Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

วันผู้สูญหายสากล กับคดีประวัติศาสตร์ "อุ้มหาย" ในประเทศไทย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
ไทยพีบีเอส

เนื่องในวันผู้สูญหายสากล 30 สิงหาคมของทุกปี ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาการอุ้มหายบุคคลต่างๆ มามากมาย กรณีที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุด คือ "หะยีสุหลง" "ทนายสมชาย" และ "บิลลี่" แต่แนวทางแก้ไขปัญหายังไม่เป็นรูปธรรม เมื่อหลายครั้งเป็นการก่ออาชญากรรมโดยรัฐ อุ้มเพื่อความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรมก็อยู่ในมือของรัฐ

ทุกวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of the Disappeared) วันที่ทั่วโลกร่วมรำลึกถึง “ผู้ที่ถูกทำให้สูญหาย” จากการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องการเมือง ความมั่งคง และการปราบปรามจากรัฐ ซึ่งเมื่อย้อนกลับมาดูในประเทศไทย พบว่ามีกรณีการบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือ “อุ้มหาย” มากมาย ทั้งก่อนปี 2516 และหลังปี 2516 เป็นต้นมา โดยเฉพาะการปราบปรามกลุ่มนักศึกษาและประชาชนในยุคที่เรียกว่าเดือนตุลา

แต่กรณีที่โด่งดังและคุ้นหูผู้คนยุคปัจจุบัน มี 3 คนที่ถูกอุ้มหายซึ่งผู้คนจดจำได้มากที่สุด "หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์" หรือ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา"ผู้นำศาสนาผู้ร่างข้อเสนอ 7 ข้อเพื่อสิทธิของชาวมลายูซึ่งฝ่ายรัฐในขณะนั้นมองว่าเป็นข้อเสนอเพื่อแบ่งแยกดินแดน "ทนายสมชาย นีละไพจิตร" ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และกรณีล่าสุด "บิลลี่ - พอละจี รักจงเจริญ" ผู้นำชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย

ไม่พบศพ นำสู่การบังคับให้บุคคลสูญหาย
การไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ถึงร่างของผู้สูญหาย เป็นลักษณะของการบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือที่เรียกกันว่า “การอุ้ม” ที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งในทุกยุคทุกสมัย สำหรับในประเทศไทย สถานการณ์ของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ได้รวบรวมไว้ได้ทั้งหมด 90 กรณี โดยเป็นกรณีที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในแต่ละช่วง ได้แก่ เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และกรณีการปราบปรามยาเสพติดในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร

น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่า การอุ้มหายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง กรณีการสูญหายแต่ละครั้งในอดีตมีการคลี่คลายของคดีบุคคลสูญหาย ไม่ต่างจากกรณีครั้งหลังๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทย คือ ญาติและครอบครัวไม่ทราบชะตากรรมว่าบุคคลนั้นถูกจับกุมตัวไปที่ไหน เมื่อไหร่ และถูกกระทำอย่างไร พร้อมระบุว่า ส่วนใหญ่การอุ้มหายมักเกี่ยวโยงกับเรื่องความมั่นคง และหลายกรณีก็ไม่สามารถพิสูจน์ถึงสาเหตุของการอุ้มได้

“บางกรณีไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการจับกุมคุมขัง และนำตัวไปรีดข้อมูล บางกรณีมีการสืบสวนจนกระทั่งพิสูจน์ได้ว่ารัฐจับกุมตัวบุคคลไป แต่อ้างว่าได้มีการปล่อยตัวไปแล้ว ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้”

จาก “หะยีสุหลง”ถึง “ทนายสมชาย” และกรณี “บิลลี่” 
น.ส.พรเพ็ญ ยังระบุอีกว่า ในบางคดีต้องรอจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงจะสามารถคลี่ปมของการสูญหาย ได้ อย่างกรณีของ “หะยีสุหลง” ครูสอนศาสนาที่เป็นผู้นำและปัญญาชนของชาวไทยมุสลิมในปัตตานี ที่สูญหายในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่างถูกหมายเรียกรายงานตัวไปยังกองบัญชาการตำรวจสันติบาล จ.สงขลา เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2498 ซึ่งก่อนหน้านี้หะยีสุหลงถูกจำคุกเป็นเวลา 4 ปี 8 เดือน ด้วยข้อหาเรื่องความมั่นคงในราชอาณาจักร จากกรณีข้อเรียกร้อง 7 ข้อ เกี่ยวกับเรื่องการปกครองที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยต่อมาเมื่อจอมพลสฤษดิ์ เป็นนายกฯ ได้มีการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาอีกครั้ง โดยคดีสิ้นสุดตรงที่ตำรวจที่กระทำการ “อุ้ม” สารภาพว่าได้ฆาตกรรมหะยีสุหลง พร้อมพวก

ส่วนกรณีทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งถูกอุ้มหายเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แม้จะเป็นคดีอุ้มหายที่มีความคืบหน้ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยสามารถตั้งข้อหาไปถึงตำรวจที่ก่อการได้ แต่สุดท้ายเมื่อไปถึงขั้นพิจารณาของศาลกลับถูกยกฟ้อง และกรณีล่าสุด การหายตัวไปของ “บิลลี่” พอจะลี รักจงเจริญ แกนนำชุมชนชาวกะเหรี่ยงบางกลอยใน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ที่ถูกอุ้มหายหลังถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานควบคุมตัวเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา น.ส.พรเพ็ญ ชี้ว่า กรณีของบิลลี่ แม้จะมีกระบวนการสอบสวน การตรวจสอบด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยขึ้น สังคมมีความเป็นประชาธิปไตยขึ้น แต่เมื่อผ่านไป 4 เดือน ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ายังไม่สามารถคลี่คลายคดีได้

“คนเหล่านี้ไม่ได้รับการรำลึกถึง การไม่ยอมรับว่ามีเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้น เราไม่เคยยอมรับว่าเป็นเรื่องที่พูดกันได้ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกบอกโดยสังคมไทย”

เมื่อรัฐก่ออาชญากรรม – กระบวนการยุติธรรมที่บกพร่อง
เมื่อถามถึงมูลเหตุรากเหง้าของการใช้วิธีการ “อุ้ม” หรือการบังคับให้บุคคลสูญหาย น.ส.พรเพ็ญ อธิบายว่าเป็นลักษณะอำนาจนิยมของรัฐ ที่เห็นว่ามีช่องทางกฎหมายที่สามารถทำได้ โดยการนำตัวบุคคลเข้าไปรีดข้อมูล แล้วไม่สามารถนำบุคคลนั้นกลับสู่สังคมได้นั้น เป็นความมักง่ายของเจ้าหน้าที่รัฐที่คิดว่ากระทำได้และ “ไม่ผิด”ซึ่งบางกรณีอาจเป็นการบ่งการจากผู้บังคับบัญชาที่สูงขึ้นไป และบางกรณีอาจเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ระดับล่างเอง

นอกจากนี้ กลไกที่ให้ความยุติธรรมแก่บุคคลที่สูญหายอยู่กับรัฐเอง กระบวนการสอบสวนก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างอิสระ มีความล่าช้า และยังมีรูโหว่ทางกฎหมายเกี่ยวกับการสูญหายของบุคคลว่า หากไม่พบศพบุคคลที่สูญหาย ก็ไม่สามารถตั้งข้อหาดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีความพยายามที่จะแก้ไขจุดนี้ โดยกระทรวงยุติธรรรมได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ เพื่อให้กฎหมายของไทยสามารถตั้งข้อหาในคดีผู้ถูกทำให้สูญหายได้ ซึ่งระหว่างนี้อยู่ในกระบวนการแก้ไข ซึ่งต้องยกเครื่องกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ทั้งตำรวจและราชทัณฑ์.

รายงานพิเศษโดย ธันยพร บัวทอง ทีมข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์

ป้ายคำ: 

  • อุ้มหาย
  • การบังคับบุคคลให้สูญหาย