Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

องค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ถอนการแจ้งความร้องทุกข์คดีอาญาต่อนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนโดยทันที

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ร่วมระหว่างคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) องค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2557 ระบุว่ารัฐบาลไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพไทยควรหยุดใช้กฎหมายหมิ่นประมาทโดยทันที ในการทำให้นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนต้องนิ่งเงียบ

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 กองทัพไทยแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาต่อนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ  นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (มูลนิธิผสานฯ) จากกรณีที่มูลนิธิผสานฯ เรียกร้องให้มีการสอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุมตัว โดยแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาททำให้กรมทหารพรานที่ 41 จังหวัดยะลาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทยต้อง “เสื่อมเสียชื่อเสียง”

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ฮิวแมนไรท์วอทช์ และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงร่วมกันเรียกร้องให้มีถอนการแจ้งความร้องทุกข์ข้อกล่าวหาดังกล่าวโดยทันที

การแจ้งความร้องทุกข์ดังกล่าวเกิดหลังจากที่นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ส่งจดหมายเปิดผนึกลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 ถึงผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของไทย โดยนางสาวพรเพ็ญได้เรียกร้องให้มีการสอบสวนข้อกล่าวหาที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ทุบตีชายคนหนึ่งอย่างรุนแรงระหว่างการจับกุม เมื่อเดือนเมษายน 2557 และระบุว่าหากข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความจริงก็จะถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายไทยรวมทั้งอนุสัญญาต่อต้านการทรมานซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีด้วย

ต่อมาวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 กอ.รมน. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมทหารพรานที่ 41 และหน่วยงานอื่น รวมทั้งแพทย์ที่ตรวจร่างกายผู้เสียหายที่ร้องเรียนว่าถูกทำร้าย ได้ออกคำแถลงชี้แจงว่าได้ทำการสอบสวนและพบว่าข้อกล่าวหาที่ว่ามีการทำร้ายร่างกายนั้นไม่เป็นความจริง ทั้งคำแถลงยังกล่าวอีกว่ามูลนิธิผสานวัฒนธรรมจะต้องรับผิดชอบต่อการบิดเบือนความจริงและเผยแพร่ข้อความเท็จสู่สาธารณะโดยเจตนา

ทั้งนี้ กรณีนี้ถือเป็นกรณีที่สองภายในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ที่กองทัพไทยใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญามาใช้ในทางที่ผิด เพื่อข่มขู่คุกคามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ทำงานในการติดตามและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยในเดือนธันวาคมปี 2556  กองทัพเรือไทยได้ยื่นฟ้องกรณีบรรณาธิการเว็บไซต์ข่าวของประเทศไทย “ภูเก็ตหวาน”  โดยกล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นประมาทและกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์)  โดยการผลิตซ้ำซึ่งข้อความบางส่วนจากบทความที่ได้รับรางวัลพูลิเซอร์ ของสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับการกล่าวหาว่ามีการลักลอบนำเข้าและการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา ชนกลุ่มน้อยในประเทศเมียนมาร์ที่เผชิญกับปัญหาการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและความรุนแรง

การแจ้งความร้องทุกข์คดีอาญาต่อนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมถือเป็นการโจมตีการทำงานในฐานะนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและเป็นการคุกคามต่อสิทธิในเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของผู้ที่ทำงานเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

นอกจากนี้ ยังเป็นการละเมิดสิทธิของผู้เสียหายที่ถูกปฏิบัติอย่างทารุณโหดร้ายที่จะได้รับการสืบสวนสอบสวนในข้อร้องเรียนดังกล่าวอย่างทันท่วงที เป็นอิสระ และมีความเป็นกลาง โดยปราศจากการถูกข่มขู่คุกคาม ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้การรับรองไว้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศรวมถึงสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีด้วย

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 ซึ่งได้อุทิศทรัพยากรส่วนใหญ่ในการทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 เป็นต้นมา โดยการติดตามและบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานและการปฏิบัติที่ทารุณโหดร้ายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงอื่นๆ ทั้งนี้นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยด้วย

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) ฮิวแมนไรท์วอทช์ และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เน้นย้ำว่า เจ้าหน้าที่รัฐของไทยมีหน้าที่ในการให้ความเชื่อมั่นว่าบุคคลทุกคนและองค์กรต่างๆ  ที่ทำงานปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน จะสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยและเอื้ออำนวยต่อการทำงาน

ข้อมูลพื้นฐาน

สิทธิในการร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่ทารุณโหดร้ายอื่นๆ และสิทธิที่จะได้รับการสืบสวนสอบสวนข้อร้องเรียนนั้นอย่างทันท่วงทีและด้วยความเป็นกลาง ได้รับการรับรองภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ได้แก่ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ประเทศไทยถูกวิจารณ์ในเดือนพฤษภาคม 2557 เกี่ยวกับความล้มเหลวในการให้ความเคารพต่อสิทธิดังกล่าว เมื่อคณะกรรมาธิการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติได้แสดงออกถึงข้อกังวลว่า “มีข้อกล่าวหาจำนวนมากและสอดคล้องกันว่ามีการกระทำตอบโต้อย่างร้ายแรงและคุกคามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน ผู้นำชุมชน และญาติผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการโจมตีทางวาจาและทางร่างกาย การบังคับให้สูญหาย และการวิสามัญฆาตกรรม เช่นเดียวกับการขาดการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับการสอบสวนข้อกล่าวหาดังกล่าวด้วย”

คณะกรรมาธิการให้คำแนะนำว่า “ประเทศไทยควรจะมีมาตรการที่จำเป็นในการ (ก) ยับยั้งซึ่งการคุกคามและโจมตีนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนโดยทันที (ข) มีการสอบสวนอย่างเป็นระบบต่อการข่มขู่ การคุกคาม และโจมตีโดยมุ่งที่จะดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำผิด และรับประกันว่าจะมีการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพแก่เหยื่อและครอบครัวของเหยื่อ”

นอกจากนี้ ในข้อ 1 ของปฏิญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยนักต่อสู้สิทธิมนุษยชน ได้บัญญัติถึงมาตรฐานทางสากลสำหรับคุ้มครองบุคคลที่ทำงานในการปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยยืนยันว่า “ทุกคนในฐานะปัจเจกชนและโดยรวมกับผู้อื่นมีสิทธิในการส่งเสริมและต่อสู้เพื่อการคุ้มครองและตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในระดับชาติและระหว่างประเทศ”

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ให้การรับรองภายใต้ข้อ 19 ระบุว่าเสรีภาพในการแสดงออกโดยอิสระซึ่งรวมถึงสิทธิในการบอกกล่าวข้อมูลด้วย คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งทำหน้าที่ติดตามการปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ของรัฐต่างๆ ได้แสดงความกังวลถึงการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทในทางที่ผิดโดยการทำให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกลายเป็นความผิดทางอาญา และกล่าวว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ควรถูกนำมาใช้เมื่อการแสดงออกนั้นเกิดขึ้นโดยปราศจากเจตนาร้ายและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล

นายเอียน เซย์เดอร์แมน ผู้อำนวยการด้านกฎหมายและนโยบาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล สำนักงานเจนีวา โทร.  + 41 22 979 3837, e-mail: ian.seiderman@icj.org

องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์

สำนักงานซานฟรานซิสโก นายแบรด อดัมส์ โทร. +1-347-463-3531, e-mail: adamsb@hrw.org

สำนักงานวอชิงตัน ดีซี นายจอห์น ชิฟตัน โทร. +1-646-479-2499, e-mail : or siftonj@hrw.org         

องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

สำนักงานลอนดอน นายริชาร์ด  เบนเนตต์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โทร. +44 7432 633 679, e-mail : richard.bennett@amnesty.org

///

AMNESTY INTERNATIONAL

JOINT STATEMENT

Index: ASA 39/002/2014

28 August 2014

Thailand: Immediately withdraw criminal defamation complaint against human rights defender

The Thai Government and the Thai army should immediately stop their abusive resort to criminal defamation laws to silence human rights defenders, said the International Commission of Jurists (ICJ), Human Rights Watch, and Amnesty International today.

On 20 May 2014, the Thai army lodged a criminal complaint against Thai human rights defender Pornpen Khongkachonkiet and her organization Cross Cultural Foundation (CrCF) for “damaging the reputation” of Taharn Pran Paramilitary Unit 41, stationed in Thailand’s deep South, Yala province, by requesting an investigation into an allegation of physical assault.

The ICJ, Human Rights Watch and Amnesty International are calling for the immediate withdrawal of the complaint.

