Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้เรียกร้องสมาชิก "กระบวนการบาหลี" ถก "ผู้ลี้ภัย" เป็นประเด็นเร่งด่วน

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้เรียกร้องสมาชิก "กระบวนการบาหลี"
ถก "ผู้ลี้ภัย" เป็นประเด็นเร่งด่วน

แอมเนสตี้เรียกร้องสมาชิก “กระบวนการบาหลี” ถกประเด็นผู้ลี้ภัยอย่างเร่งเด่น แนะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็น
ต้นเหตุจริงๆ ของปัญหาผู้ลี้ภัยในปัจจุบัน

              แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แถลงว่าการคุ้มครองผู้ลี้ภัย ผู้เข้าเมือง และนโยบายด้าสิทธิมนุษยชนต้องเป็นวาระสำคัญในการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่หกตามกระบวนการบาหลี (The Sixth Ministerial Conference of the Bali Process) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 22-23 มีนาคม ที่ประเทศอินโดนีเซีย

               แชมพา พาเทล (Champa Patel) รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่าความปลอดภัยของผู้ลี้ภัยและผู้เข้าเมืองต้องเป็นประเด็นเร่งด่วนในการประชุมครั้งนี้ โดยในปี 2558 มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนระหว่างเดินทางด้วยเรือในน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากพวกเขาต้องหลบหนีจากภัยคุกคามในพื้นที่ต้นทาง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่หลายคนกลับต้องเสี่ยงที่จะถูกคุกคามหรือเสี่ยงเสียชีวิตมากกว่าเดิมในการเดินทางไปให้ถึงสถานที่อันปลอดภัย

              ทั้งนี้ กระบวนการบาหลี (Bali Process) เป็นเวทีระดับนานาชาติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการอภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการนำคนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติ โดยมีสมาชิกมากกว่า 43 ประเทศ/หน่วยงาน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย และมีประธานร่วมคือออสเตรเลียกับอินโดนีเซีย

               แชมพา พาเทล กล่าวว่า “นโยบายผลักดันเรือออกจากฝั่งในอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันตลอดปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์อันเป็นหายนะจากการเพิกเฉยต่อชะตากรรมของประชาชนที่เสี่ยงอันตราย เพื่อหลบหนีจากภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตของพวกเขา ส่วนรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ไม่ได้ปฏิบัติตามพันธกรณีของตนที่จะเคารพ ส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยและผู้เข้าเมืองแต่อย่างใด”

              จากข้อมูลของสหประชาชาติระบุว่ามีผู้ลี้ภัยและผู้เข้าเมืองอย่างน้อย 33,600 คนที่เดินทางในน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดปี 2558 โดยในวิกฤตผู้ลี้ภัยช่วงเดือนพฤษภาคม มีผู้ลี้ภัยจากพม่าและบังกลาเทศหลายพันคนถูกทอดทิ้งให้อยู่ในเรือที่มีสภาพย่ำแน่ ถูกผลักดันออกจากชายฝั่งที่ปลอดภัย ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ และบางส่วนถูกสังหารระหว่างอยู่กลางทะเล ขณะที่การขาดกรอบกฎหมายทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ส่งผลให้ผู้ที่เดินทางถึงชายฝั่งอย่างปลอดภัยแล้วแทบไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ ตลอดจนมักถูกจับกุมและควบคุมตัวด้วย

              นอกจากนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังเน้นย้ำด้วยว่าการคุ้มครองและการรับประกันความปลอดภัยของผู้ลี้ภัยและผู้เข้าเมืองจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเขิงโครงสร้างที่เป็นต้นที่แท้จริงของปัญหาเหล่านี้


 

ป้ายคำ: 

  • ผู้ลี้ภัย
  • ผู้อพยพ
  • ผู้อพยพทางเรือ
  • ชาวโรฮิงญา
  • กระบวนการบาหลี
  • คนเข้าเมือง
  • สิทธิมนุษยชน
  • สิทธิผู้ลี้ภัย
  • อินโดนีเซีย
  • ออสเตรเลีย
  • Bali Process
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล