Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

การไต่สวนของวุฒิสภาฟิลิปปินส์ถือเป็นก้าวย่างแรกเพื่อแก้ปัญหาการทรมานที่เรื้อรัง

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

การไต่สวนของวุฒิสภาฟิลิปปินส์ถือเป็นก้าวย่างแรกเพื่อแก้ปัญหาการทรมานที่เรื้อรัง

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2558 ระบุว่าการไต่สวนของวุฒิสภาฟิลิปปินส์กรณีการทรมานของตำรวจที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ เป็นโอกาสที่น่ายินดีเพื่อยุติการทรมานโดยตำรวจจากส่วนกลางของประเทศ และเพื่อยุติวัฒนธรรมการปล่อยคนผิดให้ลอยนวลที่เกิดขึ้นมายาวนาน

                ในการไต่สวนร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน กับคณะกรรมาธิการระเบียบสาธารณะ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันพุธที่ 14 มกราคม ถือได้ว่าเป็นผลลัพธ์โดยตรงของรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเกี่ยวกับการทรมานของตำรวจในฟิลิปปินส์ รายงานที่มีชื่อว่า “เหนือกฎหมาย” (“Above the law”) ได้รับการเปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคม 2557

                ริชาร์ด เบนเน็ต (Richard Bennett) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งจะให้ปากคำในการไต่สวนครั้งนี้กล่าวว่า การไต่สวนครั้งนี้อาจเป็นก้าวย่างแรกเพื่อแก้ปัญหาการทรมานที่เรื้อรังที่กำลังเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ ในทางปฏิบัติแล้วแทบไม่มีบุคคลใดที่ถูกควบคุมตัวโดยตำรวจจะปลอดภัยจากการปฏิบัติอันโหดร้ายเช่นนี้ และเจ้าหน้าที่ยังคงกระทำการต่อไปโดยไม่ได้รับการลงโทษ

                “เรายินดีที่รัฐบาลแสดงให้เห็นท่าทีในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง การไต่สวนของวุฒิสภาต้องนำไปสู่มาตรการเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและจริงใจ ถือเป็นโอกาสของฟิลิปปินส์ที่จะทำหน้าที่ผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนของภูมิภาค และทำให้เกิดจุดเริ่มต้นสำหรับจุดจบของการทรมาน”

                รายงาน “เหนือกฎหมาย” ให้ข้อมูลว่า แม้ฟิลิปปินส์จะให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญาต่อต้านการทรมานระหว่างประเทศที่สำคัญสองฉบับ และยังผ่านกฎหมายเพื่อเอาผิดกับการทรมาน แต่การปฏิบัติเช่นนี้ยังคงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายต่อบุคคลที่ถูกควบคุมตัวโดยตำรวจตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ในเวลาเดียวกันวัฒนธรรมการปล่อยให้คนผิดลอยนวลเป็นเหตุให้มักไม่มีการเอาผิดกับผู้ทำการทรมาน กว่าห้าปีหลังจากมีการออกพระราชบัญญัติต่อต้านการทรมาน ยังไม่มีบุคคลใดเลยที่ถูกศาลตัดสินลงโทษตามกฎหมายนี้

                “แน่นอนว่าการพัฒนากำลังตำรวจที่เป็นมืออาชีพและน่าเชื่อถือซึ่งทำให้ประชาชนมั่นใจ นับเป็นความท้าทายอย่างแท้จริง ไม่มีทางออกสำเร็จรูปแบบด่วน สิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นประกอบด้วยกฎหมายที่บังคับใช้ได้และมีการบังคับใช้จริง ความเป็นผู้นำ ทรัพยากรที่เพียงพอ และการพัฒนาแบบมืออาชีพ การแก้ปัญหาแบบแยกส่วนจะใช้ไม่ได้ผล”

“หัวใจของการปฏิรูปคือ ผู้รับผิดชอบต่อการกระทำความผิดต้องถูกลงโทษ ไม่เช่นนั้นแล้วการทรมานจะเกิดขึ้นต่อไปโดยปราศจากการตรวจสอบ วุฒิสภาฟิลิปปินส์สามารถและควรเริ่มกระบวนการตรวจสอบหน่วยงานที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติมิชอบและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาให้เกิดระบบที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง เพื่อตรวจสอบสถานที่ควบคุมตัวบุคคล และเป็นหน่วยงานที่เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพในการสอบสวนและการฟ้องร้องคดีเมื่อเกิดการปฏิบัติมิชอบของตำรวจ”

                การไต่สวนของวุฒิสภาจะมีขึ้นหนึ่งวันก่อนการเดินทางมาเยือนเป็นครั้งแรกของพระสันตปปาฟรานซิส ซึ่งท่านเป็นผู้วิจารณ์และต่อต้านการทรมานอย่างเข้มแข็ง ทั้งยังเรียกการปฏิบัติเช่นนี้ว่า “เป็นบาปมหันต์”

                “ประชาชนชาวฟิลิปปินส์ต่างตื่นเต้นยินดีกับการเดินทางมาเยือนของพระสันตปปา รัฐบาลสามารถกระทำการเพื่อให้เกียรติแก่พระองค์ได้ โดยการให้ความจริงจังต่อการขจัดการทรมาน ซึ่งเป็นปัญหาที่แม้แต่พระสันตปปาเองได้กล่าวถึงหลายครั้งแล้ว” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว 

Philippines: Senate hearing should be first step to tackling endemic torture

ป้ายคำ: 

  • การทรมาน
  • ฟิลิปินส์
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล