Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

6 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ ‘วิกฤตผู้ลี้ภัยยุโรป’

หมวดหมู่ : บล็อก

6 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ ‘วิกฤตผู้ลี้ภัยยุโรป’

จากบทความ The truth about… refugees เรียบเรียงโดย ฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์ นักกิจกรรมแอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย

            หลายคนคงทราบดีถึงสถานการณ์ผู้ลี้ภัยที่กำลังไหลทะลักเข้ายุโรปที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนักการเมืองและประชาชนในยุโรปจำนวนหนึ่งมองว่า นี่เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงของประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศที่ได้รับผลกระทบขั้น ‘ร้ายแรง’ คือภูมิภาคที่อยู่ห่างออกไปหลายพันไมล์ต่างหาก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปเป็นเพียงหนึ่งในผลกระทบจากวิกฤตผู้อพยพของจริงทั่วโลก โดยเฉพาะตะวันออกใกล้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเท่านั้น

          ‘แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สหราชอาณาจักร’ ได้เสนอ 6 ข้อเท็จจริงควรรู้ที่อาจพอช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์วิกฤตผู้ลี้ภัยในยุโรปได้ดีมากขึ้น

1.คนที่ข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้ามายังยุโรปต่างเป็นผู้ลี้ภัยทั้งสิ้น และตัวเลขกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ

           นักการเมืองและประชาชนหลายคนปฏิเสธความจริงข้อนี้ แม้ว่าจะมีหลักฐานชัดเจนจาก ‘FRONTEX’ ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลเรื่องชายแดนสหภาพยุโรปหรือ EU ระบุว่าผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เดินทางมาจากซีเรีย เอริเทรีย ซูดาน อัฟกานิสถาน และอิรัก โดยกลุ่มเชื้อชาติกลุ่มใหญ่ที่สุด ได้แก่ ชาวซีเรีย นับจากปีที่แล้วเป็นต้นมา จำนวนผู้ลี้ภัยที่พยายามอพยพเข้ายุโรปเพิ่มขึ้นอย่างมาก สอดคล้องกับตัวเลขผู้ลี้ภัยทั่วโลกที่กำลังพุ่งทะยาน จากสถิติระบุปี 2557 มีผู้ลี้ภัยหน้าใหม่เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3 ล้านคนจากปี 2556 ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เลยทีเดียว 

2.พวกเขาต่างหลบหนีการฆ่าฟันและการก่อการร้าย

          ‘ผู้ลี้ภัย’ คือใครก็ตามที่ชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยงจากการถูกสังหารในประเทศบ้านเกิด รวมไปถึงความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ เช่น ในซีเรียตอนนี้เต็มไปด้วยการทิ้งระเบิด การใช้อาวุธเคมี และการทรมานโดยนักรบฝ่ายต่างๆ ขณะที่ในเอริเทรียประชาชนจำนวนมากถูกกดขี่ข่มเหงและทำให้เป็นทาสโดยรัฐบาลเผด็จการ นี่ไม่ใช่การแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่มันเป็นเรื่องพื้นฐานอย่างความเป็นความตายและเสรีภาพ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมพวกเขาถึงยอมเสี่ยงภัยข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อมาลี้ภัยในยุโรป

3.ปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางเข้ายุโรปที่ปลอดภัยหรือถูกกฎหมายสำหรับผู้ลี้ภัย

          เพื่อที่จะให้ได้สถานะผู้ลี้ภัยในยุโรป ผู้คนเหล่านี้ต้องหาทางเข้ายุโรปให้ได้เสียก่อน สำหรับการเข้าเมืองแบบปกติ พวกเขาจำเป็นต้องมี ‘วีซ่า’ แต่ปัจจุบันกลับไม่มีการออกวีซ่าสำหรับคนที่ต้องการขอลี้ภัยโดยเฉพาะ ในปี 2557 สหราชอาณาจักรให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียแค่ 216 คนเท่านั้น ขณะที่มีคนรอความช่วยเหลือที่เมืองกาแลส์ในฝรั่งเศส (เพื่อพยายามข้ามมายังสหราชอาณาจักร) อีกราว 3,000 คน ถือเป็นตัวเลขที่น่าอับอายเมื่อเทียบกับจอร์แดน เลบานอน และตุรกีที่รับผู้อพยพชาวซีเรียรวมกันแล้วเกือบ 4 ล้านคน 

          ที่แย่ไปกว่านั้น คือประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียจำนวนมากต่างเป็นประเทศที่ยากจนกว่ายุโรปทั้งสิ้น การดูแลผู้ลี้ภัยจึงเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงเพียงพอ ขณะที่สภาพความเป็นอยู่ในค่ายที่สิ้นหวังและเต็มไปด้วยอันตรายก็เป็นอีกแรงผลักดันที่ทำให้ผู้ที่ต้องการหลีกหนีภัยสงครามในประเทศรู้สึกว่าไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการพึ่งพาขบวนการค้ามนุษย์ให้ส่งพวกเขาลงเรือไร้มาตรฐานมายังยุโรป

4.ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ผู้ลี้ภัยขอสถานะผู้ลี้ภัยในประเทศใดประเทศหนึ่ง เปิดช่องให้รัฐบาลบางประเทศผลักภาระ

