Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ปี 2558 สถานการณ์โทษประหารชีวิตครึ่งปีแรก: ข่าวดีและข่าวร้าย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

ปี 2558 สถานการณ์โทษประหารชีวิตครึ่งปีแรก: ข่าวดีและข่าวร้าย

การรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นประเด็นที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเริ่มรณรงค์มาตั้งแต่ปี 2520 จากเดิมที่มีประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั่วโลกเพียง 16  ประเทศ ผ่านไป 38 ปีเมื่อทั่วโลกต่างตระหนักและให้ความสำคัญถึงคุณค่าของชีวิตมากขึ้น ปัจจุบันมี 141 ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้วทั้งในทางกฎหมายและทางปฏิบัติ

สำหรับในปี 2558 ผ่านไปครึ่งปีแรก สถานการณ์ทั่วโลกเป็นไปในทิศทางที่ขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะข่าวร้ายนั้นก็มี ข่าวดีนั้นก็มาก 

เรามาเริ่มต้นที่ข่าวร้ายกันก่อน
ประเทศอินโดนีเซียกลับมาใช้โทษประหารชีวิตอีกครั้ง
เริ่มจากเพื่อนบ้านเราในอาซียน ประเทศอินโดนีเซีย ต้องบอกว่าเป็นการเริ่มต้นปีที่น่าเศร้ามาก เมื่ออินโดนีเซียได้กลับใช้โทษประหารชีวิตอีกครั้ง และเมินเฉยต่อคำเรียกร้องของจากผู้คนทั่วโลกที่ให้ยุติโทษดังกล่าว โดยอินโดนีเซียได้ประหารชีวิตนักโทษหกคนในข้อหาลักลอบค้ายาเสพติด ถือเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2556

ประเทศปากีสถานอาจถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการประหารชีวิตมากที่สุดในโลกเร็วๆ นี้ 
จากเดิมในปี 2557 ที่มีจีน อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย อิรัก และสหรัฐอเมริกา เป็นห้าประเทศที่มีการใช้โทษประหารชีวิตมากที่สุดในโลก ปีนี้ทางการปากีสถานประหารชีวิตประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 150 คนหลังจากที่การระงับใช้โทษประหารชีวิตชั่วคราวถูกยกเลิกไปเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2557 ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกโจมตีของกลุ่มตาลีบันในโรงเรียนของกองทัพที่เมืองเปชวาร์ เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2557 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 130 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน 

อาชญากรรมและการก่อการร้ายเป็นข้ออ้างของประเทศอินโดนีเซียและปากีสถานเพื่อนำโทษประหารชีวิตมาใช้อีกครั้ง
ทั้งอินโดนีเซีย และปากีสถานกลับมาใช้โทษประหารชีวิตอีกครั้งโดยอ้างว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับอาชญากรรมและการก่อการร้าย แต่ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดในการยืนยันว่าโทษประหารชีวิตนั้นมีประสิทธิภาพในการรับมือกับอาชญากรรมได้ดีไปกว่าการจำคุก  หรือการยกเลิกจะนำไปสู่อัตราการก่ออาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่หลายคนกลัว

ตัวเลขการประหารชีวิตของประเทศอิหร่านมีแนวโน้มแซงหน้าปี 2557 
เพียงครึ่งปีแรกทางการอิหร่านสั่งประหารชีวิตประชาชนไปแล้วเกือบ 700 คน และมีการประหารชีวิตหลายกรณีที่ไม่ได้ล่วงรู้อย่างเป็นทางการ โดยในปี 2557 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกการประหารชีวิตในอิหร่านอย่างน้อย 743 กรณี ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่วนในปีนี้มีประชาชนถูกประหารชีวิตไปแล้วมากกว่า 600 คน ภายในระยะเวลาแค่หกเดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นกังวลอย่างมาก

ประเทศซาอุดิอาระเบียประหารชีวิตประชาชนเพิ่มขึ้นจากปี 2557 
ในปีนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลสามารถบันทึกการประหารชีวิตในประเทศซาอุดิอาระเบียได้แล้ว 102 กรณี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าตลอดปี 2557 และเกือบครึ่งของการประหารชีวิตทั้งหมดมาจากข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด 

คราวนี้มาลองดูในมุมข่าวดีซึ่งถือเป็นพัฒนาการเชิงบวกทางด้านสิทธิมนุษยชน

สามประเทศยกเลิกโทษประหารชีวิตในสามเดือนแรกของปี 2558 
ในเดือนมกราคม ประเทศมาดากัสการ์ ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทุกกรณี ตามมาด้วยประเทศฟิจิในเดือนกุมภาพันธ์ และประเทศซูรินาม (ประเทศที่เล็กที่สุดในทวีปอเมริกาใต้) ในเดือนมีนาคม ซึ่งการที่สามประเทศนี้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในเวลาไล่เลี่ยกันภายในสามเดือนนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มสำคัญของทั่วโลกที่เกิดขึ้นมานานนับ 10 ปีเพื่อที่จะผลักดันให้โทษประหารชีวิตหมดไป

มีอีกสามประเทศที่กำลังยกเลิกโทษประหารชีวิตในอนาคต
โดยรัฐสภาของประเทศมองโกเลียกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเพื่อยุติโทษประหารชีวิต โดยอีกสองประเทศ คือ บูร์กินาฟาโซ (อยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก) และเกาหลีใต้ที่ต่างกำลังมีการพิจารณาร่างกฎหมายที่คล้ายคลึงกัน 

แนวโน้มการยกเลิกโทษประหารชีวิตของสหรัฐอเมริกาเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
รัฐเนแบรสกา ซึ่งเป็นรัฐทางตอนกลางของสหรัฐอเมริกาเป็นอีกหนึ่งรัฐที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งเป็นรัฐที่ 19 ที่มีไม่มีโทษประหารชีวิตแล้ว อีกทั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนียยังได้ประกาศระงับการประหารชีวิตทุกกรณีอีกด้วย

ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต 
ในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา ตัวเลขเฉลี่ยของประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิตในแต่ละปีมีเพียง 22 ประเทศเท่านั้น โดยมากกว่าครึ่งของประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว

มากกว่าครึ่งของประเทศในโลกยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว
ตัวเลข ณ ครึ่งปีแรกของปี 2558 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมายมี 108 ประเทศ ซึ่งถือว่าเกินครึ่งของจำนวนประเทศทั้งหมดในโลก และยังมีอีก 33 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ กล่าวคือ ประเทศนั้นๆ ไม่มีการประหารชีวิตประชาชนอย่างน้อย 10 ปีติดต่อกัน และมีนโยบายระยะยาวที่จะไม่มีการประหารชีวิต ถึงแม้ว่าอัตราการประหารชีวิตจะเพิ่มขึ้นในบางประเทศ แต่ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้นก็ยังถือว่ามีมากกว่า และเป็นเสียงข้างมากของคนทั้งโลก 

ต้นปี 2559 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จะออกรายงานประจำปี เรื่อง “สถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิต” อีกครั้ง ในขณะเดียวกันการทำงานรณรงค์เพื่อสนับสนุนให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตทั่วโลกก็ยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น 

ประเทศไทย
ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ประจำเดือนพฤษภาคม 2558 มีนักโทษประหารชีวิตจำนวน 437 คน นักโทษชาย 387 คน นักโทษหญิง 50 คน 

สำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต และโทษดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติและเนื่องด้วยประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2557 – 2561) ที่รัฐบาลได้ประกาศอย่างเป็นทางการและมีผลปฏิบัติตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา โดยหนึ่งในแผนสิทธิมนุษยชนด้านกระบวนการยุติธรรมคือ เปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตให้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต เพื่อสานต่อวัตถุประสงค์ในการยกระดับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กำลังดำเนินการผลักดันเรื่องนี้อยู่

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตและเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม

ป้ายคำ: 

  • สถานการณ์โทษประหารชีวิต
  • โทษประหารชีวิต
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • ข่าวดี
  • ข่าวร้าย