Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ประเทศไทย: ถึงเวลาเรียกร้องความยุติธรรม

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
Credits: Matichon

แถลงการณ์แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

14 ตุลาคม 2558

ประเทศไทย: ถึงเวลาเรียกร้องความยุติธรรม

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้ทางการไทยสอบสวนใหม่กรณีการสังหารนายเจริญ วัดอักษร นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม หลังศาลฎีกามีคำพิพากษายืนยกฟ้องจำเลยที่เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่น ซึ่งเดิมก่อนหน้านี้ศาลตัดสินว่าเขามีความผิดฐานจ้างวานฆ่านายเจริญ        

นายเจริญ วัดอักษร อายุ 37 ปี เกษตรกรปลูกสัปปะรด ประธานกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเป็นผู้นำการรณรงค์ของชุมชนเพื่อคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าสองแห่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จนเป็นผลสำเร็จ เขาถูกลอบยิงเสียชีวิตหลังจากเดินลงจากรถทัวร์ที่ตำบลบ่อนอก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547  หลังเดินทางกลับจากการให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการรัฐสภาที่กรุงเทพฯ โดยก่อนหน้านั้นเขาได้ร้องเรียนกรณีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบในที่ดินสาธารณะตำบลบ่อนอก

ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ที่กลับคำตัดสินลงโทษต่ออดีตเจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่นในตำบลบ่อนอก โดยศาลชั้นต้นเคยมีคำพิพากษาเมื่อปี 2551 ว่าเขาจ้างวานฆ่านายเจริญและตัดสินให้ประหารชีวิตเขา ทั้งยังพิพากษายืนให้ยกฟ้องจำเลยอีกสองคนซึ่งเป็นลูกชายของเขา โดยคนหนึ่งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นในขณะที่อีกคนเป็นทนายความ ทั้งนี้สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อปี 2551 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยเนื่องจากขาดพยานหลักฐาน ไม่ใช่เพราะว่ามือปืนสองคนที่เคยให้เบาะแสกับตำรวจว่า เขาเป็นผู้จ้างวานฆ่านายเจริญ ได้เสียชีวิตระหว่างการไต่สวนของศาลชั้นต้น โดยมือปืนทั้งสองคนเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่เมื่อเดือนมีนาคมและกรกฎาคม 2549 ตามลำดับ ก่อนจะให้ปากคำต่อศาล

ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมทั้งการเคารพและคุ้มครองสิทธิที่จะมีชีวิต และต้องใช้มาตรการชดเชยการละเมิดสิทธิดังกล่าวรวมทั้งสิทธิอื่น ๆ การที่ทางการไม่สามารถชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมต่อนายเจริญและครอบครัวของเขา นับเป็นโศกนาฏกรรมในการต่อสู้อย่างยาวนานเพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับเขาและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนอื่น ๆ ในประเทศไทย ทั้งยังสนับสนุนวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดที่น่ารังเกียจให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้เกิดการสังหาร ทำร้ายและคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อไป

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องอีกครั้งให้ทางการใช้มาตรการเพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกคนให้ปลอดภัยจากการถูกทำร้าย และให้การประกันว่าจะมีการนำบุคคลผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งให้ความคุ้มครองต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงอันตราย และให้ความคุ้มครองแก่พยานเพื่อคุ้มครองพวกเขาจากอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้น

For English: https://www.amnesty.org/en/documents/asa39/2662/2015/en/