Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แถลงการณ์ร่วมขององค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน สนับสนุนการแต่งตั้งให้มีผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิความเป็นส่วนตัว

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน

29 มกราคม 2558

เรียน คุณพรประไพ กาญจนรินทร์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ

                หน่วยงานที่มีชื่อด้านท้ายเป็นพันธมิตรขององค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ทำงานคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เราเขียนจดหมายนี้เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลของท่าน สนับสนุนการแต่งตั้งให้มีผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิความเป็นส่วนตัวในที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 28 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ในเดือนมีนาคม

                ดังที่ท่านทราบดี มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติว่าด้วยสิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิตัล ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2557 เรียกร้องให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะจัดตั้งกลไกพิเศษ (special procedure) ว่าด้วยสิทธิความเป็นส่วนตัว ในที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 28 คาดว่าคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจะพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญที่ทางคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจะมีมติอย่างชัดเจนเพื่อประกันว่าประเด็นสิทธิความเป็นส่วนตัวได้รับความสำคัญในระดับสูง เช่นเดียวกับสิทธิอื่น ๆ เป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและให้มีการคุ้มครองอย่างเหมาะสม

                ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และผู้มีอำนาจตามกลไกพิเศษอื่น ๆ ต่างตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกำหนดแนวทางอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบและชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตและเนื้อหาของสิทธิความเป็นส่วนตัว ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามข้อ 12 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และข้อ 17 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานเหล่านี้ต่างจำแนกให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องประเมินและตรวจสอบการปฏิบัติตามสิทธิดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

                ในระหว่างการพิจารณารายงานของข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ 27 ในเดือนกันยายน 2557 รัฐหลายแห่งและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ยังได้เน้นย้ำความจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ วิจัย และติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในแง่ของสิทธิความเป็นส่วนตัว ภารกิจดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยเฉพาะสำหรับกลไกที่มีอำนาจ

                ข้อเสนอให้ประเมินผลยังได้รับการสนับสนุนจากผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความเห็น (UN Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression) และผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (UN Special Rapporteur on the promotion and protection of human rights and fundamental freedoms) ซึ่งแม้ในระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งสองหน่วยงานยังคงปฏิบัติหน้าที่โดยวิแคราะห์ถึงประเด็นความเป็นส่วนตัวภายในขอบเขตอำนาจของตน

                เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีกลไกพิเศษที่มุ่งทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวเป็นการเฉพาะ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่จะเป็นผู้นำในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิดังกล่าว โดยเฉพาะในขณะที่เทคโนโลยีสมัยใหม่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการแทรกแซงความเป็นส่วนตัวอย่างกว้างขวางแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิความเป็นส่วนตัวจะช่วยอุดช่องว่างเชิงโครงสร้างที่สำคัญ และจะช่วยให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีบทบาทนำในการจำแนกและกำหนดรายละเอียดของหลักการ มาตรฐาน และการปฏิบัติที่ดีสุดในแง่ของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว อำนาจหน้าที่ดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบต่อผลกระทบของการกระทำของทั้งหน่วยงานของรัฐและอื่น ๆ ที่มีต่อสิทธิความเป็นส่วนตัว รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธกรณีและความรับผิดชอบของตน ผู้รายงานพิเศษย่อมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเนื้อหาของสิทธิความเป็นส่วนตัว และสามารถให้ข้อชี้แนะที่จำเป็นต่อรัฐและบรรษัทในการตีความสิทธิเหล่านี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้รายงานพิเศษด้านความเป็นส่วนตัวย่อมสามารถรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และประกันให้มีการพัฒนาแนวทางที่สอดคล้องและหนุนเสริมกัน เพื่อให้เกิดปฏิสังสรรค์ระหว่างสิทธิความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิอื่น ๆ

                ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นผล ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิความเป็นส่วนตัวควรสามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้งปวงตามที่มักกำหนดไว้โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติสำหรับกลไกพิเศษอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ อย่างเช่น การจัดทำข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดีสุด การรับฟังและแสวงหาข้อมูลจากรัฐ ภาคธุรกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ การเข้าเยี่ยมประเทศ การเป็นผู้นำและเข้าร่วมการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง การจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามและทำให้สิทธิความเป็นส่วนตัวเกิดขึ้นได้จริง รวมทั้งการรายงานผลเป็นระยะให้กับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและที่ประชุมสมัชชาใหญ่

                เราจึงกระตุ้นให้รัฐบาลของท่านสนับสนุนให้มีการจัดตั้งผู้รายงานพิเศษซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทางสำหรับขอบเขตและเนื้อหาของสิทธิความเป็นส่วนตัวตามที่รับรองไว้ในข้อ 12 ของ UDHR และข้อ 17 ของ ICCPR และทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามของรัฐ บรรษัท และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อประกันให้มีการปฏิบัติตามและการบังคับใช้อย่างเหมาะสม

                เราหวังว่าจะได้รับฟังคำตอบจากท่าน ซึ่งท่านอาจติดต่อผ่านหน่วยงานใดก็ได้ตามรายนามด้านล่าง

ขอแสดงความนับถือ

 

Privacy International, Carly Nyst, Legal Director, carly@privacyinternational.org

Access, Peter Micek, Senior Policy Counsel, peter@accessnow.org

American Civil Liberties Union (ACLU), Steven Watt, Senior Staff Attorney, swatt@aclu.org

Amnesty International, Peter Splinter, Representative to the United Nations in Geneva,

psplinte@amnesty.org

Article 19, Thomas Hughes, Executive Director, thomas@article19.org

Association for Progressive Communications (APC), Anriette Esterhuysen, Executive Director, anriette@apc.org

Center for Democracy and Technology, Nuala O'Connor, President & CEO

Electronic Frontier Foundation, Katitza Rodriguez, International Rights Director, katitza@eff.org

Human Rights Watch, Eileen Donahoe, Director of Global Affairs, donahoe@HRW.org

International Commission of Jurists, Matt Pollard, Senior Legal Adviser, matt.pollard@icj.org

International Federation for Human Rights, Nicolas Agostini, Representative to the UN, nagostini@fidh.org