Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ไต้หวันต้องให้ความเป็นธรรมแก่ เชียว โฮ-ชุน ผู้ตกเป็นเหยื่อการทรมาน

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

ไต้หวันต้องให้ความเป็นธรรมแก่ เชียว โฮ-ชุน ผู้ตกเป็นเหยื่อการทรมาน

แปลโดย พุทธิภรณ์ ผ่องใส

ศาลฏีกาของไต้หวันต้องพิจารณาคดีของเชียว โฮ-ชุน (Chiou Ho-shun) ใหม่อีกครั้งอย่างเป็นธรรมหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นายออกมาให้การยืนยันว่านายเชียว โฮ-ชุน ถูกทรมานเพื่อให้รับสารภาพ ปัจจุบัน เชียว โฮ-ชุนวัย 55 ปีเป็นนักโทษที่รอการประหารมายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของไต้หวัน

เมื่อ พ.ศ. 2532 เชียว โฮ-ชุนถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาชิงทรัพย์ ลักพาตัวและฆาตกรรม วันที่ 9 มิถุนายน 2558 ทนายของเชียว โฮ-ชุนเตรียมยื่นคำร้องขออุธรณ์ต่อศาลเนื่องด้วยมีการพบหลักฐานใหม่ที่มีผลต่อคำตัดสินของคดี

โรซาน ไรฟ์ (Roseann Rife) ผู้อำนวยการด้านงานวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า คดีนี้เป็นมลทินของระบบยุติธรรมไต้หวันมาช้านาน ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ศาลสูงต้องแก้ไข้ความผิดพลาดให้ถูกต้อง

เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนายมีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งตัวเชียว โฮ-ชุนจากห้องขังไปยังห้องสอบสวนในปีพ.ศ. 2531 ในขณะนี้เจ้าหน้าที่ทั้งสองพร้อมให้คำยืนยันในชั้นศาลว่า เชียว โฮ-ชุนได้แจ้งว่าเขาถูกทรมานให้รับสารภาพระหว่างการสอบปากคำขั้นต้นของตำรวจ

“ถ้าจะมีคดีไหนที่จะต้องได้รับการยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ คดีนั้นก็ควรเป็นคดีของเชียว โฮ-ชุน คดีนี้เป็นมลทินของระบบยุติธรรมไต้หวันมาช้านาน ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ศาลสูงต้องแก้ไข้ความผิดพลาดให้ถูกต้อง” ” โรซานกล่าว

การทรมาน

เชียว โฮ-ชุนเล่าว่าระหว่างการสอบปากคำ เขาถูกมัดและปิดตา ถูกบังคับให้นั่งบนน้ำแข็ง โดนช็อตด้วยกระบองช็อตไฟฟ้าและโดนกรอกปากและจมูกด้วยน้ำผสมพริกไทย การสอบปากคำแต่ละครั้งใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมงและระหว่างการดำเนินการก็จะมีคน 5 - 6 คนคอยทุบตีเขาจนเขาหมดสติไปหลายครั้ง

คดีนี้เป็นหนึ่งในคดีอาชญากรรมที่ยืดเยื้อที่สุดในไต้หวันอันเนื่องมาจากการอุธรณ์หลายครั้งหลายหนในรอบสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งในการอุธรณ์แต่ละครั้ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้มีการอนุญาตให้ใช้คำสารภาพที่ได้มาจากการทรมานเป็นหลักฐานในชั้นศาล นอกจากนี้ยังไม่มีพยานวัตถุอื่น ๆ ที่สามารถระบุได้เลยว่าเชียว โฮ-ชุนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมครั้งนี้

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ศาลฎีกาของไต้หวันได้ยืนยันโทษประหารชีวิตเชียว โฮ-ชุน หลังศาลปฏิเสธการยื่นอุธรณ์ทั้งหมด อย่างไรก็ตามในขณะนี้ ทนายของเชียว โฮ-ชุนสามารถยืนคำร้องให้พิจารณาคดีใหม่ได้แล้ว

ใน พ.ศ. 2531 แม้ว่าเชียว โฮ-ชุนได้กลับคำให้การรับสารภาพในทันทีหลังการให้ปากคำ อัยการยังคงยืนยันว่าเชียว โฮ-ชุนกลับคำหลังจากการสอบสวนผ่านไปนานแล้ว

หลักฐานชิ้นใหม่ชี้ให้เห็นได้ชัดเจนว่าถึงเหตุผลที่คดีของเชียว โฮ-ชุนสมควรได้รับการพิจารณาใหม่โดยปราศจากการใช้โทษประหารชีวิต

กฎหมายระหว่างประเทศระบุไว้อย่างชัดเจนสมบูรณ์ว่าการทรมานเป็นสิ่งต้องห้ามในทุกกรณี กฎหมายระหว่างประเทศห้ามมิให้มีการใช้คำสารภาพที่ได้มาจากการทรมานหรือการปฏิบัติโดยมิชอบหรือการบังคับขู่เข็ญในรูปแบบอื่น ๆ

ในปี พ.ศ. 2537 อัยการ 2 คนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ 10 นาย ได้รับการพิพากษาว่ามีความผิดฐานใช้การทรมานระหว่างการสอบสวน อย่างไรก็ตามคำสารภาพของเชียว โฮ-ชุนยังคงถูกใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาล บันทึกเสียงของเจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีการทรมานเกิดขึ้นกลับถูกถอดออกจากหลักฐานที่ใช้

ทั้งนี้ ในพ.ศ. 2546 เจ้าหน้าที่ตำรวจเผยว่า หู กวาน-เปา (Hu Kuan-pao) นักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิตจากอีกคดีหนึ่ง ได้สารภาพก่อนถูกประหารชีวิตว่าเขาเป็นผู้ลงมือก่อคดีที่เชียว โฮ-ชุนถูกกล่าวหา แต่คำให้การของเขาไม่เคยได้รับการตรวจสอบใด ๆ

คำสารภาพที่ได้มาจากการทรมานต้องไม่ถูกนำมาใช้ในชั้นศาล แต่เพราะการพิพากษาโทษของเชียว โฮ-ชุนเต็มไปด้วยข้อบกพร่อง ศาลยุติธรรมของไต้หวันได้ปฏิเสธความยุติธรรมและแสดงการไม่เคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศโดยเลือกใช้เพียงบางส่วนบางตอนของเทปบันทึกเสียงที่ได้รับมาจากการทรมานในการพิจารณาคดี

หลังระยะเวลากว่า 25 ปีที่รอรับโทษ สุขภาพของเชียว โฮ-ชุนทรุดโทรมลงอย่างหนัก เขาเสียการได้ยินที่หูข้างซ้ายและเขายังต้องทนทุกข์กับอาการปวดหัวเรื้อรังสืบเนื่องมาจากการทุบตีของเจ้าหน้าที่ตำรวจตอนที่เขาถูกจับกุมครั้งแรก เมื่อไม่นานมานี้ เชียว โฮ-ชุนถูกนำส่งแผนกผู้ป่วยหนักจากอาการหายใจไม่สะดวก

“การตัดสินที่ผิดพลาดในคดีของเชียว โฮ-ชุนแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงเหตุผลที่ไต้หวันจะต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างไม่มีข้อยกเว้น” โรซาน ไรฟ์กล่าว

ข้อมูลพื้นฐาน

เชียว โฮ-ชุนถูกพิพากษาให้รับโทษประหารชีวิตในปีพ.ศ. 2532 ในฐานมีความเกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรมโค ฮุง ยู-ลาน (Ko Hung Yu-lan) และคดีลักพาตัวลู เชง (Lu Cheng)

เชียว โฮ-ชุนเป็นหนึ่งในจำเลย 12 คน ตามที่ได้มีการรายงานไว้ จำเลยทั้งหมดได้ถูกแยกไม่ให้ติดต่อกันเป็นเวลา 4 เดือนซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำเลยถูกทรมานละทารุณกรรม พวกเขาเผยว่าถูกใช้กำลังบีบบังคับให้สารภาพว่าลักพาตัวและฆ่าลู เชง นอกจากนั้นยังถูกบังคับให้สารภาพในคดีฆ่าหั่นศพเจ้าหน้าที่ขายประกันหญิง โค ฮุง ยู-ลาน ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นคดีที่หาผู้กระทำผิดไม่ได้ หลังจากนั้น จำเลยได้กลับคำรับสารภาพและเผยว่าพวกตนถูกทรมาน คำให้การของจำเลยมีความคลาดเคลื่อนและขัดแย้งกัน นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏการเสนอพยานวัตถุ เช่นอาวุธ หรือรอยนิ้วมือในชั้นศาล และมีเพียงเชียว โฮ-ชุนคนเดียวเท่านั้นที่ถูกตัดสินให้ถึงแก่ความตาย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านการใช้โทษประหารชีวิตในทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำผิดประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำจะมีสถานะหรือบุคลิกแบบใด และไม่ว่ารัฐจะจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใดก็ตาม โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โหดร้าย และไร้มนุษยธรรม

Taiwan: Grant retrial to death row inmate tortured to confess

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • เชียว โฮ-ชุน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • ไต้หวัน
  • นักโทษประหาร