Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ข่าวดีและข่าวร้ายเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตในปี 2557

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
© Orla 2011/Shutterstock.com

ข่าวดีและข่าวร้ายเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตในปลายปี 2557

Chiara Sangiorgio ผู้เชี่ยวชาญด้านโทษประหารชีวิต แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

                สำหรับพวกเราที่รณรงค์อย่างเข้มแข็งเพื่อให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งเป็นการลงโทษที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรมมากสุด หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาในช่วงเดือนธันวาคม 2557 เป็นช่วงพลิกผันเต็มไปด้วยข่าวดีและข่าวร้าย

                นับแต่วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม  มีผู้ถูกประหารชีวิตหกคนในปากีสถาน และวันที่ 22 ธันวาคม รัฐบาลส่งสัญญาณว่าอาจประหารชีวิตอีกกว่า 500 คน หลังจากเพิ่งยกเลิกความตกลงยุติการใช้โทษประหารชั่วคราวเป็นเวลาสองปี รัฐบาลอ้างว่าต้องสนับสนุนการประหารชีวิต เพื่อตอบโต้กับการโจมตีโรงเรียนของกองทัพบกในกรุงเปชวาร์ ซึ่งทารุณโหดร้ายมาก ส่งผลให้มีผู้ถูกสังหารอย่างน้อย 142 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเด็ก 132 คน

                แม้ว่าปรกติกลุ่มฏอลีบันจะกระทำการอันโหดร้ายแล้ว ปฏิบัติการครั้งนี้ของพวกเขายิ่งทำให้เห็นรูปแบบความโหดร้ายที่รุนแรงมากเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี การตอบโต้ของรัฐบาลปากีสถานเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและอันตราย เป็นการพิสูจน์เพียงว่าคุณแสดงท่าทีที่แข็งกร้าวต่ออาชญากรรม แม้ว่าการสังหารคนเพิ่มเติมจะไม่ได้เป็นคำตอบและไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความรุนแรง

                เป็นสภาพการณ์ที่น่าหดหู่อย่างยิ่ง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและอีกหลายหน่วยงานต่างเรียกร้องให้ยุติแผนการเหล่านี้โดยทันที ปากีสถานควรหันมาใส่ใจต่อการคุ้มครองที่เข้มแข็งมากขึ้นสำหรับพลเรือน ซึ่งอาศัยอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ และต้องเผชิญกับความรุนแรงทุกเมื่อเชื่อวัน

                เป็นเรื่องน่าขันที่การปฏิบัติของรัฐบาลปากีสถานสวนทางกับกระแสโลก เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในวันที่ 19 ธันวาคม มีเหตุการณ์ที่ควรค่าแก่การเฉลิมฉลอง กล่าวคือ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่กรุงนิวยอร์กลงคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น ผ่านมติเรียกร้องให้มีความตกลงชั่วคราวระดับโลกเพื่อยุติการประหารชีวิต โดยเป็นก้าวย่างแรกที่นำไปสู่การยกเลิกโทษประหาร

                นับเป็นครั้งที่ห้าตั้งแต่ปี 2550 ที่มีการลงมติในลักษณะเช่นนี้ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และจำนวนประเทศที่ลงคะแนนเสียงสนับสนุนในปีนี้มากเป็นประวัติการณ์ 117 จาก 193 รัฐภาคีขององค์การสหประชาชาติ

                แม้ว่ามติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย แต่มีน้ำหนักทางศีลธรรมและการเมืองเป็นอย่างยิ่ง คะแนนเสียงเหล่านี้ยืนยันสิ่งที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและหน่วยงานอื่น ๆ ประกาศมาเป็นเวลานานว่า โทษประหารชีวิตเป็นเรื่องของอดีต และมีเพียงไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่ยังประหารชีวิตบุคคล พวกเขากลายเป็นประเทศกลุ่มน้อยที่โดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

                แม้คนทั้งโลกจะสนับสนุนทิศทางนี้อย่างท่วมท้น แต่ปากีสถานก็ไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่ไม่ได้รับทราบความจริงข้อนี้

                21 ธันวาคม 2557 มีข่าวที่น่าตกใจจากจอร์แดน กล่าวคือรัฐบาลได้ประหารชีวิตจำเลยที่ถูกลงโทษในคดีฆ่าคนตาย 11 คนโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกในประเทศ นับแต่มีการใช้ข้อตกลงชั่วคราวเพื่อยุติโทษประหารชีวิตเมื่อแปดปีก่อน

                เรากำลังทำใจกับข่าวร้ายที่อาจมีเพิ่มขึ้นก่อนสิ้นปี ที่อินโดนีเซีย ประธานาธิบดีโจโค “โจโควี” วิโดโด ได้ปฏิเสธคำขออภัยโทษจากนักโทษประหารหลายคน และคาดว่าจะมีการประหารชีวิตบุคคลหกคนโดยเร็ว มีอยู่สี่คนที่ต้องโทษในคดียาเสพติด เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังถึงสองชั้นเนื่องจากโจโควีเข้าดำรงตำแหน่งภายหลังการรณรงค์หาเสียง ซึ่งเขาสัญญาว่าจะให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนเป็นอันดับแรก

                ในทำนองเดียวกัน คาดว่าจะมีการประหารชีวิตบุคคลเพิ่มเติมก่อนสิ้นปีนี้ในญี่ปุ่น และเรายังได้ยินเสียงที่น่ากังวลจากประเทศตรินิแดตและโตเบโก เนื่องจากมีรายงานข่าวว่านายกรัฐมนตรีคัมลา เพอสาด-บีเซซาร์ (Kamla Persad-Bissessar) กำลังผ่านร่างกฎหมายใหม่เพื่อรื้อฟื้นการประหารชีวิต ซึ่งเธอเชื่อว่าจะช่วยลดอัตราการฆ่าคนตายได้

                พัฒนาการล่าสุดเหล่านี้เป็นเรื่องน่ากังวล และทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจหลายประการ สิ่งที่เราเห็นในช่วงสิ้นปีเป็นรูปแบบของทฤษฎีโดมิโนในแง่โทษประหารชีวิต กล่าวคือการประหารชีวิตในประเทศหนึ่งทำให้ประเทศอื่น ๆ รู้สึกโอเคที่จะทำตามหรือไม่? หรือว่าโทษประหารชีวิตเป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่ทางการจะแสดงความเข้มแข็งของเขาต่อหน้าประชาชนซึ่งประหลาดใจที่ทางการไม่สามารถจัดการกับอาชญากรรมเหล่านี้ และฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบในประเทศตนเองได้? หรือว่ารัฐบาลกำลังเอาชีวิตคนไปเล่นเป็นประเด็นการเมือง?

                รัฐบาลทั่วโลกต้องตระหนักว่า มีเหตุผลบางประการที่ทำให้มีประเทศเพียงไม่กี่แห่งทั่วโลกที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต ไม่มีหลักฐานเลยว่าโทษประหารชีวิตจะมีผลในเชิงป้องปรามการก่ออาชญากรรม และในขั้นพื้นฐานแล้ว โทษประหารชีวิตยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จะมีชีวิตรอด เป็นสิ่งที่ทารุณกับเราทุกคน และเราควรร่วมมือกันทำงานเพื่อออกแบบและสนับสนุนให้เกิดสังคมที่ปลอดภัยมากขึ้นและเคารพซึ่งสิทธิ

                โชคดีที่ไม่ได้มีแต่ข่าวร้าย นอกจากการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติแล้ว ยังมีความหวังที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม รัฐสภาของมาดากัสการ์ลงมติรับรองร่างกฎหมายเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิต และคาดว่าประธานาธิบดีจะลงนามเป็นกฎหมายบังคับใช้เร็ว ๆ นี้ และในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ระดับสูงแสดงท่าทีเมื่อปลายเดือนธันาวาคมว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างเตรียมพร้อมจะยกเลิกโทษประหารชีวิต และถึงที่สุดแล้ว ภาพใหญ่ที่เป็นอยู่มีความชัดเจนอย่างยิ่ง เมื่อปีที่แล้ว มีเพียง 22 จาก 198 ประเทศทั่วโลกที่ยังคงประหารชีวิตบุคคล และมี 140 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้วทั้งในทางนิตินัยหรือพฤตินัย

                เป็นความหวังให้กับพวกเราหลายคนที่รณรงค์เพื่อให้ยุติการสังหารที่รัฐสนับสนุน เราหวังว่าในปีหน้า เราจะได้มีโอกาสพิจารณาข่าวดีมากขึ้น 

Good news and bad news on the death penalty as 2014 draws to a close

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • สิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล