Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโสแอมเนสตี้สังเกตการณ์การพิจารณาคดีในศาลทหาร

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
มติชนออนไลน์

ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโสแอมเนสตี้สังเกตการณ์การพิจารณาคดีในศาลทหาร

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ขอชี้แจงกรณีที่นายยูวาล จินบาร์ ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส สำนักเลขาธิการระหว่างประเทศ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เดินทางไปสังเกตการณ์การพิจารณาคดีของนายจาตุรนต์ ฉายแสง เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมานั้น

นายยูวาล จินบาร์ ได้เดินทางไปสังเกตการณ์การพิจารณาคดีด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระ และไม่สังกัดกับคู่ความฝ่ายใด จุดประสงค์ของการสังเกตการณ์คือเพื่อสังเกตและเก็บข้อมูลเรื่องความเป็นธรรมของการพิจารณาคดีภายใต้การพิจารณาคดีของศาลทหาร กรมพระธรรมนูญ ว่าสอดคล้องกับมาตรฐานและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหรือไม่

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นองค์กรอิสระที่ไม่ฝักใฝ่อุดมการณ์ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจใดๆ และทำงานเพื่อพัฒนากระบวนการสิทธิมนุษยชน เพื่อทำให้หลักการสิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพและคุ้มครองตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ปัจจุบันแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีสมาชิกและผู้สนับสนุนมากกว่า 7 ล้านคนใน 150 ประเทศทั่วโลก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

14 กุมภาพันธ์ 2558

*************************

แอมเนสตี้ ระบุ กระบวนการยุติธรรมของไทย ไม่เป็นไปตามหลักสากล ชี้ จาตุรนต์ ไม่ควรขึ้นศาลทหาร 

นายยูวาล์ จินบาร์ ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโสของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ให้สัมภาษณ์หลังจากติดตามสังเกตุการณ์การเดินทางมารับฟังข้อกล่าวหาของนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ศาลทหารเมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 ว่า ตนมีความเคารพต่อศาลทหารอย่างมาก แต่กรณีของนายจาตุรนต์ ซึ่งเป็นพลเรือน ไม่ควรถูกพิจารณาในศาลทหาร ผู้พิพากษาศาลทหารและศาลทหารควรมีไว้เพื่อดำเนินคดีกับทหารเท่านั้น การประท้วงโดยพลเรือนและการประท้วงอย่างปราศจากความรุนแรงโดยพลเรือน ไม่ควรเป็นคดีความภายใต้อำนาจของศาลทหารอย่างเด็ดขาด

นายจินบาร์ กล่าวว่า ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายระหว่างประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีร่วมกับรัฐบาลนานาชาติที่มีภาระผูกพันต่อหลักสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมืองของประชาชนดังนั้นแม้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวรัฐบาลชุดปัจจุบันก็ยังคงมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพสิทธิของประชาชนใน การได้รับพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

"โชคร้ายยิ่งนักที่สิทธิบางส่วน ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลชุดปัจจุบันเนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินทางทหาร โดยเฉพาะสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินของศาลซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนที่จำ เป็นยิ่งต่อมนุษย์ทุกคนที่ต้องเข้ารับการพิจารณาคดีกลับเป็นสิทธิที่ไม่ได้ รับความเคารพในประเทศไทย"

นายจินบาร์ย้ำว่าแอมเนสตี้เห็นว่าเรื่อง นี้เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมและขัดต่อหลักกฎหมาย แม้การใช้อำนาจพิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ยินยอมได้ แต่จะทำได้ก็เฉพาะเมื่อสถานการณ์บังคับที่จำเป็นเท่านั้น เช่น เกิดเหตุน้ำท่วมแล้วต้องอพยพผู้คนออกจากบ้านเรือน แต่จะเอาเรื่องความมั่นคงของราชอาณาจักรมาเป็นเหตุปฏิเสธสิทธิในการอุทธรณ์ ของประชาชนทั้งๆที่ตนอาจตัดสินผิดนั้นทำไม่ได้ คนเราทำสิ่งที่ผิดพลาดได้ ศาลตัดสินผิดพลาดได้ แม้กระทั่งศาลทหารเองก็ผิดพลาดได้ และนี่เป็นเหตุผลที่ประชาชนควรมีสิทธิในการยื่นอุทธรณ์

เขากล่าวด้วย ว่าแอมเนสตี้ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยฟื้นฟูสิทธิในการยื่นอุทธรณ์และสิทธิ มนุษยชนตามแบบรัฐธรรมนูญฉบับเก่าตลอดจนเคารพสิทธิในการแสดงออกและสิทธิในการ ชุมนุมเพื่อกลับไปสู่ประเทศไทยที่ครั้งหนึ่งเขาเคยชื่นชอบเป็นอย่างมาก

ที่มาข่าว: มติชนออนไลน์