพการแสดงออกของสื่อ การเจริญเติบโตเศรษฐกิจยุคดิจิทัลและสถาบันการเงิน

มาตรา14 ยังฮอต 

          “คณาธิป ทองรวีวงศ์” นักวิชาการกฎหมายสิทธิส่วนบุคคล และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เห็นว่า ร่างฉบับนี้ยังมีปัญหาอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะประเด็นผลกระทบสิทธิส่วนบุคคล อย่างมาตรา 14 (1) จากการเข้าไปควบคุมด้านเนื้อหา ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์เดิมที่ให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์พลวัติ สแกมมิ่ง ฟิชชิ่ง

          โดยปัญหาเดิมที่เกิดขึ้นแล้วกับพ.ร.บ.ใหม่ประกอบด้วย ปัญหาเกี่ยวกับแนวคิด ทัศนคติว่า การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นทางระบบคอมพิวเตอร์หรือที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์จะต้องอยู่ภายใต้พ.ร.บ.คอมพ์ อันส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การบัญญัติความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาเช่นหมิ่นประมาท ให้เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยหลักแล้วไม่ใช่ อีกทั้งมีกฎหมายอื่นครอบคลุมอยู่แล้ว

          นอกจากนี้ การบัญญัติกฎหมายซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นเช่น แนวคิดการนำเนื้อหาความผิดตามกฎหมายอื่นมาอยู่ภายใต้การบังคับและขอบเขตกลไกของพ.ร.บ.คอมพ์ เช่นดังที่เห็นจากขอบเขตข้อมูลในมาตรา 20

          อีกประเด็นที่น่าเป็นห่วงยังมีเรื่องการตีความและการปรับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ ว่าพฤติกรรมนั้นเป็น “ตัวการ” สำหรับการนำเข้าสู่ระบบ การตีความว่าพฤติกรรมบางอย่างเป็นการ “เผยแพร่หรือส่งต่อ” เช่นการกดไลค์

          ปัญหาดังกล่าวหากพิจารณาตามหลักกฎหมายอาญาเรื่องเจตนาตัวการแล้วจะเห็นได้ว่า ในหลายกรณีไม่มีเจตนาและไม่สามารถถือว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดได้ ฉะนั้นการตีความและการปรับใช้กฎหมายยังอาจมีปัญหาต่อไปในพ.ร.บ.ฉบับใหม่

ยาแรงผิดขนาน 

           ไอลอว์ชี้ว่า เจตนารมณ์ที่เปลี่ยนไปและการเขียนกฎหมายในมาตรา 14(1) เป็นการเปิดให้ต้องตีความอยู่มาก ทำให้ลักษณะของความผิดที่ฟ้องร้องเป็นคดีความกันมีความหลากหลายทั้งความผิดต่อระบบ การหลอกลวง และการหมิ่นประมาท โดยลักษณะความผิดทั้ง 3 แตกต่างกันชัดเจน 2 ข้อแรกเป็นความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อคนจำนวนมากหรือประชาชน ขณะที่หมิ่นประมาทเป็นความผิดต่อส่วนตัว

          นอกจากนี้ ในกรณีความผิดต่อระบบและการฉ้อโกง ศาลมักตัดสินให้มีความผิด ขณะที่การหมิ่นประมาทมีอัตราการยกฟ้องและถอนฟ้องสูง

          ด้านผลกระทบ มีประเด็นสำคัญคือ เป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ซ้ำซ้อน อัตราโทษสูง ยอมความไม่ได้ ไม่มีหลักเรื่องความสุจริตหรือประโยชน์สาธารณะ และเป็นการคุกคามเสรีภาพสื่อซึ่งกระทบต่อบรรยากาศการใช้เสรีภาพในสังคม นับเป็นยาแรงผิดขนานสำหรับการหมิ่นประมาทออนไลน์

           “อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา” สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวเสริมว่า มาตรา 14(1) ได้เพิ่มปัญหาไปมากกว่าเดิม ทั้งนำไปใช้กรณีหมิ่นประมาทได้มากขึ้น ปัจจุบันไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่กังวลต่อประเด็นที่สื่อออนไลน์กระทบต่อความมั่นคง ทว่าที่ผ่านมามีการนำกฎหมายมาใช้อย่างรุนแรงที่สุด และมากที่สุดในภูมิภาค

ฉุดเศรษกิจดิจิทัล 

           “แซม ซารีฟี” คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล กล่าวว่า ไม่ควรปล่อยให้พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวคลอดออกมา เนื่องจากหลายประเด็นไม่ผ่านมาตรฐานที่เป็นสากล ด้านความเสียหายไม่เพียงทำลายสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ยังจะส่งผลต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รวมไปถึงการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลไทยที่ต้องการไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ด้วย

           “อัครวิทย์ จงสวัสดิ์วรกุล” ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น กล่าวว่า มาตรา 15 มีผลกระทบมาถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ทั้งๆ ที่จริงๆ ต้องมีการแยกแยะให้ชัดเจนว่ามีกี่แบบ เทียบกับต่างประเทศในยุโรปหรืออเมริกาไม่จำเป็นต้องรับผิด

           นอกจากนี้ การลงโทษกลายเป็นว่า ผู้ให้บริการต้องรับโทษเท่ากับผู้กระทำความผิด หากออกมาเช่นนี้บริษัทผุ้ให้บริการจำต้องตั้งรับเพื่อไม่ให้มีความผิด เช่นตั้งทีมงานคอยตรวจสอบข้อมูลการใช้งาน ต้องใช้เงินลงทุนอีกจำนวนมาก แทนที่จะนำไปใช้พัฒนาระบบหรือบริการให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น

           “ศุภสรณ์ โหรชัยยะ” ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดคือความทับซ้อนของข้อกฎหมาย ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องหมิ่นประมาท ทำให้โทษแรงขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ เช่นการปิดกันเว็บที่ทำทั้งโดเมนแทนที่จะแค่คอนเทนท์นั้นๆ

            อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ทุกคนกำลังเรียกร้องสิทธิ ไม่ค่อยพูดเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการใช้งานของตน เรื่องนี้ทุกคนในสังคมต้องตระหนักและทำควบคู่กันไป

วอนชัดเจน-รอบด้าน 

            ด้วยปัญหาและความกังวลต่อการแก้ไขร่างกฎหมาย โดยเฉพาะมาตรา 14(1) ดังกล่าว ก่อนหน้านี้เครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้เสนอให้ แก้ไขให้ชัดเจนว่าเป็นการเอาผิดกับฟิชชิ่ง และตัดโอกาสในการใช้ฟ้องหมิ่นประมาทออกไป

            ขณะที่ มาตรา 14(2) กำหนดความผิดต่อ “ความปลอดภัยสาธารณะ” และ “ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” ให้ชัดเจน ประเด็นต่อมา แยกแยะประเภทผู้ให้บริการหรือสื่อตัวกลาง และกำหนดภาระความรับผิดให้เหมาะสมกับประเภท

            มาตรา 15 ขอให้กำหนดลักษณะความผิดของผู้ให้บริการให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการพิสูจน์เจตนา แยกแยะโทษของผู้ให้บริการแต่ละประเภท กำหนดโทษให้เหมาะสมตามหลักกฎหมายอาญา และให้การกำหนดโทษมีความสม่ำเสมอภายในกฎหมายฉบับเดียวกัน 
นอกจากนี้ ให้ใช้หลักการแจ้งเตือนและแจ้งเตือน ดังเช่นที่ประเทศแคนาดาปรับปรุงให้สอดคล้องกับการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มากกว่านั้นขอเสนอให้พิจารณาเรื่องภาระแห่งการพิสูจน์ความผิดให้รอบคอบตามหลักกฎหมายอาญาและหลักการในรัฐธรรมนูญ

            อีกประเด็นที่ไม่อาจมองข้าม ขอให้จำกัดขอบเขตอำนาจของประกาศที่รัฐมนตรีจะออกเพิ่มเติมให้ ตามมาตรา 15 และ 20 ขอให้พิจารณาตัดมาตรา 20(4) ที่อนุญาตให้ปิดกั้นข้อมูลได้แม้ไม่ผิดกฎหมายใด

            ขอเสนอให้มีกระบวนการอุทธรณ์ จากการใช้อำนาจตามมาตรา 18 และ 20 สุดท้ายขอให้มีการกำหนดอายุของกฎหมาย เพื่อให้มีการทบทวนกฎหมายตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป


ขอบคุณที่มาข้อมูล: กรุงเทพธุรกิจ

ป้ายคำ: 

  • พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
  • ละเมิดสิทธิ
  • จำกีดเสรีภาพ
  • มูลนิธิอินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
  • คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล
  • โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน