Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้เรียกร้องทางการไทยตรวจสอบข้อกล่าวหา “การทรมาน” จำเลยคดีเกาะเต่า

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
© AFP/Getty Images

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

ใบแถลงข่าว

23 ธันวาคม 2558

แอมเนสตี้เรียกร้องทางการไทยตรวจสอบข้อกล่าวหา “การทรมาน” จำเลยคดีเกาะเต่า

                ​แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกแถลงการณ์เรียกร้องทางการไทยตรวจสอบข้อกล่าวหาว่ามีการทรมานจำเลยสองคนจากการที่ศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรม และต้องประกันว่าจะมีการสอบสวนอย่างอิสระ โปร่งใส และรอบด้านต่อข้อกล่าวหานี้

​                วันนี้ ศาลจังหวัดเกาะสมุยพิพากษาว่านายซอ ลินและนายวินซอตุน (สัญชาติพม่าทั้งคู่) มีความผิดฐานฆาตกรรมนางสาวฮานน่าห์ วิทเธอริดจ์และนายเดวิด มิลเลอร์นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษเมื่อเดือนกันยายน 2557 และตัดสินประหารชีวิตทั้งสองคน โดยทนายจำเลยมีแผนยื่นอุทธรณ์คำตัดสินนี้

​                ที่ผ่านมาทั้งสองคนอ้างว่าระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พวกเขาถูกทรมาน ไปตั้งแต่โดนเปลื้องผ้า ทุบตี เตะ และข่มขู่ด้วยการช็อตไฟฟ้าเพื่อบังคับให้ “รับสารภาพ” ซึ่งผู้พิพากษาได้ยกข้อกล่าวหาดังกล่าวโดยอ้างว่า ไม่มีหลักฐานว่าเกิดการทรมานขึ้น และไม่มีการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด

​                แชมพา พาเทล (Champa Patel) ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า ทางการไทยต้องให้การประกันว่าในการพิจารณาคดีใหม่ที่จะเกิดขึ้น ศาลจะไม่รับฟังหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นคำรับสารภาพหรือคำให้การ ที่มีการกล่าวหาว่าเป็นผลมาจากการทรมาน เว้นแต่ใช้เป็นหลักฐานเพื่อดำเนินคดีต่อผู้ทำการทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งคำให้การดังกล่าว โดยต้องเป็นการสอบสวนอย่างเป็นอิสระ โดยไม่อยู่ภายใต้อำนาจความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การสอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการทรมานเหล่านี้ ควรเป็นภารกิจของหน่วยงานอิสระ ไม่ใช่ปล่อยให้ตำรวจสอบสวนเอง

​                “หน่วยงานตำรวจของไทยมีประวัติความเป็นมายาวนานและมีสถิติเลวร้ายในแง่การใช้การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายรูปแบบอื่นเพื่อบังคับให้ “รับสารภาพ” คดีนี้ไม่ใช่คดีแรกที่เพิ่งเกิดขึ้น ทางการไทยต้องเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อขจัดการทรมาน ไม่ใช่เพียงแค่กล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้ดำเนินการแล้ว

​                “เราหวังว่าทางการไทยจะประกันให้มีการพิจารณาคดีใหม่อย่างถูกต้อง โดยเคารพต่อกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ครอบครัวของน.ส.ฮานน่าห์ วิทเธอริดจ์และนายเดวิด มิลเลอร์ได้รับความยุติธรรมและไม่มีความกังวลใจเกิดขึ้น"

​                จากการสอบสวนในคดีนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) พบว่าข้อกล่าวหาว่ามีการทรมานบุคคลผู้ถือสัญชาติพม่าทั้งสองคนมีความน่าเชื่อถือ

​                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกังวลอย่างยิ่งต่อการที่ศาลสั่งประหารชีวิตจำเลยทั้งสองคน

​                สำหรับประเทศไทยไม่มีการประหารชีวิตบุคคลในประเทศมาตั้งแต่ปี 2552 ในขณะที่ทางการไทยแสดงพันธกิจมุ่งหน้ายกเลิกโทษประหารชีวิต แต่ในช่วงปี 2558 จำนวนความผิดที่มีโทษประหารชีวิตกลับเพิ่มขึ้น

​                “โทษประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่และเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีมากสุด โดยไม่มีผลที่พิสูจน์ได้ว่าช่วยในการป้องปรามหรือลดการเกิดอาชญากรรมเมื่อเปรียบเทียบกับการลงโทษในรูปแบบอื่น ทางการไทยต้องลดหย่อนโทษในคดีนี้ทันที และดำเนินการโดยทันทีเพื่อยกเลิกโทษประหารจากกฎหมาย” แชมพา พาเทล กล่าว

///

AMNESTY INTERNATIONAL 
PRESS RELEASE 
23 December 2015 

Thailand: Torture claims in Koh Tao murder case must be investigated 

Authorities in Thailand must ensure an independent, transparent and thorough examination of allegations of torture by police made by two men who today were found guilty of murder, Amnesty International said. 

The Koh Samui Provincial court today found  Zaw Lin and Win Zaw Tun (both Myanmar nationals) guilty of the murder of the British tourists Hannah Witheridge and David Miller in September 2014 and sentenced them to death. The pair’s defence team plans to appeal the judgment.   

The two Myanmar nationals claimed that during their interrogation police tortured them including by stripping, beating, kicking and threats of electric shocks to extract “confessions”. The presiding judge dismissed the allegations, stating that there was no evidence that torture took place, without providing any further information. 

“Thai authorities must ensure that any alleged confession or other statement obtained as a result of torture is not admitted as evidence in court in any retrial of the case, unless against those accused of torture  to prove that the statement has been taken. This requires an independent investigation, which the police should certainly not be in charge of,” said Champa Patel, Amnesty International Director for Southeast Asia and the Pacific. 

“The Thai police force has a long and disturbing track record of using torture and other forms of ill-treatment to extract ‘confessions’. This is far from an isolated case – the Thai authorities must start taking concrete steps to stamp out torture , not just paying lip service to doing so. 

“We hope that the Thai authorities will ensure the truth in a retrial that respects international human rights law and standards, so that the families of Hannah Witheridge and David Miller get the justice and peace of mind they deserve.” 

In its own investigation of the case, the Thai National Human Rights Commission found the allegations of torture by the two Myanmar nationals to be credible. 

Amnesty International is deeply concerned by the Court’s sentencing of the two defendants to death. 

Thailand has not carried out any executions since 2009. While authorities have committed to moving towards abolition of capital punishment during 2015 the number of offences punishable by the death penalty has increased. 

“The death penalty is a violation of the right to life and the ultimate cruel, inhuman or degrading punishment. It has no proven effect of deterrence or reducing crime rates compared to other forms of punishment. The sentences must be immediately commuted, and Thailand should take immediate steps to abolish capital punishment from the books.” said Champa Patel. 

Public Document 
**************************************** 
For more information please call Amnesty International's press office in London, UK, on 
+44 20 7413 5566 or +44 (0)777 847 2126 
email: press@amnesty.org twitter: @amnestypress 
International Secretariat, Amnesty International, 1 Easton St., London WC1X 0DW, UK 

 

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • สิทธิมนุษยชน
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์นชั่นแนล
  • เกาะเต่า
  • การทรมาน
  • ผู้ต้องหา
  • จำเลย