Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

เพชฌฆาต...การหลอกหลอนตัวเองของ "มนุษย์" และ "พลเมือง"

หมวดหมู่ : บล็อก
โปสเตอร์ภาพยนตร์ "เพชฌฆาต"(The Last Executioner)

โดย ณัฐกร เวียงอินทร์

จากที่มีกระแสข่าวฆ่าข่มขืน เด็กอายุ 13 ปี บนรถไฟ ซึ่งเป็นอีกข่าวหนึ่งที่สะเทือนใจผู้คนหมู่มาก(รวมทั้งผมด้วย) จนเกิดวิวาทะในเรื่องความเหมาะสมของโทษที่ฆาตรกรสมควรได้รับทั้งกรณี "ข่มขืน" และ "ฆ่าข่มขืน" สมเหตุสมผลหรือไม่เพียงใด?

ผมเห็นว่า นี่เป็นจังหวะดีที่เราควรหาโอกาสดูหนังเรื่อง "เพชฌฆาต"(The Last Executioner) ซึ่งหนังได้เข้าไปสำรวจวิธีคิดของ "เพชฌฆาต" ที่มีต่อ "นักโทษประหาร" ได้อย่างมีนัยยะที่น่าสนใจ

ท่ามกลางกระแสระเบิดภูเขาเผากระท่อมนับพันๆล้านๆหลังของหนังฟอร์มยักษ์วินาศสันตะโรในช่วงซัมเมอร์ หนังไทยฟอร์มเล็กที่ไม่ธรรมดาอย่าง "เพชฌฆาต"(The Last Executioner) ได้มีพื้นที่อันน้อยนิดแทรกเข้ามาฉายในโรงหนังมัลติเพล็กซ์โดยก่อนที่จะเข้าฉายได้สร้างเซอร์ไพรซ์เล็กๆในหน้าข่าวบันเทิง เพราะ ดารานำของเรื่องอย่าง วิทยา ปานศรีงาม ได้รับรางวัลนักแสดงนำชาติยอดเยี่ยมในเทศกาลภาพยนตร์แห่งชาติเซี่ยงไฮ้จากหนังเรื่องนี้

จังหวะการเล่าเรื่องของหนัง "เพชฌฆาต" เต็มไปด้วยความเรียบ ง่าย หน่วง ช้า จนน่าอึดอัดในหลายๆจังหวะ แต่ภายใต้ความเรียบๆนี้ ในหลายจังหวะกลับแฝงไปด้วยความรู้สึกบีบคั้น กับเรื่องราวชีวประวัติของเชาวเรศน์ จารุบุณย์ เพชฌฆาตคนสุดท้ายที่ใช้วิธีการประหารนักโทษด้วยการลั่นไกปืน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาประหารด้วยการฉีดยาแทน ในปี พ.ศ.2546

สิ่งที่บีบคั้นอยู่ในเรื่องนี้ก็คือ สภาวะการถูกหลอกหลอนในจิตใจของเชาวเรศน์(ซึ่งบทนี้ วิทยา ปานศรีงาม แสดงได้อย่าง "ถึงเครื่อง") ที่สับสนระหว่างอัตลักษณ์ของความเป็น "มนุษย์" และ "พลเมือง" ที่ทับซ้อนกันให้เห็นอยู่ตลอดเรื่อง

เรื่องเล่าชีวิตของเชาวเรศน์ เริ่มต้นจากการที่เขาเคยเป็นนักดนตรีร็อคแอนด์โรล จนมาวันหนึ่งเขาได้พบรักกับภรรยา(รับบทโดย เพ็ญพักตร์ ศิริกุล) ทำให้เขาต้อง "เลือก" ระหว่างการมีชีวิตที่มั่นคงผ่านการทำงานในระบบราชการ หรือเป็นนักดนตรี ซึ่งค่านิยมของสังคมสมัยไหนยังมองว่าเป็นอาชีพเต้นกินรำกินอยู่ และเพื่อครอบครัว เชาวเรศน์ เลือกที่จะรับข้าราชการ เป็นเจ้าหน้าที่เรือนจำบางขวาง จนก้าวขึ้นมาเป็นนักโทษประหารในที่สุด...

ความน่าสนใจของหนังจึงเป็นเรื่องของ "กระแสสำนึก" ในความคิดของเชาวเรศน์ ซึ่งอยู่ในสภาวะเผชิญหน้ากับความ contrast กันระหว่าง หน้าที่ของ "มนุษย์" และ "พลเมือง" โดยพื้นที่ของความเป็น "มนุษย์" ถูกบอกเล่าผ่านบทบาทหน้าที่ของความเป็นพ่อ และสามีที่อบอุ่น รักลูก รักเมีย และมีความหลงใหลในการเล่นดนตรีร็อคแอนด์โรล กับอีกพื้นที่หนึ่งก็คือพื้นที่ของการเป็น "พลเมือง" ที่เขาต้องรับหน้าที่ที่ "เลือก"(ด้วยทางเลือกที่แสนจำกัดเพื่อปากท้องของคนในครอบครัว) เป็นเพชฌฆาต อันเป็นบทบาทหน้าที่ที่รัฐได้ตีกรอบให้เขาต้องทำในฐานะพลเมืองที่ดี

(อันที่จริง แม้แต่เรื่องครอบครัว ก็เป็นเรื่องโครงสร้างสถาบันครอบครัวกำหนดไว้ หาใช่ความเป็น "มนุษย์" แบบบริสุทธิ์ไร้ซึ่งรหัสวัฒนธรรมมาบอกว่าเราต้อง commit ในความสัมพันธ์ของการเป็น "พ่อ" และ "สามี" ไม่ต่างจากโครงสร้างรัฐ ที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของ "พลเมือง")

