Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

ยุโรปต้องเปลี่ยนท่าทีที่น่าละอายต่อปัญหาผู้ลี้ภัยจากซีเรีย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

 

โดย Gauri van Gulikรองผู้อำนวยการยุโรป แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, @GaurivanGulik

 

               การยืนนิ่งสงบ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของผู้คนทั่วโลกในการร่วมไว้อาลัยต่อทุกชึวิตที่ต้องจบลงด้วยโศกนาฏกรรมหรือด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม และนั่นก็เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรกระทำเช่นกันต่อกรณีโศกนาฏกรรมในยุโรปในห้วงเวลาปัจจุบัน เมื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพหลายพันคนต้องจบชีวิตไป ถึงแม้พวกเขาจะไม่ได้เสียชีวิตจากความรุนแรงในบ้านเกิดในประเทศซีเรีย แต่กลับต้องมาจบชีวิตลงจากเดินทางที่เสี่ยงอันตรายเพื่อแสวงหาที่อยู่ใหม่ที่ปลอดภัยและด้วยความหวังว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีกว่าในยุโรป เมื่อโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำซากและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างน่าตกใจนี้ ได้เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงความรุนแรงจากกรณีปัญหาดังกล่าว 

           ห้วงเวลาเพียงสัปดาห์เดียว ผู้คนทั้งโลกต่างตื่นตระหนกด้วยความตกใจกับเรื่องราวของโศกนาฏกรรมในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นถึงสี่ครั้ง ที่ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพจำนวนมากต้องจบชีวิตลงก่อนวัยอันควรอันเนื่องมาจากการเดินทางเพื่อแสวงหาที่อยู่ใหม่ในปีนี้ โดยข้อมูลจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Refugees - UNHCR) ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วมากถึง 2,500 คนระหว่างการเดินทางเพื่อลี้ภัยมายังยุโรป นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นมา

ในวันที่ 26 สิงหาคม มีผู้พบศพบุคคล 52 ศพ ในเรือลำหนึ่งซึ่งทอดสมออยู่ห่างจากชายฝั่งลิเบียประมาณ 30 ไมล์ทะเล

ในวันที่ 27 สิงหาคม ตำรวจออสเตรียพบศพบุคคล 71 ศพ ซึ่งในจำนวนนี้มีศพเด็กรวมอยู่ด้วย ถูกอัดแน่นอยู่ในรถบรรทุกที่จอดทิ้งไว้บริเวณข้างทางหลวง ระหว่างกรุงบูดาเปสต์และเวียนนา โดยตำรวจแจ้งกับสื่อมวลชนว่า  สันนิฐานว่าศพเหล่านั้นน่าจะเป็นชาวซีเรียและน่าจะเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ

ในคืนเดียวกันมีรายงานข่าวเรือล่มนอกชายฝั่งเมืองซูวารา ในลิเบีย เป็นเหตุให้อาจมีผู้เสียชีวิตมากถึง 200 คน

และเมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมาภาพของเด็กน้อยที่จมน้ำและถูกคลื่นพัดพาเข้าสู่ชายฝั่งประเทศตุรกีกลายเป็นประเด็นข่าวที่นำมาซึ่งความสลดหดหู่ต่อสังคมโลก ส่งผลให้ความสนใจต่อวิกฤตครั้งนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อกันว่าเด็กน้อยคนนี้และพี่ชายของเขาเดินทางมาจากกรุงโคบานีในประเทศซีเรีย พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบุคคลอย่างน้อย 11 คนซึ่งเชื่อว่าได้เสียชีวิตลงในขณะที่เรืออับปางอยู่กลางทะเล ระหว่างการเดินทางเพื่อที่จะไปยังเกาะโคส ประเทศกรีซ 

โดยปกตินั้นเหตุการณ์โศกนาฏกรรมมักเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก และเกิดขึ้นโดยมิอาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ หากแต่ความน่าหวาดกลัวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นมิได้เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายแต่อย่างใด

การที่มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ไม่ว่าชายหรือหญิง ไม่ว่าจะถูกยัดอยู่ในรถบรรทุกหรือในเรือ หรือต้องจบชีวิตในระหว่างการเดินทางเพื่อแสวงหาความปลอดภัยหรือชีวิตที่ดีกว่า ทั้งหมดล้วนเป็นประจักษ์พยานอันโหดร้ายที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของผู้นำประเทศในยุโรปที่มีหน้าที่ต้องเอื้ออำนวยให้มีการเดินทางอย่างปลอดภัยที่สุดเพื่อมายังฝั่งยุโรป และสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ถือเป็นความอับอายที่ต้องการการแสดงความรับผิดชอบร่วมกันของประเทศในยุโรปทั้งหมด

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ผู้นำสหภาพยุโรปได้มีการประชุมกับรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศทางตะวันตกของทะเลสาบบอลข่าน แม้ในขั้นตอนแรกประเด็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนี้จะไม่ถูกกำหนดในวาระการประชุม แต่ไม่นานหลังจากนั้นประเด็นของการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยในภูมิภาคได้กลับกลายเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมา

สัปดาห์ที่ผ่านมาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรายงานจากจากผู้สนับสนุนที่อยู่บริเวณพรมแดนด้านใต้ของมาซิโดเนียติดกับประเทศกรีซ ซึ่งเป็นจุดที่มีผู้ลี้ภัยมากถึง 4,000 คนต้องติดอยู่ในพรมแดนที่ถูกปิดของมาซิโดเนีย โดยรายงานว่าตำรวจได้ปิดล้อมบริเวณจุดข้ามพรมแดนและมีการนำลวดไฟฟ้าและระเบิดเสียงมาใช้เพื่อสร้างให้เกิดความหวาดกลัวแก่บรรดาผู้ลี้ภัยซึ่งหลบหนีสงครามจากซีเรีย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้ลี้ภัยเหล่านั้นข้ามพรมแดนเข้ามา

ผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นคุณแม่ลูกสี่คนหนึ่งจากดามัสกัส เธอกอดลูกชายคนเล็กไว้แน่น ระหว่างที่มีเสียงระเบิดอยู่ใกล้ ๆนั้นกล่าวว่า

เสียงระเบิดนี้ทำให้ดิฉันนึกถึงซีเรีย มันทำให้เด็ก ๆ ตกใจมาก ดิฉันไม่คิดมาก่อนเลยว่าจะต้องมาเจอเหตุการณ์แบบนี้ในยุโรป ไม่เคยคิดมาก่อนเลย  

เหนือขึ้นไปบนเส้นทางอพยพในคาบสมุทรบอลข่านซึ่งอยู่ในพรมแดนของประเทศฮังการี มีรายงานว่าตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าไปในพื้นที่ซึ่งแออัดไปด้วยผู้ลี้ภัย ในขณะที่ทางการฮังการีกำลังอยู่ระหว่างการจัดสร้างรั้วลวดหนามตามแนวพรมแดนที่ติดกับเซอร์เบีย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพข้ามพรมแดนเข้ามาได้ 

และเมื่อเร็ว ๆ นี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงทั้งที่เกาะโคสและลีโวสในประเทศกรีซ ซึ่งเป็นด่านหน้าในการรองรับวิกฤตผู้ลี้ภัยในยุโรป เป็นพื้นที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องทำงานอย่างหนักแต่กลับมีงบประมาณสนับสนุนน้อยมาก ส่งผลให้ประสบกับปัญหาในการรับมือกับการเพิ่มขึ้นของผู้ลี้ภัยที่เข้ามายังเกาะแห่งนี้ซึ่งมีจำนวนมากถึง 33,000 คน ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่หลายพันคนรวมถึงผู้ลี้ภัยจำนวนมากจากซีเรียต้องพักอาศัยในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย

วิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรงนี้ถือเป็นปัญหาร่วมกันของประเทศในยุโรป นั่นก็คือการที่ยุโรปพยายามหลีกหนีความรับผิดชอบของตนที่มีต่อวิกฤตผู้ลี้ภัยระดับโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สิ่งที่เกิดขึ้นคือยุโรปไม่สามารถจัดให้มีเส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยสำหรับผู้ลี้ภัย เพื่อแสดงถึงการเคารพต่อสิทธิและความต้องการการคุ้มครองของบุคคลอย่างมีศักดิ์ศรีตามที่พวกเขาพึงจะได้รับตามหลักสิทธิมนุษยชน

เราจะอยู่นิ่งเฉยต่อไปไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาเรานิ่งเงียบมานานเกินไปแล้ว ถึงเวลาแล้วที่จะต้องแสดงความเป็นผู้นำในการจัดการปัญหาวิกฤติเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม

ดูเหมือนว่าผู้นำยุโรปบางส่วน เริ่มจะเข้าใจข้อความเหล่านี้บ้างแล้ว

ในที่ประชุมสุดยอดกรุงเวียนนาที่ผ่านมานั้น แทบจะไม่มีเสียงเรียกร้องให้สร้างป้อมปราการของยุโรปและกีดกันผู้ลี้ภัยออกไป แต่กลับมีเสียงเรียกร้องมากขึ้นให้แสดงความเป็นเอกภาพและความรับผิดชอบต่อปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น

Federica Mogherini รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวไว้อย่างชัดเจนในการแสดงความเห็นในช่วงท้ายของการประชุมดังกล่าว โดยกล่าวว่า

ยุโรปมี “หน้าที่ทางศีลธรรมและกฎหมาย” ที่จะต้องคุ้มครองผู้แสวงหาที่พักพิง

ซึ่งเป็นคำพูดที่ถูกต้อง แต่จำเป็นต้องนำไปสู่ภาคการปฏิบัติอย่างจริงจังด้วย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องมาโดยตลอดในช่วงหลายปีมานี้ให้มีแนวทางที่ชัดเจนและจริงจังในการแก้ปัญหาร่วมกันในระดับยุโรป โดยผู้นำชาติยุโรปในทุกระดับจะต้องเพิ่มความพยายามและให้ความคุ้มครองกับบุคคลมากขึ้น ร่วมกันแบกรับความรับผิดชอบมากขึ้น และแสดงความเป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาร่วมกับประเทศอื่น ๆ และเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ อย่างน้อยที่สุด ความพยายามในการออกมาตรการเหล่านั้นควรหมายถึงการเพิ่มโครงการในการรองรับผู้อพยพจำนวนมาก เพราะข้อเสนอที่เป็นอยู่ถือว่ายังไร้ประสิทธิภาพมากมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ลี้ภัยจากซีเรีย 1.8 ล้านคนที่ตุรกีแบกรับอยู่ทุกในวันนี้ ยุโรปต้องจัดให้มีการออกวีซ่าตามหลักมนุษยธรรมและดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ครอบครัวเหล่านี้ได้กลับมาใช้ชีวิตร่วมกันได้อีก

หากไม่สามารถทำได้ย่อมถือเป็นความล้มเหลวทางศีลธรรมและสิทธิมนุษยชนในระดับที่น่าตกใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนคงไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้อีกต่อไป

Time for Europe to end the refugee shame

ป้ายคำ: 

  • ผู้ลี้ภัย
  • ผู้แสวงหาที่พักพิง
  • ซีเรีย
  • สหภาพยุโรป
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล