Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้ชี้การใช้กฎหมายว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถมากขึ้น ยิ่งส่งเสริมบรรยากาศที่กดขี่ปราบปรามในมาเลเซีย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
themalaysianinsider.com

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

แถลงการณ์

4 กันยายน 2557

Index: ASA 28/008/2014

แอมเนสตี้ชี้การใช้กฎหมายว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถมากขึ้น ยิ่งส่งเสริมบรรยากาศที่กดขี่ปราบปรามในมาเลเซีย

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องทางการมาเลเซียต้องยุติการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถที่ถูกใช้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ในการเอาผิดทางอาญากับนักกิจกรรม นักการเมืองฝ่ายค้าน สื่อมวลชน นักศึกษาและนักวิชาการ การใช้กฎหมายดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพื่อปราบปรามการแสดงความเห็นทางการเมือง ศาสนา และอื่น ๆ ของบุคคล ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประเทศ

                เฉพาะเมื่อเดือนที่แล้ว มีการตั้งข้อหาหรือดำเนินการสอบสวนบุคคลอย่างน้อยเจ็ดคน เนื่องจากการแสดงความเห็นหรือคำพูดที่ถือว่าเป็น “การยุยงปลุกปั่น” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถ ประกอบด้วยนักการเมืองฝ่ายค้านห้าคน ผู้สื่อข่าวและนักวิชาการอย่างละหนึ่งคน เฉพาะในปี 2557 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีข้อมูลว่ามีบุคคลอย่างน้อย 15 คนที่ถูกตั้งข้อหาหรือถูกสอบสวนตามกฎหมายดังกล่าว

                เมื่อวันที่ 4 กันยายน ซูซาน ลุน (Susan Loone) ผู้สื่อข่าวซึ่งทำงานให้กับ Malaysiakini สำนักข่าวอิสระเป็นบุคคลล่าสุดที่ถูกจับกุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถในรัฐปีนัง การจับกุมเธอเป็นผลมาจากบทความที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 1 กันยายน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นการดูหมิ่นตำรวจ เนื้อหาในบทความเกี่ยวข้องกับบทสัมภาษณ์พีบุนโปะ (Phee Boon Poh) ประธาน Penang Voluntary Patrol Unit (PPS) ซึ่งอ้างว่าเขา “ถูกปฏิบัติเหมือนเป็นอาชญากร” หลังถูกตำรวจจับเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม

                วันที่ 3 กันยายน หนึ่งวันก่อนที่เธอจะถูกจับกุม เดวิด โอร็อค (David Orok) นักการเมืองฝ่ายค้านก็ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น เนื่องจากคำพูดที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาอิสลามและศาสดามูฮัมหมัดจากข้อความที่เขาเขียนในสื่อสังคมออนไลน์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน  2557 นักการเมืองฝ่ายค้านคนอื่น ๆ ก็ถูกตั้งข้อหาในเดือนสิงหาคมเช่นกัน รวมทั้งราฟีซี รามิล (Rafizi Ramli) คาลิด ซามัด (Khalid Samad) และเอ็น สุเรนทราน (N. Surendran) รวมทั้ง RSN Rayer สมาชิกสภาแห่งรัฐปีนัง ดูเหมือนว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้มีแรงจูงใจทางการเมือง

                วันที่ 2 กันยายน ดร.อัซมี ชารอม (Azmi Sharom) นักวิชาการจาก University of Malaya ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นเนื่องจากคำพูดที่โยงไปถึงวิกฤตการเมืองในรัฐเปรักเมื่อปี 2552 ที่มีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เขาเป็นนักวิชาการคนแรกที่ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นในช่วงที่มีการจับกุมหลายครั้งที่ผ่านมา

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่าการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถเพิ่มมากขึ้นเพื่อปราบปรามความเห็นและการแสดงออกของนักการเมืองฝ่ายค้านและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่เพียงแสดงความเห็นในประเด็นต่าง ๆ ยิ่งส่งเสริมบรรยากาศที่กดขี่ปราบปรามในมาเลเซีย

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเคยแสดงข้อกังวลเป็นเวลานานแล้วเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถ พ.ศ. 2491 อันเป็นมรดกมาจากยุคอาณานิคมอังกฤษ และได้ถูกใช้เพื่อปราบปรามความเห็นต่างและเอาผิดกับนักกิจกรรมและฝ่ายค้านอย่างสงบ กฎหมายดังกล่าวให้อำนาจเอาผิดกับการกระทำหลายประการ รวมทั้งการกระทำใด ๆ ที่ “มีลักษณะยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องต่อผู้ปกครองหรือรัฐบาล” หรือเป็นเหตุให้ “ตั้งคำถามในประเด็นใด ๆ” ทั้ง ๆ ที่เป็นการกระทำที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ หากศาลพบว่ามีความผิดอาจเป็นเหตุให้ถูกจำคุกเป็นเวลาสามปี และถูกปรับเป็นเงินมากถึง 5,000 ริงกิต (ประมาณ 50,400 บาท) เป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกที่มีการรับรองในข้อ 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights - UDHR) รวมทั้งมาตรา 10 ของรัฐธรรมนูญแห่งมาเลเซีย  

