Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

“เชลล์” อาจต้องชดใช้ค่าเสียหายหลังโดนคดีสิ่งแวดล้อมในไนจีเรีย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกมาเปิดเผยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 กรณีศาลพิจารณาคดีของอังกฤษได้มีแนวทางให้บริษัทเชลล์ต้องรับผิดชอบต่อมลพิษจากน้ำมันรั่วซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมบริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์อย่างร้ายแรง

ออเดรย์ กอห์ราน ผู้อำนวยการประเด็นรณรงค์ระดับโลก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า การพิจารณาคดีในครั้งนี้เป็นเสมือนการเตือนบริษัทเชลล์ เพราะคำพูดของศาลนั้นชัดเจนที่ว่า “ถ้าทางบริษัทไม่มีมาตรการที่เพียงพอในการป้องกันท่อส่งน้ำมันจากถูกงัดแงะ ทางบริษัทต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น”  

ศาลเทคโนโลยีและการก่อสร้างในลอนดอนได้ให้คำพิพากษาต่อบริษัทเชลล์ในการรับผิดชอบ โดยแนะให้หามาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันท่อส่งน้ำมัน ซึ่งอาจรวมถึงการติดตั้งระบบตรวจจับการรั่วไหล อุปกรณ์เฝ้าระวัง และ อุปกรณ์ป้องกันการงัดแงะ

การพิจารณาคดีได้เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายชาวไนจีเรียได้เรียกร้องค่าชดเชย ถ้าเหตุน้ำมันรั่วเกิดจากการก่อวินาศกรรมหรือการโจรกรรม โดยมีเงื่อนไขว่าการก่อวินาศกรรมหรือการโจรกรรมนั้นต้องเกิดขึ้น ”จากการละเลยของผู้ถือลิขสิทธิ์หรือตัวแทนของบริษัท หรือลูกจ้างและคนงาน ในการปกป้องรักษา ดูแล หรือซ่อมแซม โครงสร้างการทำงานของบริษัท”

หลังจากเสร็จสิ้นการพิจารณาคดีไม่กี่นาที บริษัทเชลล์ได้ออกมาแถลงข่าวอ้างว่า ‘ผู้พิพากษาอาวุโสของอังกฤษตัดสินคดีเข้าข้างไนจีเรีย’

“การตอบโต้ของบริษัทเชลล์ถือเป็นการสะท้อนพฤติกรรมของหลายๆ บริษัทที่พยายามจะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของตนเอง” ออเดรย์ กอห์ราน กล่าว

บริษัทเชลล์ได้มีการปิดบังอายุการใช้งานและสภาพของท่อส่งน้ำมันมาโดยตลอด ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาบริษัทเชลล์อ้างว่ามลพิษจากน้ำมันรั่วนั้นเกิดจากการโจรกรรมน้ำมันหรือการลักลอบอื่นๆ ที่ผิดกฎหมาย แต่ที่ผ่านมาทางบริษัทเองก็ไม่ได้มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการขโมยน้ำมันหรือการดูแลรักษาใดๆ ต่อท่อส่งน้ำมันเลย

จากรายงานในหัวข้อ “ข้อมูลที่เลวร้าย: การสืบสวนกรณีน้ำมันรั่วที่ปากแม่น้ำไนเจอร์” ของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลได้เปิดเผยถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้ออ้างของทางบริษัทเชลล์ในกรณีของมลพิษจากน้ำมันรั่วว่า “มีความน่าสงสัยอย่างมากและมักไม่เป็นความจริง”

ด้วยโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถป้องกันการโจรกรรมและการทำลาย และที่น่าตกใจคือ มีหลักฐานจากเมื่อปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่าผู้รับเหมาของบริษัทเชลล์เองก็อาจมีส่วนร่วมในการโจรกรรมน้ำมันด้วย

การตัดสินในวันนี้เป็นก้าวสำคัญสำหรับการต่อสู้อันยาวนานหลายสิบปีในการเรียกร้องความยุติธรรมในพื้นที่ปากแม่น้ำไนเจอร์ซึ่งได้รับผลกระทบจากมลพิษอย่างมาก

การพิจารณาคดีในครั้งนี้เกิดจากการเรียกร้องทางแพ่ง นำโดยผู้คนจากชุมชนโบโด ที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์ ทางชุมชนได้รับผลกระทบอย่างมากจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลครั้งใหญ่ในปี 2551 และ 2552 ซึ่งเกิดจากการที่ท่อส่งน้ำมันของบริษัทเชลล์มีความเก่าและเกิดรอยรั่ว

“เป็นเวลานานกว่า 5 ปีแล้ว ที่คนในชุมชนโบโดต้องทนใช้ชีวิตกับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งนั้น การตัดสินในวันนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อความยุติธรรมของชุมชนโบโดซึ่งต้องทนทุกข์ทรมานจากมลพิษมาหลายปี”  โจ เวสบี้ นักรณรงค์ฝ่ายความรับผิดชอบของบรรษัทข้ามชาติ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ทำการรณรงค์ในประเด็นนี้มาตั้งแต่ปี 2552 เพื่อให้ทางบริษัทเชลล์รับผิดชอบต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและสุขภาพของคนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับโรงงานของเชลล์ในบริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์

ข้อมูลเพิ่มเติม ความรับผิดชอบของบรรษัทต่อสิทธิมนุษยชน https://www.amnesty.or.th/our-work/corporate-accountability

ป้ายคำ: 

  • ไนจีเรีย
  • เชลล์
  • สิทธิชุมชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • สิทธิมนุษยชน