กีต้าร์ และปืน จึงกลายเป็น symbolic สำคัญในเรื่อง กีต้าร์ที่เชาวเรศน์ถือ คือสัญลักษณ์ความเป็น "มนุษย์" อันมีเวทีคอนเสิร์ต เป็นสถานที่ที่ทำให้ชีวิตเขาโลดแล่น ส่วนปืน เป็นสัญลักษณ์ของความเป็น "พลเมือง" เวทีแสดงปรากฏอยู่ที่ลานประหารที่เขาพร่ำบอกกับตัวเอง และสื่อ อย่างรายการทอล์คโชว์อย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า การประหาร ซึ่งเป็นการฆ่าแบบถูกกฎหมายผ่านความรุนแรงเชิงโครงสร้างของรัฐ เขาทำไปเพราะว่ามันเป็น "หน้าที่" 

และสิ่งที่ช่วยทำให้วิธีคิดในการ "ฆ่า" ของเขา ซึ่งผ่านการประหารนักโทษมา 55 ชีวิต กลายเป็นเรื่อง "ชอบธรรม" นั้นมาจากกลไกรัฐที่พยายามบอกว่า งานของเขาเป็นแค่ส่วนประกอบหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม ไม่ได้มีความรู้สึกโกรธแค้นใดๆต่อนักโทษ และเรื่องของวาทกรรมของศาสนา ที่มองว่า "ฆ่าคนชั่ว ไม่บาป" ที่กรอกหูเขาเพื่อให้เขาสามารถทำหน้าที่นักโทษประหารได้อย่างสมบูรณ์แบบ 

แต่ที่สุดแล้ว เขาเพียงแค่ปิดบังความรู้สึกส่วนลึกในหัวใจที่ว่า อันที่จริงเขาเองก็ไม่ได้อยากฆ่าใครหรอก แม้ว่าจะถูกกฎหมายก็ตาม แต่มันเป็นความจำเป็นเพราะมันเป็น "หน้าที่" ที่เขาได้รับมอบหมายจากรัฐ และเพื่อปากท้องของคนในครอบครัว เขาจึงต้อง "ฆ่า"

"กระแสสำนึก" ของเชาวเรศน์ จึงเหมือนมี "เทวดา" กับ "มาร" ทะเลาะกันอยู่ในหัวตลอดเวลา เพื่อให้เขาสารภาพออกมาจากใจว่า ภายใต้ฉากหน้าที่เขาบอกว่า เขาเป็นมือประหารเพราะทำตาม "หน้าที่ที่ยึดมั่นและศรัทธา" แต่ลึกๆในใจของเขา เห็นไปในทำนองเดียวกันหรือไม่?

ประเด็นนี้ถูกขยี้อย่างเฉียบคมด้วยคำถามที่ว่า แล้วหากนักโทษประหารคนนั้นไม่มีความผิด เขาเป็นเพียง "แพะ" ในกระบวนการยุติธรรม ล่ะ สิ่งที่เขายึดมั่นและศรัทธาจะถูกทำลายลงหรือไม่? ผ่านเหตุการณ์การประหารนักโทษหญิงที่มีส่วนพัวพันกับการลักพาตัว และฆ่าเด็กน้อยอย่างอุจฉกรรจ์ ทั้งหนังเรื่องนี้ได้เล่าถึงมุมมองอีกด้านหนึ่งว่า แท้จริงแล้ว แม้ผู้หญิงคนนี้จะส่วนในการลักพาตัวเด็ก แต่เธอไม่ได้มีส่วนร่วมในการฆ่าเด็กน้อย

แม้ว่าพอความจริงเปิดเผย เชาวเรศน์ จะอธิบายว่า เขาเป็นเพียงแค่ "ปลายทาง" ของกระบวนการยุติธรรม ทำได้แต่เพียงทำ "หน้าที่" (หนังเรื่องนี้ย้ำคำว่า "หน้าที่" ซ้ำแล้วซ้ำเล่า) ของตัวเองเท่านั้น แต่ในฐานะที่เขาเป็น "มนุษย์" คนหนึ่ง เชาวเรศน์ปฏิเสธไม่ได้แน่นอนว่า ตัวเขาเองก็รู้สึกเจ็บปวดกับการลั่นไกประหารชีวิต "แพะ" เช่นกัน

แน่นอนว่า, หากเกิดเหตุร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน คนร้ายสมควรได้รับโทษอย่างสมน้ำสมเนื้อตามหลักนิติรัฐอันเป็นข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาจากหนังเรื่อง "เพชฌฆาต" พยายามจะบอกเราว่า หากเป็นกรณีที่เราจับ "แพะ" มาประหารล่ะ เราควรมองมันด้วยสายตาแบบไหน?

เราสามารถทำตามบทบาทหน้าที่ของ "พลเมือง" ที่ดีในสังคมการเมือง แต่การเป็น "มนุษย์" ที่มีหัวใจ โทษตามกฎหมายไม่อาจผันแปรตามความสะใจในกระแสสังคม นั่นก็เพราะว่า แม้แต่ระบบความยุติธรรมที่มีสัญลักษณ์เป็นตราชั่งที่เที่ยงตรง ก็ยังมีวันที่มันจะ Error ได้อยู่บ่อยครั้งไป

ป้ายคำ: 

  • เพชฒฆาต
  • นักโทษประหาร
  • กระบวนการยุติธรรม
  • แพะรับบาป