          ทั้งใน ‘อนุสัญญาผู้ลี้ภัย’ หรือในกฎหมาย EU ต่างก็ไม่ได้กำหนดให้ผู้ลี้ภัยต้องขอสถานะผู้ลี้ภัยในประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศปลอดภัยที่ผู้เดินทางมาถึงเป็นประเทศแรก เป็นต้น ในทางกลับกัน ปัจจุบัน EU ยึดถือ ‘ระเบียบดับลิน’ ที่กำหนดให้ทุกประเทศรับผิดชอบผู้ลี้ภัยเท่าๆ กัน ไม่ว่าผู้ลี้ภัยจะเดินทางเข้ายุโรปผ่านประเทศใดและพำนักชั่วคราวในประเทศใดก็ตาม

          ระบบดังกล่าวนอกจากจะใช้ไม่ได้ผลแล้ว ยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้บางประเทศอย่างชัดเจน โดยเฉพาะสหราชอาณาจักรซึ่งอยู่ไกลจากเส้นทางผู้ลี้ภัยสามารถผลักภาระให้ประเทศหน้าด่านอย่างกรีซหรืออิตาลีได้ โดยอ้างว่าแสดงความรับผิดชอบร่วมกันแล้วโดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้อพยพเข้าสหราชอาณาจักรแต่อย่างใด นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลเยอรมนีเพิ่งจะประกาศระงับการใช้ระเบียบดับลินไป เพื่อให้การรับมือกับวิกฤตผู้ลี้ภัยไหลทะลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5.ยุโรปได้รับผลกระทบเพียงน้อยนิดจากวิกฤตผู้ลี้ภัยทั่วโลก

          จนถึงสิ้นปี 2557 จำนวนผู้ลี้ภัยทั่วโลกอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 14.4 ล้านคน ซึ่งยังไม่รวมผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์อีก 5.1 ล้านคน เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับการรับรองจาก UNHCR (แต่ได้รับการรับรองจาก UNRWA) ตุรกีและปากีสถานรองรับผู้ลี้ภัยมากกว่าทุกประเทศใน EU รวมกัน และใน 10 ประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยมากที่สุดของโลก ไม่มีประเทศในยุโรปรวมอยู่เลยแม้แต่ประเทศเดียว แต่กลับเป็นประเทศยากจนอย่างเอธิโอเปีย เคนยา ชาด และยูกันดา สำหรับใน EU เอง สวีเดนและเยอรมนีเป็นสองประเทศที่ให้การคุ้มครองผู้ลี้ภัยในนาม EU อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อิตาลี กรีซ บัลแกเรีย และฮังการีเป็นหน้าด่านหลักของภูมิภาค ด้านฝรั่งเศสคุ้มครองผู้ลี้ภัยไม่มากมายนัก แต่ก็ยังถือเป็นสองเท่าของจำนวนที่สหราชอาณาจักรรองรับอยู่ดี

6.สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในประเทศที่ ‘ใจแคบ’ กับผู้ลี้ภัยมากที่สุด

          ผู้ขอลี้ภัยในสหราชอาณาจักรจะได้รับที่พักและเงินช่วยเหลือระหว่างที่รอผลการพิจารณาเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ใน EU แต่เงินช่วยเหลือดังกล่าวมีมูลค่าสัปดาห์ละ 36.95 ปอนด์ (ประมาณ 2,000 บาท) ซึ่งถือว่าเกือบน้อยที่สุดใน EU ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส ให้เงินช่วยเหลือผู้ลี้ภัยราวสัปดาห์ละ 58.50 ปอนด์ (ประมาณ 3,200 บาท) เรื่องสิทธิการหางานทำ ประเทศส่วนใหญ่ใน EU กำหนดว่าผู้ขอลี้ภัยต้องได้รับอนุญาตให้ทำงานหากรอผลการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยนานกว่า 9 เดือน บางประเทศกำหนดไว้น้อยกว่านั้น แต่ในสหราชอาณาจักร ระยะเวลาดังกล่าวนานถึง 12 เดือน และผู้ลี้ภัยต้องผ่านขั้นตอนยุ่งยากมากมายกว่าจะหางานทำได้จริงๆ

         ยิ่งไปกว่านั้น มาตรการกักขังผู้ลี้ภัยในสหราชอาณาจักรยังถูกใช้อย่างรุนแรงมากกว่าประเทศอื่นด้วย ประเทศใน EU ส่วนใหญ่จะกำหนดระยะเวลาสูงสุดในการกักขังผู้ลี้ภัยโดยเจ้าหน้าที่รัฐเอาไว้ ขณะที่ในสหราชอาณาจักร การกักขังผู้ลี้ภัยสามารถทำได้นานแค่ไหนก็ได้ เพราะไม่มีการจำกัดระยะเวลาสูงสุด

         แน่นอนว่าทุกคนมีสิทธิที่จะเชื่อในสิ่งที่แตกต่างไปจากนี้ หรือแม้แต่ต่อต้านข้อเท็จจริงทั้ง 6 ข้อข้างต้น เพียงแต่พึงระลึกเสมอว่าการทำแบบนั้นนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้ยุโรปรับมือกับวิกฤตผู้ลี้ภัยได้ดีขึ้นแล้ว ทว่าการยึดติดกับแนวคิดต่อต้านผู้ลี้ภัยก็ไม่ได้ทำให้ผู้ลี้ภัยหมดไปจากแผ่นดินยุโรปเช่นกัน

 

 

 

ป้ายคำ: 

  • ผู้ลี้ภัย
  • ยุโรป