The complaint arises out of an open letter that Pornpen Khongkachonkiet wrote on 2 May 2014 to the Commander of Internal Operations Security Command (ISOC) in Region 4, responsible for Thailand’s southern border provinces. In the letter, she requested an investigation into allegations that military personnel had seriously beaten a man while arresting him in April 2014.  She asserted that if the allegations were true, it would be a violation of Thai law and the Convention against Torture, to which Thailand is a party. 

On 8 May 2014, ISOC, the Royal Thai Police, Taharn Pran Paramilitary Unit 41, and others including the doctor who examined the victim of the alleged assault, issued a press release, stating that an investigation had been carried out which had found that the allegation of assault was untrue.  The press release went on to say that CrCF should be responsible for intentionally distorting the truth and spreading false statements to the public.

This case is the second instance in the past 12 months of the Thai armed forces misusing the criminal justice system to intimidate human rights defenders working to monitor and document human rights violations.  In December 2013, the Royal Thai Navy lodged a criminal complaint against the editors of a Thai news website, Phuketwan, accusing them of criminal defamation and of violating Thailand’s Computer Crimes Act (CCA) for reproducing portions of a Pulitzer Prize-winning article written by the Reuters news agency concerning the alleged smuggling and trafficking of Rohingya people, an ethnic minority group in Myanmar facing systemic discrimination and violence.

The criminal complaint against Pornpen Khongkachonkiet and CrCF constitutes an attack on their work as human rights defenders and poses a serious threat to the exercise of their right to freedom of expression. 

In addition, the criminal complaint undermines the right of the victim of the alleged ill-treatment to a prompt, independent and impartial investigation into his case, without intimidation, as guaranteed under international law, including human rights treaties to which Thailand is party.  

CrCF is a non-profit, non-governmental, foundation founded in 2002 that has dedicated significant resources to the deep South of Thailand since 2004, including by monitoring and documenting allegations of torture and other ill-treatment, and other serious human rights violations. Pornpen Khongkachonkiet is also a member of the board of Amnesty International Thailand.

ICJ, Human Rights Watch and Amnesty International said that the authorities in Thailand have an obligation to ensure that all persons and organizations engaged in the protection and promotion of human rights are able to work in a safe and enabling environment.

Background

The right to file complaints about torture and other ill-treatment and to have the complaint promptly and impartially investigated is guaranteed under international treaties to which Thailand is party, including the Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment and the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR).

Thailand was criticized in May 2014 for its failure to respect this right when the United Nations Committee Against Torture expressed its concern “at the numerous and consistent allegations of serious acts of reprisals and threats against human rights defenders, journalists, community leaders and their relatives, including verbal and physical attacks, enforced disappearances and extrajudicial killings, as well as by the lack of information provided on any investigations into such allegations.”

The Committee recommended that Thailand “should take all the necessary measures to: (a) put an immediate halt to harassment and attacks against human rights defenders, journalists and community leaders; and (b) systematically investigate all reported instances of intimidation, harassment and attacks with a view to prosecuting and punishing perpetrators, and guarantee effective remedies to victims and their families.”

Furthermore, Article 1 of the UN Declaration on Human Rights Defenders, which articulates universal standards for the protection of those working to protect human rights, affirms that “everyone has the right, individually and in association with others, to promote and to strive for the protection and realization of human rights and fundamental freedoms at the national and international levels.”

The ICCPR guarantees under Article 19 the right to freedom of expression, which includes the right to impart information.  The UN Human Rights Committee, which monitors state compliance with the ICCPR, has expressed its concern at the misuse of defamation laws to criminalize freedom of expression and has said that such laws should never be used when expression is made without malice and in the public interest.

Contacts:

International Commission of Jurists

Ian Seiderman, ICJ Legal and Policy Director, Geneva Office, t + 41 22 979 3837, e-mail: ian.seiderman(at)icj.org

Human Rights Watch

In San Francisco, Brad Adams (English): +1-347-463-3531 (mobile); or adamsb@hrw.org

In Washington, DC, John Sifton (English): +1-646-479-2499 (mobile); or siftonj@hrw.org           

Amnesty International

In London, Richard Bennett, Asia-Pacific Director: +44 7432 633 679

(mobile); or richard.bennett@amnesty.org

เอกสารที่เกี่ยวข้อง: 

ป้ายคำ: 

  • ICJ
  • Human Rights Watch
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
  • มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  • นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน