Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แถลงการณ์แอมเนสตี้เนื่องในวันยุติโทษประหารชีวิตสากล 10 ตุลาคม 2557

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
Anesty International

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

แถลงการณ์

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม 2557 เนื่องในวันยุติโทษประหารชีวิตสากล

โทษประหารชีวิต: ประเทศต่าง ๆ ยังคงประหารชีวิตผู้มีความบกพร่องด้านจิตใจและสติปัญญา

เนื่องในโอกาสวันยุติโทษประหารชีวิตสากล (World Day against the Death Penalty) 10 ตุลาคม 2557 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยว่า ประเทศต่าง ๆ ยังคงตัดสินให้ประหารชีวิตหรือมีการประหารชีวิตผู้มีความบกพร่องด้านจิตใจและสติปัญญา ซึ่งเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อมาตรฐานระหว่างประเทศ      

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเก็บข้อมูลบุคคลที่มีอาการพิการดังกล่าว แต่ต้องถูกประหารชีวิตหรือกำลังจะถูกประหารชีวิตในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งญี่ปุ่น ปากีสถาน และสหรัฐฯ หากประเทศเหล่านี้ไม่ปฏิรูประบบยุติธรรมทางอาญาอย่างเร่งด่วน จะมีคนอีกจำนวนมากที่ได้รับความเสี่ยงเช่นนี้

ออเดรย์ โกห์ราน (Audrey Gaughran) ผู้อำนวยการงานรณรงค์ประเด็นสากล แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า มาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดให้อาการบกพร่องทางจิตใจและสติปัญญาเป็นหลักเกณฑ์สำคัญเพื่อคุ้มครองสิทธิของกลุ่มผู้อ่อนแอ ไม่ได้เป็นการสนับสนุนให้พวกเขาพ้นจากความผิดเนื่องจากอาชญากรรมร้ายแรง แต่เป็นหลักเกณฑ์กำกับว่าการลงโทษแบบใดเป็นสิ่งที่พึงกระทำ”

“เราคัดค้านโทษประหารชีวิตในทุกพฤติการณ์ โดยถือเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตรอด และเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีมากสุด แต่ในประเทศเหล่านี้ยังคงมีการประหารชีวิต ทั้ง ๆ ที่มาตรฐานระหว่างประเทศรวมทั้งข้อห้ามต่อการใช้โทษประหารชีวิตสำหรับประชากรที่อ่อนแอบางกลุ่ม เป็นหลักเกณฑ์ที่ต้องได้รับการเคารพและปฏิบัติตาม จนกว่าจะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยสิ้นเชิง”

เนื่องในวันยุติโทษประหารสากลปีนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและพันธมิตรสากลเพื่อต่อต้านโทษประหารชีวิต  (World Coalition against the Death Penalty) เน้นให้เห็นปัญหาของโทษประหารชีวิตกับผู้มีความบกพร่องด้านจิตใจและสติปัญญา

“มาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดอย่างชัดเจนว่า ผู้มีอาการบกพร่องทางจิตใจและสติปัญญา ไม่ควรได้รับการลงโทษขั้นสูงสุด แต่ในหลายคดี กลับไม่มีการค้นพบอาการบกพร่องดังกล่าวในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาทางอาญา”

“ประเทศต่าง ๆ ที่ยังคงประหารชีวิตบุคคล ต้องประกันให้มีทรัพยากรเพื่อการประเมินอย่างเป็นอิสระและอย่างจริงจัง กรณีบุคคลที่ต้องโทษประหาร ตั้งแต่ในช่วงที่มีการตั้งข้อกล่าวหาไปจนถึงภายหลังมีคำตัดสิน”

“เรากระตุ้นรัฐบาลทุกประเทศที่ยังคงใช้โทษประหาร ให้ทำข้อตกลงชั่วคราวเพื่อยุติการประหารชีวิตโดยทันที โดยถือเป็นขั้นตอนแรกก่อนยกเลิกโทษประหาร สิ่งที่เราเน้นย้ำในวันนี้ เป็นเพียงอีกตัวอย่างหนึ่งของความอยุติธรรมของโทษชนิดนี้”  ออเดรย์ โกห์รานกล่าว

                ตัวอย่างที่ชัดเจนของการใช้โทษประหารชีวิตกับผู้มีความบกพร่องด้านจิตใจและสติปัญญา:

  • ในสหรัฐฯ อัสการี อับดุลเลาะห์ มูฮัมหมัด,( Askari Abdullah Muhammad) ถูกประหารชีวิตที่รัฐฟลอริด้าเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 สำหรับความผิดฐานฆ่าคนตายในเรือนจำเมื่อปี 2523 ก่อนหน้านั้นเขามีอาการทางจิตรุนแรงเป็นเวลานาน รวมทั้งการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (paranoid schizophrenia) ในวันที่ 9 เมษายน โรมิโร แฮร์นันเดซ ลานาส (Ramiro Hernandez Llanas) ถูกประหารในรัฐเท็กซัส แม้มีพยานหลักฐานบ่งบอกว่าเขามีความบกพร่องด้านสติปัญญา เนื่องจากผลทดสอบไอคิวหกครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ถือว่าคำสั่งประหารชีวิตเขาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ที่รัฐฟลอริด้า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเน้นคดีของนักโทษประหารสองคดีได้แก่ กรณีแฟรงก์ วอลส์ (Frank Walls) และไมเคิล แซค (Michael Zack) ทั้งคู่ต่างมีประวัติอาการทางจิตรุนแรง และที่ผ่านมาใช้สิทธิการอุทธรณ์คดีจนหมดแล้ว
  • ในญี่ปุ่น มีการประหารชีวิตนักโทษหลายคนที่มีอาการทางจิต ส่วนคนอื่น ๆ ยังอยู่ในแดนประหาร ฮากามาดะ อิวาโอะ (Hakamada Iwao) ซึ่งปัจจุบันอายุ 78 ปี ถูกศาลลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่าคนตาย โดยเป็นผลมาจากการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมเมื่อปี 2511 และถือเป็นนักโทษประหารที่ใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำนานที่สุดในโลก เขามีอาการทางจิตรุนแรงในช่วงหลายทศวรรษที่ถูกขังเดี่ยว เขาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อเดือนมีนาคม 2557 ระหว่างรอที่จะมีการไต่สวนคดีใหม่ มัสสุโมโตะ เคนจิ (Matusmoto Kenji) เป็นนักโทษประหารข้อหาฆ่าคนตายตั้งแต่ปี 2536 และอาจถูกประหารชีวิตได้ในทุกขณะ เขามีอาการทางจิตโดยเป็นผลมาจากพิษของสารปรอท (โรคมินามาตะ) และมีรายงานว่าเกิดสภาวะหวาดระแวงและพูดไม่ปะติดปะต่อ โดยเป็นผลมาจากอาการทางจิตที่เกิดขึ้นระหว่างถูกควบคุมตัวในแดนประหาร ในขณะที่ทนายความของเขาพยายามเสนอต่อศาลให้มีการไต่สวนคดีใหม่
  • ในปากีสถาน มูฮัมหมัด อัสฆาร์ (Mohammad Asghar) ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคจิตเภทและมีสภาวะระแวงในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2553 และต่อมาย้ายไปอยู่ที่ปากีสถาน ถูกศาลที่นั่นตัดสินประหารชีวิตในข้อหาหมิ่นศาสนาเมื่อปี 2557

 

 

 

ป้ายคำ: 

  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • วันยุติโทษประหารชีวิตสากล
  • มาตรฐานระหว่างประเทศ
  • การละเมิดสิทธิมนุษยชน