                ในปี 2555 นายกฯ นาจิบ ตุน ราซะก์ (Najib Tun Razak) แสดงเจตจำนงที่จะยกเลิกกฎหมายที่กดขี่ เขาระบุว่ากฎหมายดังกล่าวเป็นตัวแทนของ “ยุคที่ผ่านพ้นไปแล้ว” สองปีต่อมา ยังไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวแต่อย่างใด แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องนายกฯ นาจิบ ตุน ราซะก์ให้ปฏิบัติตามคำสัญญาที่จะยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถ และให้ยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งปวงที่มีต่อผู้ที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบที่ถูกตั้งข้อหาในขณะนี้

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเน้นย้ำข้อเรียกร้องที่มีมาตลอดให้ทางการมาเลเซียให้สัตยาบันรับรองกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Civil Political Rights - ICCPR) โดยเร็วสุดเท่าที่เป็นไปได้ และให้นำเนื้อหาของกติกาดังกล่าวมาผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในประเทศ และให้นำมาบังคับใช้ในนโยบายและการปฏิบัติ

ข้อมูลเพิ่มเติม

                นายเทียนฉั่ว (Tian Chua) สส.จากพรรค People’s Justice Party (PKR) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้ถูกสอบสวนสองครั้งจากคำพูดที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการยุยงปลุกปั่น โดยเป็นผลจากการบรรยายต่อสาธารณะของเขาเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2557 และการทวีตข้อความในช่วงที่ศาลตัดสินลงโทษนายอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) ในข้อหา “วิตถารทางเพศ” เมื่อวันที่ 7 มีนาคม

                ในวันที่ 6 พฤษภาคม เทเรซา ก๊อก (Teresa Kok) สมาชิกรัฐสภาจากพรรค Democratic Action Party (DAP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านถูกตั้งข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถ เนื่องจากวีดิโอในช่วงตรุษจีนซึ่งมีหัวข้อว่า “Onederful Malaysia” ซึ่งเป็นการล้อเลียนแนวคิดเรื่อง “1Malaysia” ของนายกฯ มาเลเซีย

                เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม อับดุลเลาะห์ ซาอิก อับดุลเราะห์มาน (Abdullah Zaik Abdul Rahman) ประธานกลุ่ม Ikatan Muslimin Malaysia (ISMA) ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นจากการกล่าวหาว่าชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนเป็น “ผู้รุกราน” 

                ในวันที่ 14 พฤษภาคม ราฟีซี รามาลี (Rafizi Ramli) สส.พรรค PKR ถูกสอบสวนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถ จากคำพูดของเขาในหนังสือเกี่ยวกับความเป็นมาของการไต่สวนคดี “วิตถารทางเพศ” ต่อนายอันวาร์ อิบราฮิมซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายค้าน

                ในวันที่ 18 มิถุนายน RSN Rayer สส.จากพรรค DAP ถูกจับกุมและตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นจากคำพูดที่ว่า “UMNO Celaka” (Damn UMNO) ในระหว่างการประชุมสภาของรัฐ UMNO (the United Malays National Organisation) เป็นพรรคการเมืองใหญ่สุดในพรรครัฐบาล Barisan Nasional (BN)  

                ในวันที่ 26 มิถุนายน คาลิด ซามัด สมาชิกรัฐสภาจากพรรค Pan- Malaysia Islamic Party (PAS) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านถูกตั้งข้อหาจากการพูดพาดพิงสุลต่านของรัฐเซลังงอร์ และสภากิจการอิสลามแห่งรัฐเซลังงอร์ (Selangor Islamic Affairs)

                ในวันที่ 20 มิถุนายน โฆปินาท จายารัตนัม (Gopinath Jayaratnam) และหิดายัต มูฮัมหมัด (Hidayat Muhamad) เน็ตติเซ็นสองคนถูกตั้งข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถจากการแสดงความเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ โฆปินาทถูกกล่าวหาว่าดูหมิ่นศาสนิกของอิสลาม ส่วนหิดายัตถูกกล่าวหาว่าดูหมิ่นผู้นับถือศาสนาฮินดู

                ในเดือนสิงหาคม มีรายงานว่านักเรียนอายุ 15 ปีถูกสอบสวนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถ เนื่องจากไปคลิก “like” ในหน้า Facebook ที่มีชื่อว่า “I Love Israel”

เอกสารที่เกี่ยวข้อง: 

ป้ายคำ: 

  • สิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเอตร์เนชั่นแนล
  • เสรีภาพในการแสดงออก
  • ขบถ
  • กฎหมายว่าด้วยการกระทำอันเป็นขบถ