Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

กฎหมายระหว่างประเทศมีท่าทีต่อการใช้โทษประหารชีวิตอย่างไร?

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

โทษประหารชีวิต: คำถามและคำตอบ

กฎหมายระหว่างประเทศมีท่าทีต่อการใช้โทษประหารชีวิตอย่างไร?

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งมีการรับรองในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนธันวาคม 2491 เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการทารุณโหดร้ายของรัฐที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในข้อ 3ของปฏิญญาฯ ดังกล่าว ได้มีการรับรองสิทธิที่จะมีชีวิตของบุคคลแต่ละคน และระบุอย่างชัดเจนว่า “บุคคลใดจะถูกกระทำการทรมานหรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือยํ่ายีศักดิ์ศรีไม่ได้” (ข้อ 5) ตามความเห็นของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล โทษประหารชีวิตเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเหล่านี้

นอกจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ยังมีการรับรองสนธิสัญญาระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอื่นๆ อีกที่เป็นการสนับสนุนการยกเลิกโทษประหารชีวิต อันได้แก่

  • พิธีสารเลือกรับฉบับที่ 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) มุ่งให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต และมีการรับรองในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2512 โดยกำหนดให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งหมด แต่ยังคงอนุญาตให้รัฐภาคีใช้โทษประหารชีวิตได้ในภาวะสงคราม และหากมีการประกาศเป็นข้อสงวนในช่วงเวลาที่ให้สัตยาบันหรือให้ภาคยานุวัติ
  • พิธีสารฉบับที่ 6 ของอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแห่งยุโรป [“อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป European Convention on Human Rights”] ซึ่งเกี่ยวข้องกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตและมีการรับรองในที่ประชุมสภายุโรปเมื่อปี 2525 โดยกำหนดให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในช่วงเวลาที่สงบ โดยรัฐภาคีอาจกำหนดโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดอาญาได้ “ในช่วงที่มีสงครามหรือใกล้จะมีสงคราม” เท่านั้น
  • พิธีสารของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตแห่งอเมริกา (Protocol to the American Convention on Human Rights to Death Penalty) ซึ่งมีการรับรองในที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์กรแห่งรัฐอเมริกา (Organization of American States) เมื่อปี 2533 กำหนดให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยสิ้นเชิง แต่ยังคงอนุญาตให้รัฐภาคีใช้โทษประหารชีวิตได้ในภาวะสงคราม และหากมีการประกาศเป็นข้อสงวนในช่วงเวลาที่ให้สัตยาบันหรือให้ภาคยานุวัติต่อพิธีสาร
  • พิธีสารฉบับที่ 13 ของอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแห่งยุโรป ซึ่งมีการรับรองในที่ประชุมสภายุโรปเมื่อปี 2545 กำหนดให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณี รวมทั้งในช่วงสงครามหรือใกล้จะมีสงคราม รัฐภาคีใดๆ ที่เป็นภาคีต่ออนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปสามารถเข้าเป็นภาคีพิธีสารฉบับนี้ได้

นอกจากนั้น ตามธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ (Statute of the InternationalCriminal Court) ซึ่งรับรองเมื่อปี 2541 ได้กำหนดไม่ให้ศาลดังกล่าวสามารถใช้โทษประหารชีวิตในการลงโทษได้ แม้ว่าศาลแห่งนี้จะมีเขตอำนาจเหนืออาชญากรรมร้ายแรง เช่น อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ทั้งการสังหารล้างเผ่าพันธุ์และการละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ

ในทำนองเดียวกัน ในการสถาปนาศาลอาญาระหว่างประเทศกรณีอดีตประเทศยูโกสลาเวีย (International Criminal Tribunal for the Former Yugoslavia) และศาลอาญาระหว่างประเทศกรณีประเทศรวันด้า (International Criminal Tribunal for Rwanda) ในปี 2536 และ 2537 ทางคณะมนตรีความมั่นคง

สหประชาชาติก็ห้ามไม่ให้ศาลดังกล่าวลงโทษด้วยการประหารชีวิตเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการห้ามใช้โทษประหารชีวิตสำหรับการลงโทษในศาลอื่นๆ อย่างเช่น ศาลพิเศษกรณีประเทศเซียราลีโอน (Special Court of Sierra Leone) ศาลพิเศษ (Special Panels) ที่กรุงดิลลี ติมอร์ตะวันออก และกฎหมายที่ใช้เพื่อก่อตั้งศาลพิเศษในกัมพูชา (ExtraordinaryChambers for Cambodia)

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.twentyfoursevennews.com

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน