Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

‘ชีวิตของฉันตกอยู่ในอันตรายตลอดเวลา’ การรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในแกมเบีย

หมวดหมู่ : บล็อก
Andrew Burton/Getty Images.

เรื่องโดย ฟรังซัวร์ พาทูเอล นักกิจกรรมแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ในแอฟริกาตะวันตก

แปลและเรียบเรียงโดย ชนากานต์ ปาลวัฒน์ อาสาสมัคร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

ฉันได้มีโอกาสพูดคุยกับนักกิจกรรมที่ทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนในแกมเบีย แต่เพียงแค่การเปิดเผยชื่อของเขาก็อาจทำให้เขาถูกจับได้ หลังการพูดคุยกัน ทำให้เรารู้ทันทีว่าทำไมเราถึงต้องช่วยหยุดการคุกคามต่อคนที่ทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศนี้อย่างเร่งด่วน และนี่คือสิ่งที่เขาบอกกับฉัน

“สถานการณ์ในแกมเบียขณะนี้น่าเป็นห่วง ทุกการกระทำของประธานาธิบดีเป็นการไม่ให้ความเคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งการจับกุม การทรมาน การบังคับให้สูญหาย และการฆ่า ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่ม

สาเหตุที่สถานการณ์ในแกมเบียเป็นแบบนี้เพราะประธานาธิบดียะห์ยา จามเมห์ ใช้อำนาจส่วนตัวในการควบคุมหน่วยงานและกระบวนการต่างๆของรัฐทั้งหมด ขณะนี้หน่วยงานต่างๆและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามความพอใจของประธานาธิบดี ด้วยเหตุนี้ การทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงเป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างมาก

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ประธานาธิบดีแกมเบียไม่ให้การยอมรับต่อหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และใครก็ตามที่ทำงานหรือเรียกร้องในเรื่องนี้  ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน สมาชิกของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล และประชาชนที่สนับสนุนในเรื่องสิทธิมนุษยชน จะถูกมองว่าเป็นพวกไม่รักชาติ ไม่มีความชอบธรรม และเป็นศัตรูของประเทศ

อีกทั้งยังมีการตรวจตราทั้งนักกิจกรรมที่ทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน นักข่าว และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลด้วย มีหลายครั้งที่ฉันคุยโทรศัพท์แล้วได้ยินเสียงแทรกจากปลายสาย และมีบางครั้งเมื่อฉันกลับบ้านมา ลูกๆ ของฉันจะบอกว่าวันนี้มีผู้ชายคนหนึ่งมาที่บ้านและได้ถาม ‘คำถามที่เป็นมิตร’ นอกจากนี้ตัวแทนหน่วยสืบราชการลับยังได้ร่วมมือกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในงานของเราและได้มีการแอบถ่ายภายในงานด้วย และที่มากไปกว่านั้นคือฉันถูกล้วงข้อมูลผ่านทางอีเมล

ถ้าคุณรณรงค์ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่แค่ชีวิตคุณเท่านั้นที่จะตกอยู่ในอันตราย แต่ชีวิตของคนที่คุณรู้จักหรือทำงานด้วยต้องตกอยู่ในอันตรายด้วยเช่นกัน นักกิจกรรมหลายคนถูกกดดันจากครอบครัว เพื่อน และเพื่อนบ้าน ให้หยุดการทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน และมีบางคนที่ถูกครอบครัวและเพื่อนทอดทิ้ง

เพื่อนร่วมงาน เพื่อน และสมาชิกในครอบครัวของฉัน พยายามบอกกับฉันหลายครั้งให้อยู่เฉยๆและดูแลครอบครัวของตัวเองไป คนอีกหลายคนเตือนฉันเกี่ยวกับภรรยาและลูกว่าหากฉันหายไปหรือตายพวกเขาจะอยู่อย่างไร  ด้วยเหตุนี้จึงมีคนจำนวนมากที่เป็นห่วงในสวัสดิภาพของฉันพยายามขอร้องให้ฉันเลิกทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน”

ขณะนี้การปกป้องสิทธิมนุษยชนในแกมเบียเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงอย่างมาก ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 นี้ ประธานาธิบดียะห์ยา จามเมห์ แห่งแกมเบีย ได้ดำรงตำแหน่งมาครบ 20 ปีพอดี ทั้งนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ร่วมมือกับองค์กรสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ในการเรียกร้องให้ระบอบการปกครองของจามเมห์  เปิดพื้นที่ให้แก่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลและเสรีภาพในการแสดงออก  เราอยากจะขอให้ผู้สนับสนุนร่วมมือกับเราในการยืนเคียงข้างผู้ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในแกมเบียไปด้วยกันโดยสามารถส่งข้อความมาถึงเราได้ที่ 20yrsoffear.tumblr.com