Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ทำไมปากีสถานใช้โทษประหารชีวิตมากขึ้น ?

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
บีบีซีไทย

ทำไมปากีสถานใช้โทษประหารชีวิตมากขึ้น ?

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและโครงการยุติธรรมปากีสถานเผยว่า ปากีสถานประหารนักโทษไปแล้วกว่า 300 ราย นับตั้งแต่ยกเลิกการพักใช้โทษประหารชีวิต หลังเหตุกลุ่มตาลีบันบุกโจมตีโรงเรียนในเมืองเปชาวาร์และสังหารเด็กนักเรียน ไปกว่า 132 ราย เมื่อเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว ทั้งนี้หน่วยงานทั้งสองชี้ว่านักโทษที่ถูกประหารชีวิตส่วนใหญ่ไม่ใช่นักโทษ ในคดีก่อการร้าย

การใช้โทษประหารชีวิตเป็นประเด็นที่ถกกันอย่างดุเดือดทั่วโลก ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารไปแล้วมีทั้งหมด 99 ประเทศ จนถึงเมื่อปี 2557 มี 22 ประเทศที่ใช้โทษประหาร ว่ากันว่าจีนกับเกาหลีเหนือเป็นประเทศที่มีการประหารชีวิตมากที่สุด แต่ไม่มีตัวเลขยืนยันที่แน่นอนได้ เพราะทางการไม่ยอมเปิดเผย

ส่วนประเทศอื่น ๆ นั้น ข้อมูลของทางการถึงเดือน ก.ค. 2558 ระบุว่าอิหร่านใช้โทษประหารอย่างน้อย 694 ครั้ง แต่แอมเนสตี้บอกว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านั้น ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย นับถึงเมื่อวันที่ 9 พ.ย. ปีนี้ ใช้โทษประหาร 151 ครั้ง ส่วนปากีสถาน จนถึงเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ซึ่งครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เมืองเปชาวาร์ มีการประหารชีวิตไป 316 ราย

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเชื่อว่า ปากีสถานมีจำนวนนักโทษแดนประหารสูงที่สุดในโลก โดยเมื่อเดือนต.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลปากีสถานเผยว่า มีอยู่ 6,016 ราย แต่ตัวเลขจากแหล่งอื่นประเมินว่ามีอยู่ราว 8,000 ราย นักโทษจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาย ติดอยู่ในแดนประหารมากว่า 10 ปีแล้ว

อาชญากรรมที่เข้าข่ายต้องโทษประหารของปากีสถานมี 27 ประเภทด้วยกัน เช่น การก่อการร้าย, ข่มขืน, การมีสัมพันธ์นอกสมรสและการดูหมิ่นศาสนา คดีหนึ่งที่กลายเป็นที่สนใจไปทั่วโลกคือคดีของเอเชีย บีบี หญิงชาวคริสต์ที่ถูกโทษประหารจากข้อหาดูหมิ่นศาสนา ทั้งที่เธอยืนกรานว่าถูกใส่ร้ายก็ตาม นอกจากนั้นยังมีความเป็นห่วงด้วยว่ามีนักโทษอีกกว่า 1,000 คน ที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดในช่วงที่เป็นเยาวชนและกำลังรอรับโทษประหาร ซึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศเป็นเรื่องผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในปากีสถาน การหาหลักฐานมายืนยันอายุเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะหลายคนไม่มีใบรับรองการเกิด

ผู้สื่อข่าวบอกว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้นายนาวาซ ชารีฟ นายกรัฐมนตรีปากีสถานยกเลิกการพักใช้โทษประหารนั้น เป็นผลมาจากความโกรธแค้นของประชาชน หลังเกิดเหตุก่อการร้ายที่โรงเรียนในเมืองเปชาวาร์ ในตอนแรกนายชารีฟประกาศใช้โทษประหารในคดีก่อการร้ายเท่านั้น แต่ต่อมามีการนำโทษนี้ไปใช้กับนักโทษทุกคนที่ก่อคดีเข้าข่ายต้องโทษประหาร โดยไม่มีการให้เหตุผลที่แน่ชัด

การตัดสินใจของนาชารีฟครั้งนี้ถูกประณามทั้งจากสหประชาชาติและองค์กรด้าน สิทธิมนุษยนชน โดยแอมเนสตี้เห็นว่า จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานชิ้นไหนที่จะมายืนยันได้ว่าโทษประหารมี ประสิทธิภาพในการป้องกันการก่อการร้ายได้ “โทษประหารไม่ได้ทำให้มือระเบิดฆ่าตัวตายเกรงกลัวแต่อย่างใด” แอมเนสตี้กล่าว

ภาพแรก เป็นรูปภาพบางส่วนของนักโทษแดนประหาร


ภาพที่ 3 เป็นภาพของพ่อแม่ของนักโทษแดนประหารที่ไม่ได้พบหน้าบุตรชายมากว่า 10 ปีแล้ว


ภาพที่ 4 เป็นภาพครอบครัวไปรับศพนักโทษที่ถูกประหาร


ภาพที่ 5 เป็นนักโทษที่กำลังถูกโบยก่อนถูกส่งตัวไปประหารที่อิหร่าน

ขอบคุณเนื้อหาและรูปภาพจาก บีบีซีไทย 

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • ปากีสถาน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • สิทธิมนุษยชน