Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

บทบาทกรรมการ

หลักการของกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

  • ความเป็นกลาง
  • ความเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น (ความไม่เห็นแก่ตัว)
  • ความสุจริตใจ
  • ความเป็นภววิสัย ในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการควรดูแลให้การวินิจฉัยของตนตั้งอยู่บนหลักคุณธรรม
  • การตรวจสอบได้
  • ความเปิดใจกว้าง
  • ความซื่อสัตย์
  • ความเป็นผู้นำ

บทบาทของคณะกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

คณะกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ดังนี้ :

  • ควบคุมทิศทางการดำเนินงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับธรรมนูญและข้อบังคับของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและธรรมนูญของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
  • กำกับดูแลด้านการเงินเพื่อให้เกิดการบริหารอย่างเหมาะสม
  • คาดการณ์และวางแผนการดำเนินงานในอนาคตของ
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
  • สร้างความเชื่อมั่นว่าการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์หลักนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ดำเนินการตัดสินใจระดับประเทศเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายระดับนานาชาติ และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร (ทั้งภายในและภายนอก) มีส่วนร่วมด้วย
  • แต่งตั้งตัวแทนสำหรับกระบวนการการตัดสินใจเชิงนโยบายระดับนานาชาติ
  • พัฒนาและดัดแปลงกรอบการดำเนินงานสำหรับสมาชิกและโครงสร้างของนักกิจกรรม บนจุดมุ่งหมายเพื่อระดมทรัพยากรและสร้างความเติบโตด้านสมาชิกและอาสาสมัครขององค์กร
  • ดูแลให้คณะทำงานขององค์กรมีความรับผิดชอบ
  • รับผิดชอบการจัดทำรายงานต่างๆ ให้กับสมาชิก
  • จัดทำรายงานการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติงานรวมทั้งรายงานการเงินที่ถูกต้องให้กับสมาชิกและองค์กรภาคีทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • แต่งตั้งผู้อำนวยการบริหาร ติดตามดูแลและประเมินผลการทำงานของผู้อำนวยการ และกำหนดขั้นตอนให้ผู้อำนวยการรายงานและสามารถตรวจสอบได้
  • รับผิดชอบในการกำกับดูแลการระดมทุนโดยรวมขององค์กร (กำกับดูแลยุทธศาสตร์การระดมทุนขององค์กรและการนำไปปฏิบัติใช้อย่างเหมาะสม)
  • ทำงานร่วมกับสำนักงานเพื่อสร้างแผนการระดมทุนที่ประกอบด้วยชุดของยุทธวิธีที่เหมาะสม
  • ทำงานกับทีมงานระดมทุนในความพยายามของพวกเขาในการระดมทุน
  • มีบทบาทนำในการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการระดมทุน
  • ตรวจสอบความพยายามในการระดมทุนเพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติดังกล่าวถูกต้องทางจริยธรรม ผู้บริจาคเป็นที่ยอมรับอย่างเหมาะสมและความพยายามระดมทุนเป็นค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ

บทบาทของประธานกรรมการ 

ประธานกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ดังนี้:

  • ประสานแผนงานการดำเนินงานของคณะกรรมการ โดยประธานกรรมการเป็นผู้นำและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบให้กับคณะกรรมการ รวมทั้งติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงาน
  • ส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาและการเติบโตของคณะกรรมการทั้งในฐานะที่บุคคลและเป็นทีมงานในการรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ
  • สร้างความเชื่อมั่นว่า การปฏิบัติหน้าที่และกระบวนการทำงานของคณะกรรมการมีการประสานงานและร่วมมือกัน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นว่า คณะกรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
  • สร้างความเชื่อมั่นว่า คณะกรรมการจะได้รับการสนับสนุน,ได้รับข้อมูลและทรัพยากรที่ต้องการเพื่อสามารถปฏิบัติงานได้
  • เป็นตัวแทนในการเจรจาระหว่างคณะกรรมการกับผู้อำนวยการ กำหนดหน้าที่การจัดการและให้การสนับสนุนแก่ผู้อำนวยการ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นว่า มีการส่งต่อข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้อำนวยการและสภาระหว่างประเทศ
  • ควบคุมดูแลงบประมาณของคณะกรรมการรวมทั้งดำเนินการอนุมัติงบประมาณในการเดินทาง ทำงานร่วมกับผู้อำนวยการและคณะกรรมการในการจัดเตรียมกำหนดการและแผนการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการ
  • สร้างความเชื่อมั่นต่อการเอื้ออำนวยการประชุมของคณะกรรมการ
  • สร้างความเชื่อมั่นว่า ผลการประชุมคณะกรรมการนั้นถูกนำไปสื่อสารอย่างชัดเจนต่อสมาชิก

บทบาทของรองประธานกรรมการ

รองประธานกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มเติมหลัก ดังนี้ : 

  • สนับสนุนและแนะนำแนวทางแก่ประธานกรรมการในการปฏิบัติงาน
  • ติดตามการทำงานและให้การสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการ
  • ปฏิบัติงานแทนประธานกรรมการในกรณีที่ประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติงานได้
  • ประสานหน้าที่ความรับผิดชอบที่คณะกรรมการแต่ละคนได้รับมอบหมาย, หน้าที่ของกลุ่มที่ได้รับมอบหมายหรือหน้าที่ของตัวแทนกรรมการ รวมทั้งติดตามการดำเนินงานและตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน

บทบาทของเหรัญญิก

เหรัญญิกมีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มเติมหลัก ดังนี้ :

  • ช่วยพัฒนาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมงบประมาณ และทบทวนงบประมาณที่จัดเตรียมโดยสำนักงานให้สอดคล้องกับแผนงานขององค์กร
  • กำกับดูแลด้านการเงินเพื่อให้เกิดการบริหารอย่างเหมาะสม
  • รายงานให้กับกรรมการเกี่ยวกับความผิดปกติทางการเงิน (ถ้ามี) รวมทั้งความกังวล และโอกาส ทางด้านการเงินขององค์กร
  • ให้การแนะนำแนวทางปฏิบัติทางการเงินต่อคณะกรรมการ เช่นการจัดตั้งกองทุนสำรอง
  • การกำกับดูแลเงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาว
  • ให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่ผู้อำนวยการในการจัดลำดับความสำคัญทางการเงินและระบบสารสนเทศด้านการเงิน
  • จัดทำรายงานการเงินให้กับสมาชิกและองค์กรภาคีทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ
  • แนะนำการเลือกผู้สอบบัญชีและทำงานกับผู้สอบบัญชี