Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

คนรุ่นใหม่ในขบวนการสิทธิของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล : ประสบการณ์ตัวแทนเยาวชน ICM 2015

หมวดหมู่ : บล็อก

คนรุ่นใหม่ในขบวนการสิทธิของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล : ประสบการณ์ตัวแทนเยาวชน ICM 2015

โดย ฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์ 

‘แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล’ ได้ชื่อว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในองค์กรจึงมีระบบโครงสร้างที่สลับซับซ้อนอย่างมาก ซึ่งแม้จะยากต่อการทำความเข้าใจอยู่บ้างในช่วงแรก แต่ขั้นตอนวิธีการที่สลับซับซ้อนต่างๆ นี่เองที่ทำให้แอมเนสตี้มีความเป็นประชาธิปไตยสูงและน่าเชื่อถือตลอดมา

International Council Meeting หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ICM เป็นการประชุมสามัญระดับนานาชาติที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปีเป็นการรวบรวมตัวแทนแอมเนสตี้จากประเทศต่างๆ มาร่วมอภิปราย ถกเถียง และแบ่งปันความคิดเห็นเพื่อกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบริหารองค์กรในอนาคต

ผมได้มีโอกาสเข้าร่วม ICM 2015 ที่กรุงดับลินของไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 6-11 สิงหาคมที่ผ่านมา ในฐานะตัวแทนเยาวชน (youth delegate) ซึ่งต่างจากตัวแทนประเทศ (delegate) ส่วนใหญ่ ตัวแทนเยาวชนใน ICM นอกจากจะต้องเข้าร่วมการอภิปรายและโหวตในหัวข้อต่างๆ เช่นเดียวกับตัวแทนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว พวกเรายังมีหน้าที่เป็นกระบอกเสียงเรียกร้องสิทธิของเยาวชนทั้งภายในงานและในอนาคตด้วย

ตัวแทนเยาวชนใน ICM 2015 มีประมาณ 40 คนจากทั่วทุกมุมโลก พวกเราได้พบกันใน ‘Youth Day’ ที่ก่อน ICM ใหญ่จะเริ่มขึ้นหนึ่งวัน นอกจากทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยแล้ว ยังมีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการสร้างความมีตัวตนของเยาวชนและคนรุ่นใหม่ในแอมเนสตี้ได้อย่างไรบ้าง

หนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญของตัวแทนเยาวชนใน ICM 2015 คือการที่พวกเราได้มีโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ในห้องประชุมใหญ่เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิของเยาวชนและคนรุ่นใหม่ เรียกร้องให้มีการปกป้องเยาวชนทั่วโลกมากขึ้น เช่นเดียวกับรวมเอาคนที่เป็นเยาวชนและคนอายุน้อยเข้ามาเป้นกำลังหลักในขบวนการสิทธิมนุษยชนขององค์กรมากขึ้นในอนาคต ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากตัวแทนหลายๆ ประเทศ ไปจนถึงคณะกรรมการสากลและเลขาธิการแอมเนสตี้เป็นอย่างดี มีการจัดประชุมแยกเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับตัวแทนเยาวชนตลอดระยะเวลา 5 วันของงาน

อย่างไรก็ตาม ภารกิจของพวกเราไม่ได้จบแค่นั้น หลัง ICM 2015 จบลงแล้ว ตัวแทนเยาวชนยังต้องร่างเอกสารว่าด้วย ‘วิสัยทัศน์ตัวแทนเยาวชน ICM สำหรับปี 2019’ หรือ ‘ICM Youth Delegates Youth Vision for 2019’ ขึ้นมาด้วย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในแอมเนสตี้นำไปพิจารณาปรับปรุงวิสัยทัศน์ด้านเยาวชนขององค์กรต่อไป

ขณะนี้ภารกิจดังกล่าวยังอยู่ในขั้นอภิปรายเพื่อร่างเอกสารครั้งที่ 4 แม้เนื้อหาจะยังไม่เป็นทางการ แต่ประเด็นที่พวกเราค่อนข้างเห็นตรงกันว่าจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นในแอมเนสตี้ในอนาคต นั่นก็คือ ‘การมีส่วนร่วมของเยาวชน’ การมีส่วนร่วมในที่นี้ พวกเรามุ่งไปที่การมีส่วนร่วมในระบบบริหารและการกำกับดูแลองค์กรเป็นหลัก กล่าวในเชิงรูปธรรมก็คือเยาวชนและคนอายุน้อยจะต้องมีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในโครงสร้างทุกระดับของขบวนการ ตั้งแต่คณะกรรมการระดับประเทศ ภูมิกาค ไปจนถึงคณะกรรมการสากลด้วย

นอกจากประเด็นการมีส่วนร่วมแล้ว พวกเรายังเรียกร้องให้แอมเนสตี้ปกป้องเยาวชนและคนอายุน้อยทั่วโลกให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเยาวชนและคนอายุน้อยทั่วโลกต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงกว่าผู้ใหญ่ในรูปแบบต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ความรุนแรงทางเพศ แรงงานเด็ก การค้าทาส การไม่ได้รับการศึกษา การกีดกันในสังคมลำดับขั้น และอื่นๆ อีกมากมาย

การทำงานเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้จึงจะสำเร็จไม่ได้เลยหากสิทธิและเสียงของเยาวชนซึ่งเป็นทั้งผู้ถูกละเมิดสิทธิ ผู้พิทักษ์สิทธิ และอนาคตของสังคม ถูกมองข้ามไปเฉยๆ พวกเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าคนรุ่นใหม่จะไม่ได้เป็นเพียงแค่ ‘ส่วนหนึ่ง’ ขององค์กร หากแต่ยังสามารถเป็น ‘ผู้นำ’ ที่ช่วยให้เป้าหมายด้านสิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้สำเร็จได้ในอนาคตได้ด้วย หากได้รับโอกาส ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากคนรุ่นก่อนอย่างเหมาะสม

เพื่อให้ข้อเรียกร้องของเราเหล่าเยาวชนเป็นไปในเชิงรูปธรรม ขณะนี้มีความพยายามร่าง ‘Guidance Note for Youth Participation in Governance’ ขึ้นมา ซึ่งเป็นข้อแนะนำว่าแอมเนสตี้ในปัจจุบันจะรับเยาวนและคนอายุน้อยเข้ามาในระบบกำกับดูแลของอค์กรได้แค่ไหนและอย่างไรบ้าง เช่น การกำหนดโควต้าจำนวนเยาวชนในคณะกรรมการระดับประเทศและระดับสากล การกำหนดให้ทุกประเทศต้องส่งตัวแทนเยาวชนเข้าร่วม ICM อย่างน้อยหนึ่งคน การกำหนดให้ผู้สมัครฝ่ายบริหารในระดับสากลต้องเคยผ่านการเป็นตัวแทนเยาวชนมาก่อน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดยังไม่ได้มีการสรุปที่ชัดเจนจนถึงขณะนี้

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ค่อนข้างกระตือรือร้นด้านสิทธิเยาวชนในเวทีโลกพอสมควร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเยาวชนเข้าร่วม ICM อย่างสม่ำเสมอ หลายคนกลับมาสานต่อแนวคิดและกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนที่มีเยาวชนในประเทศมีส่วนร่วมมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น การเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเองก็มีเยาวชนและคนอายุน้อยเป็นกำลังสำคัญ เห็นได้จากคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยหลายคนทั้งเก่าและใหม่ต่างก็เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จำนวนมาก นอกจากไทยแล้ว ประเทศที่เยาวชนมีส่วนสำคัญในขบวนการของแอมเนสตี้ เช่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ แคนาดา อุรุกวัย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในทุกๆ ประเทศ ไม่ว่าการมีส่วนร่วมของเยาวชนคนรุ่นใหม่จะมากหรือน้อย การมีส่วนร่วมที่ว่ามักเป็นไปในรูปแบบที่ไมได้ตั้งใจ หรือเกิดขึ้นเองจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก คือไม่มีโครงสร้างภายในขบวนการที่ให้การรับรองว่าเยาวชนจะมีส่วนร่วมกับแอมเนสตี้ในระดับที่น่าพอใจตลอดไป พูดง่ายๆ ก็คือเยาวชนสามารถหายไปจากขบวนการได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพราะไม่มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบนั่นเอง

ฉะนั้น แม้จะเหมือนว่าประเทศไทยและหลายๆ ประเทศจะเดินมาถูกทางแล้ว แต่ก็ยังมีงานให้ต้องทำอีกมากในประเด็นสิทธิและการมีส่วนร่วมของเยาวชนทั้งในระดับประเทศและโครงสร้างใหญ่ในระดับสากล เพื่อให้งานด้านสิทธิมนุษยชนได้รับการสานต่ออย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตอย่างแท้จริง ซึ่งก็คงต้องคอยติดตามกันต่อไป 

ป้ายคำ: 

  • AMNESTY INTERNATIONAL
  • ICM2015