Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

เปิดรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตทั่วโลกในปี 2558

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

 

เปิดรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตทั่วโลกในปี 2558

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตทั่วโลกในปี 2558 ชี้ตัวเลขการประหารชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ สถิติสูงสุดในรอบกว่า 25 ปี โดยสามประเทศที่ประหารชีวิตมากที่สุดคือ อิหร่าน ปากีสถาน และซาอุดิอาระเบีย ทั้งนี้แนวโน้มประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างกำลังหันหลังให้กับโทษประหารชีวิต ปัจจุบันมี 140 ประเทศหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของ ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว โดยที่ 102 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดอาญาทุกประเภท

          รายงานระบุว่าปี 2558 เป็นปีที่มีการประหารชีวิตมากที่สุด นับตั้งแต่มีการบันทึกจากปี 2532  โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตมากกว่า 1,634 คนใน 25 ประเทศ เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ถึง 54% ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมตัวเลขจากประเทศจีน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถือเป็นความลับของทางราชการ แต่จีนยังคงเป็นประเทศที่ประหารชีวิตประชาชนมากสุดในโลก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่ามีผู้ถูกประหารชีวิตและถูกสั่งลงโทษประหารชีวิตหลายพันคนในปี 2558 แม้จะมีสัญญาณว่าจำนวนการประหารชีวิตในจีนลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจากการเก็บข้อมูลโทษประหารชีวิตเป็นความลับทำให้ไม่สามารถยืนยันข้อมูลที่แท้จริงได้

          ประเทศที่ประหารชีวิตประชาชนมากสุดห้าอันดับแรกของโลกในปี 2558 ได้แก่ จีน อิหร่าน ปากีสถาน ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐฯ ตามลำดับ

          แต่ยังมีสี่ประเทศยกเลิกโทษประหารชีวิตในกฎหมายของตนอย่างถาวรในปี 2558 ได้แก่ ฟิจิ มาดากัสการ์ สาธารณรัฐคองโก และซูรินาเม ส่วนมองโกเลียผ่านร่างประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่ซึ่งยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยจะมีผลบังคับใช้ช่วงปลายปี 2559

          แม้จะมีความถดถอยในปี 2558 แต่ทั่วโลกยังคงเดินทางไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลก 102 ประเทศยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดอาญาทุกประเภท ถ้านับรวมกันแล้วประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติรวมเป็นจำนวน 140 ประเทศหรือ 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลก

          ซาลิล เช็ตตี้ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยว่าโชคดีที่ประเทศซึ่งประหารชีวิตประชาชนยังคงเป็นประเทศส่วนน้อยและมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ประเทศส่วนใหญ่ในโลกหันหลังให้กับโทษประหารชีวิตแล้ว

“ไม่ว่าความถดถอยระยะสั้นจะเป็นอย่างไร แต่แนวโน้มระยะยาวยังคงชัดเจนว่า ทั่วโลกกำลังมุ่งหน้าออกจากโทษประหารชีวิต ประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตจึงต้องตระหนักว่า พวกเขาอยู่ในด้านที่ผิดของประวัติศาสตร์ และควรยกเลิกการลงโทษที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรมมากสุดนี้เสียที”

          สำหรับประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วนลาว พม่า และบรูไน ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ (การที่ยังคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิต แต่ได้ระงับการประหารชีวิตเป็นระยะเวลา 10 ปีติดต่อกัน) ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามยังคงมีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่

          ในส่วนของประเทศไทยมีการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2552 ก้าวเข้าสู่ปีที่เจ็ดที่ไม่มีการประหารชีวิต ซึ่งหากไม่มีการประหารชีวิต 10 ปีติดต่อกัน ทางองค์การสหประชาชาติจะถือว่าเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติทันที ซึ่งจะถือเป็นพัฒนาการที่ดีด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับประเทศไทยอีกก้าวหนึ่ง

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม


 

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • การประหารชีวิต
  • ยกเลิกโทษประหารชีวิต
  • สถานการณ์โทษประหารชีวิตทั่วโลก
  • สิทธิในชีวิต
  • สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล