Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

6 องค์กรสิทธิจี้ไทยยกเลิกคำสั่ง คสช. 13/2559 ชี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

6 องค์กรสิทธิจี้ไทยยกเลิกคำสั่ง คสช. 13/2559
ชี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม

6 องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศชี้ทางการไทยต้องยกเลิก "คำสั่ง คสช . ที่ 13/2559" เนื่องจากให้อำนาจทหารอย่างกว้างขวาง ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและนิติธรรมสากล

          องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 6 แห่ง ได้แก่ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) ฮิวแมนไรท์ว็อชท์ (HRW) แอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย (FORUM-ASIA) สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) และฟอร์ติฟายไรท์ (Fortify Rights) ออกแถลงการณ์ร่วมกัน โดยระบุว่าทางการไทยต้องยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 13/2559 ซึ่งให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่เจ้าหน้าที่ทหารโดยทันที เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม

          แถลงการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศใช้คำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 13/2559 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้แต่งตั้ง "เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม" และผู้ช่วยจากข้าราชการทหาร โดยมีอำนาจหลายอย่างสำหรับป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด 27 ประเภทด้วยกัน ซึ่งรวมถึงปราบปรามผู้กระทำการให้เกิดความไม่สงบในที่สาธารณะ ความผิดต่อเสรีภาพและชื่อเสียง การตรวจคนเข้าเมือง การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด และการค้าอาวุธ

          ทั้ง 6 องค์กรมองว่าคำสั่ง คสช. ที่ 13/2559 ดังกล่าวส่งผลให้เกิดข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนดังต่อไปนี้

  • การมอบอำนาจให้เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ พ้นจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี อันส่งผลให้เกิดการลอยนวลเมื่อกระทำผิด นับว่าขัดต่อหลักการว่าด้วยความรับผิดตามหลักนิติธรรม
  • การปฏิบัติตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบโดยอำนาจศาล ซึ่งขัดกับสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างเป็นผล สิทธิที่จะให้ศาลมีอำนาจตรวจสอบการละเมิดเสรีภาพ และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ซึ่งได้รับการรับรองตามข้อ 29 และ 14 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
  • การให้อำนาจบังคับใช้กฎหมายอย่างกว้างขวางและคลุมเครือแก่เจ้าพนักงานทหารที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรม ย่อมมีแนวโน้มนำไปสู่การปฏิบัติมิชอบ ซึ่งไม่สอดคล้องตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชน รวมถึงไม่สอดคล้องต่อประมวลหลักปฏิบัติแห่งสหประชาชาติของเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมาย และหลักการพื้นฐานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนของเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมาย
  • คำสั่งนี้ให้อำนาจในการควบคุมตัวบุคคลเป็นเวลาไม่เกิน 7 วันในสถานที่ซึ่งไม่เปิดเผย โดยไม่มีการตรวจสอบจากศาล ย่อมเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
  • ในทางปฏิบัติแล้ว คำสั่งนี้เปิดโอกาสให้มีการนำไปใช้อย่างมิชอบ เพื่อปราบปรามและปิดปากผู้ที่ทางการมองว่ามีความเห็นแตกต่างจากรัฐซึ่งรวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน คำสั่งดังกล่าวขัดแย้งกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

          แชมพา พาเทล รักษาการผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าวว่า “คำสั่งนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการลิดรอนอำนาจตุลาการอย่างร้ายแรงที่จะสามารถตรวจสอบการปฏิบัติของกองทัพ ส่งผลให้เกิดความเสื่อมถอยของการคุ้มครองสิทธิและหลักนิติธรรม”

          ด้าน วิลเดอร์ เทเลอร์ เลขาธิการคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) กล่าวว่า “นับตั้งแต่การทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในไทยได้เสื่อมถอยลงมาโดยตลอด คำสั่งนี้เป็นสัญญาณที่น่าตกใจอีกครั้งหนึ่ง และสะท้อนให้เห็นแนวโน้มแบบเดียวกัน”


แถลงการณ์ฉบับเต็มภาษาไทย
แถลงการณ์ฉบับเต็มภาษาอังกฤษ
คำสั่ง คสช. ที่ 13/2559