Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

การสังหารนักบินจอร์แดนเป็นเรื่อง “น่าชิงชังรังเกียจ” แต่การแก้แค้นด้วยการประหารชีวิตไม่ใช่คำตอบ

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
Activists carry posters with a portrait of the Jordanian pilot Maaz al-Kassasbeh.© KHALIL MAZRAAWI/AFP/Getty Images

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล                    

แถลงการณ์ (คำแปล)                                    

4 กุมภาพันธ์ 2558   

การสังหารนักบินจอร์แดนเป็นเรื่อง “น่าชิงชังรังเกียจ” แต่การแก้แค้นด้วยการประหารชีวิตไม่เป็นคำตอบ

การที่กลุ่มติดอาวุธซึ่งเรียกตัวเองว่า Islamic State (IS) สังหารนักบินจอร์แดนอย่างรวบรัดและเลวร้าย โดยการเผาทั้งเป็น นับเป็นการโจมตีต่อมนุษยธรรมอย่างโหดร้าย แต่การตอบโต้ด้วยการประหารชีวิตไม่เป็นคำตอบ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว 

ในวีดิโอซึ่งแสดงภาพของนักบินจอร์แดน มัวซ์ อัล คาเซเบห์ (Muath al-Kasasbeh) ขณะถูกเผาทั้งที่มีชีวิตอยู่ในกรง ทำให้เกิดความตกใจไปทั่วโลก และเมื่อรุ่งเช้าวันนี้ ทางการจอร์แดนได้ทำการประหารซาจิดา อัลริชาวี (Sajida al-Rishawi) และซิอัด คาร์บูลี (Ziad Karbouli) นักโทษชาวอิรักสองคนที่มีส่วนเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลเคด้า ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้แค้นต่อการสังหารนักบินของตน

“การสังหาร มัวซ์ อัล คาเซเบห์ เป็นเรื่อวน่าชิงชังรังเกียจ เป็นอาชญากรรมสงคราม และเป็นการโจมตีที่โหดร้ายต่อหลักการพื้นฐานสุดของความเป็นมนุษย์” ฟิลิป ลูเธอร์ ผู้อำนวยการแผนกตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว

“สมควรแล้วที่ทางการจอร์แดนจะรู้สึกตกใจกับการสังหารที่โหดร้ายเช่นนี้ แต่ไม่ควรตอบโต้ด้วยการใช้โทษประหาร ซึ่งโดยตัวของมันเองโทษประหารก็เป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ไม่ควรมีการนำโทษประหารมาใช้เป็นเครื่องมือในการล้างแค้น และเราต้องไม่ปล่อยให้ยุทธวิธีที่น่าสะพรึงกลัวของกลุ่ม IS ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อกระตุ้นวงจรการประหารชีวิตเพื่อตอบโต้”

ตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การจับตัวประกันถือเป็นอาชญากรรมสงครามและผู้ถูกควบคุมตัวทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมโดยผู้จับกุม

“การสังหาร มัวซ์ อัล คาเซเบห์ ในขณะที่เขาถูกขังในกรงด้วยสภาพที่โหดร้ายและเตรียมการมาอย่างดี สะท้อนถึงความป่าเถื่อนของกลุ่มอย่าง IS ที่กระทำได้” ฟิลิป ลูเธอร์กล่าว

หนึ่งในนักโทษที่ถูกทางการจอร์แดนประหารในวันนี้ได้แก่ ซาจิดา อัลริชาวี ซึ่งถูกศาลตัดสินประหารชีวิตจากการมีส่วนร่วมในการวางระเบิดที่กุรงอัมมันเมื่อปี 2548 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 60 คน ทนายความของเธอเคยขอให้มีการทดสอบด้านจิตเวชเพื่อประเมินว่าเธอมีความพร้อมทางจิตใจที่จะเข้ารับการไต่สวนหรือไม่ แต่ศาลปฏิเสธไม่ยอมให้มีการตรวจสอบดังกล่าว

ตามรายงานของผู้รายงานพิเศษด้านการทรมานแห่งสหประชาชาติที่จัดทำขึ้นภายหลังการไปเยือนประเทศจอร์แดนเมื่อปี 2549 ระบุว่า นักโทษคนนี้ถูกทรมานระหว่างการสอบปากคำเป็นเวลากว่าหนึ่งเดือน โดยหน่วยข่าวกรองของจอร์แดน (General Intelligence Department - GID)

ซิอัด คาร์บูลี เป็นนักโทษคนที่สองที่ถูกประหารในเช้าวันนี้ (4 กพ.) เขาถูกศาลตัดสินลงโทษในข้อหาเป็นสมาชิกของกลุ่มผิดกฎหมาย ข้อหาครอบครองวัตถุระเบิดอันเป็นเหตุให้มีบุคคลเสียชีวิตและข้อหาฆาตกรรม ทนายความของเขาแจ้งต่อแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า เขาถูกบังคับให้รับสารภาพ

หลังหยุดการประหารชีวิตไป 8 ปี จอร์แดนเริ่มใช้โทษประหารใหม่อีกครั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2557 โดยมีการประหารชีวิตชาย 11 คน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้จอร์แดนจัดทำข้อตกลงชั่วคราวเพื่อยุติการประหารชีวิตโดยทันที ทั้งนี้เพื่อมุ่งไปสู่การยกเลิกโทษประหารในที่สุด

มัวซ์ อัล คาเซเบห์ เป็นนักบินของเครื่องบินรบในกองทัพอากาศจอร์แดน เขาถูกจับระหว่างที่เครื่องบินตกใกล้กับกรุงราฆา ประเทศซีเรีย ระหว่างปฏิบัติการต่อต้านกลุ่ม IS ในเดือนธันวาคม 2557

กลุ่ม IS ได้สังหารผู้ที่ถูกจับกุมในปีที่แล้วไปหลายสิบคน รวมทั้งการสังหารเคนจิ โกโตะ (Kenji Goto) นักข่าวญี่ปุ่นและฮารูนะ ยูกาวา (Haruna Yukawa) ตัวประกันชาวญี่ปุ่นอีกคนหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้ IS ยุติการสังหารแบบรวบรัด และยุติการลักพาตัวและการจับเป็นตัวประกัน

เอกสารสาธารณะ

****************************************

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ สำนักประชาสัมพันธ์แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงลอนดอนโทรศัพท์ +44 20 7413 5566 หรืออีเมล์: press@amnesty.org

For English>>Killing of Jordanian pilot ‘abhorrent’ but ‘revenge executions’ not the answer

ป้ายคำ: 

  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • สิทธิมนุษยชน
  • ยกเลิกโทษประหารชีวิต