Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

คุณพ่อรู้ดี -BIG BROTHER KNOWS BEST!!!

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
Infographic MOVE

รัฐบาลทั่วโลกต่างหามาตรการควบคุมอินเตอร์เน็ตเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกผ่านสื่อออนไลน์ การเซ็นเซอร์ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ และการสอดแนมข้อมูลผู้ใช้โดยไม่เลือกเป้าหมาย และอ้างว่าเป็นการทำเพื่อความมั่นคงของประเทศ

ด้านล่างเป็นตัวอย่างที่น่าตกใจของการแทรกแซงและการสอดแนมข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตโดยรัฐบาล เป็นข้อมูลบางส่วนที่ชี้ให้เห็นขอบเขตและความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา

ตัวเลขการแทรกแซงด้านอินเตอร์เน็ต 

2,000,000 – จำนวนผู้ที่ได้รับการว่าจ้างให้ทำหน้าที่ตำรวจอินเตอร์เน็ตในจีน

193 – จำนวนรัฐบาลต่างชาติ กลุ่มต่างชาติ และองค์กรการเมืองที่รัฐบาลสหรัฐฯ อนุมัติให้หน่วยข่าวกรองแห่งชาติ (National Security Agency) สอดแนมข้อมูล ได้

1,000 – จำนวนการเฆี่ยนตีที่ทางการซาอุดิอาระเบียสั่งลงโทษ Raif Badawi หลังตัดสินว่าเขามีความผิดฐาน “จัดตั้งเว็บไซต์” ซึ่งดูหมิ่นศาสนาอิสลามและล้อเลียนบุคคลทางศาสนา ปัจจุบันเขาใช้โทษจำคุก 10 ปีสำหรับข้อหาเดียวกัน

24 hours – ระยะเวลาที่ทางการซูดานตัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้สื่อออนไลน์เพื่อนัดรวมตัวประท้วงเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556

29 – จำนวนผู้ใช้งาน Twitter ในเมือง Izmir ตุรกี ซึ่งได้รับโทษจำคุกสามปีเนื่องจากการทวิตข้อความระหว่างการประท้วงปีที่แล้ว โดยเนื้อหาในข้อความเหล่านั้นไม่มีส่วนใดเป็นการยุยงให้เกิดความรุนแรงเลย 29 เป็นจำนวนของผู้วิจารณ์รัฐบาลชุดล่าสุดที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือถูกลงโทษเนื่องจากการโพสต์ข้อความทางสื่อออนไลน์

7 – จำนวนวันที่ใช้ในช่วงตั้งแต่เริ่มประกาศมีร่างพระราชบัญญัติที่ให้อำนาจหน่วยงานในอังกฤษสอดแนมข้อมูลอย่างกว้างขวาง กับช่วงที่มีการรับรองกฎหมายดังกล่าว รัฐสภาได้ใช้ขั้นตอนเร่งด่วนเพื่อเร่งรัดการผ่านร่างพระราชบัญญัติอำนาจการสั่งให้เก็บข้อมูลและการสอบสวน (Data Retention and Investigatory Powers Bill) เป็นการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของรัฐสภาหรือประชาชน

34 – จำนวนบล็อกเกอร์ที่ถูกควบคุมตัวในเวียดนามทำให้เวียดนามกลายเป็นประเทศใหญ่อันดับสองที่คุมขังผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต รองจากประเทศจีน

คุณรู้หรือไม่ว่า?

ฝรั่งเศสได้ออกกฎหมายใหม่ที่ชื่อกฎหมายโครงการทหาร (Military Programming Law) ซึ่งให้อำนาจทางการในการตรวจจับการสื่อสารข้อมูลออนไลน์โดยไม่ต้องมีหมายศาล

หน่วยงานโทรคมนาคมแห่งปากีสถานได้ขอให้ทวิตเตอร์บล็อกการส่งข้อความ “ที่หมิ่นศาสนา” แม้ว่าทวิตเตอร์จะยอมทำตามอยู่ช่วงหนึ่ง แต่อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมาก็มีการตัดสินใจใหม่หลังจากถูกประณามโดยภาคประชาสังคมและสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะจากทวิตเตอร์เอง ในปากีสถานมักมีการบล็อกการใช้งาน Facebook เป็นระยะ ๆ เนื่องจากอ้างว่ามีเนื้อหาดูหมิ่นศาสนา ในขณะที่ยังคงมีการบล็อกยูทิวบ์มาตลอดโดยอ้างเหตุผลเดียวกัน

ไทยปิดกั้นการเข้าถึง Youtube หลังจากมีการโพสต์วีดิโอที่วิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ ในปี 2557 มีการจับกุมและฟ้องคดีต่อผู้ใช้งานเฟซบุ๊คหลายคน โดยอ้างว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันฯ แม้แต่ผู้ที่คลิก Like ก็ถูกขู่ดำเนินคดี

นับแต่ปี 2556 ทางการซาอุดิอาระเบียได้เพิ่มมาตรการเพื่อป้องกันการใช้สื่อออนไลน์เพื่อรณรงค์ โดยมีการตรวจสอบการใช้แอ๊พด้านสังคมออนไลน์ และห้ามการใช้แอ๊พด้านเครือข่ายสังคมที่มีการเข้ารหัส อย่างเช่น Skype, WhatsApp, Viber, และ Line

หน่วยงานความมั่นคงของเอธิโอเปียใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทจากสหราชอาณาจักรและเยอรมนี ซึ่งสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกควบคุมผ่านอินเตอร์เน็ตติดไวรัสได้ และทำให้สามารถเข้าถึงไฟล์ต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน ข้อมูลและกิจกรรมอื่น ๆ รวมทั้งการสอดแนมโดยใช้ซอฟต์แวร์ตรวจดูการกดแป้นคีย์เพื่อหาพาสเวิร์ด และการเปิดเว็บแคมและไมโครโฟนของเครื่องอื่น ทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าวกลายเป็นเครื่องดักฟัง

อิหร่านจัดตั้ง “ตำรวจไซเบอร์” เมื่อปี 2554 เพื่อแก้ปัญหา “อาชญากรรมในอินเตอร์เน็ต” และป้องกันการใช้สื่อออนไลน์รวมทั้งเครือข่ายสังคมต่าง ๆ เนื่องจากเชื่อว่าจะมีการโพสต์ข้อความที่เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ พวกเขาติดตามตรวจสอบการใช้งานด้านออนไลน์ของบุคคล และมักจับกุมและควบคุมตัวบุคคลอันเป็นผลมาจากการโพสต์ข้อความออนไลน์ แม้ว่าในหลายกรณีเป็นเพียงการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ

 

ป้ายคำ: 

  • Infographic MOVE
  • การแทรกแซงทางอินเตอร์เน็ต
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล