Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

การประหารชีวิตแบบปิดลับในญี่ปุ่นนับเป็นรอยด่างพร้อยของระบบยุติธรรม

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
© Orla 2011/Shutterstock.com

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกแถลงการณ์ระบุ การที่ทางการญี่ปุ่นเดินหน้าประหารชีวิตแบบปิดลับต่อไป ท่ามกลางข้อกังวลต่อการใช้โทษประหารชีวิตในประเทศ นับเป็นรอยด่างพร้อยของระบบยุติธรรม

มาซาโนริ คาวาซากิ (Masanori Kawasaki) อายุ 68 ปีถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเช้ามืดวันที่ 24 มิถุนายนที่สถานควบคุมตัวกรุงโอซาก้า เขาถูกศาลลงโทษประหารชีวิตเมื่อปี 2551 ในข้อหาฆาตกรรมญาติสามคน

นี่ถือว่าเป็นการประหารชีวิตครั้งแรก นับแต่ศาลได้สั่งให้ปล่อยตัวนายฮากามาดะ อิวาโอะ (Hakamada Iwao) โดยทันทีเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากเห็นว่าการไต่สวนคดีของเขาไม่เป็นธรรม หลังจากที่เขาเป็นนักโทษประหารมานานกว่าสี่ทศวรรษ พนักงานอัยการได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยซึ่งเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาคดีต่อนายฮากามาดะใหม่ แม้ศาลระบุว่ามีความเป็นไปได้ว่าตำรวจเป็นผู้สร้างหลักฐานในคดีนี้ขึ้นมา

โรซาน ไรฟ์ ผู้อำนวยการแผนกวิจัยเอเชียตะวันออก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าที่หลังจากมีการเปิดโปงปัญหาขั้นพื้นฐานในระบบยุติธรรมทางอาญาของญี่ปุ่นได้ไม่นาน ปรากฏว่านายซาดาคาสึ ทานิงากิ (Sadakazu Tanigaki) รัฐมนตรียุติธรรมได้ตัดสินใจลงนามคำสั่งให้ประหารชีวิตอีกบุคคลหนึ่ง

“แทนที่จะส่งคนเข้าแดนประหารมากขึ้น ควรจะมีการปฏิรูประบบยุติธรรมอย่างเร่งด่วน ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่อย่างสอดคล้องกับชื่อของมันเลย”  

การประหารชีวิตครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในปี 2557 เป็นการประหารชีวิตครั้งที่เก้านับแต่รัฐบาลของนายอาเบะเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนธันวาคม 2555 กฎหมายญี่ปุ่นกำหนดให้รัฐมนตรียุติธรรมต้องเป็นผู้ลงนามในคำสั่งก่อนที่การประหารชีวิตจะเริ่มต้นขึ้นได้ ปัจจุบันมีนักโทษในแดนประหารอยู่ทั้งหมด 128 คนในประเทศ

“การประหารชีวิตครั้งล่าสุดไม่สอดคล้องกับเสียงเรียกร้องเพิ่มมากขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่นเองให้ยุติการใช้โทษประหาร และเรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น รัฐบาลต้องแสดงความเป็นผู้นำ และส่งเสริมให้มีการอภิปรายอย่างเต็มที่ในที่สาธารณะเกี่ยวกับการใช้โทษประหาร โดยถือเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญซึ่งนำไปสู่การยกเลิกโทษประหาร”

ในเดือนกุมภาพันธ์ อดีตผู้พิพากษาสมทบจำนวนหนึ่งกระตุ้นให้รัฐมนตรียุติธรรมยุติการประหารชีวิตจนกว่าจะมีความโปร่งใสมากขึ้นในการใช้โทษประหาร

การประหารชีวิตในญี่ปุ่นเป็นกระบวนการที่ปิดลับ โดยนักโทษมักได้รับแจ้งล่วงหน้าเพียงไม่กี่ชั่วโมง บางคนไม่ได้รับแจ้งเลย ส่วนครอบครัวมักได้รับแจ้งว่ามีการประหารชีวิตหลังจากการประหารชีวิตเกิดขึ้นแล้ว

“นักโทษประหารต้องมีชีวิตอยู่ด้วยความกลัวตลอดเวลา พวกเขาไม่รู้ว่าวันใดที่จะถูกประหารให้ตายไป ซึ่งเท่ากับทำให้เกิดความทรมานด้านจิตใจเพิ่มเข้าไปกับการลงโทษด้วยการประหารชีวิต ซึ่งถือว่าโหดร้ายและไร้มนุษยธรรม” โรซาน ไรฟ์กล่าว

ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศ G8 นอกเหนือจากสหรัฐฯ ที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิตต่อไป ในระหว่างปี 2556 มีเพียง 22 ประเทศทั่วโลกที่ยังมีการประหารชีวิต หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 10 ของประเทศทั้งหมดในโลก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านการใช้โทษประหารชีวิตในทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะนำมาใช้กับความผิดที่มีลักษณะหรือพฤติการณ์แบบใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีความผิด เป็นผู้บริสุทธิ์ หรือมีบุคลิกภาพอย่างไร และไม่ว่ารัฐจะใช้วิธีการใดในการประหารชีวิต เนื่องจากโทษประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิต และถือว่าเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีมากที่สุด 

ป้ายคำ: 

  • ประหารชีวิต
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่น
  • สิทธิมนุษยชน
  • ญี่ปุ่น