Error message

  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).
  • Deprecated function: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in _filter_pubdlcnt() (line 50 of /home/amnestyo/domains/amnesty.or.th/public_html/old/sites/all/modules/contrib/pubdlcnt/pubdlcnt.module).

แอมเนสตี้เข้าพบ ก.ยุติธรรม หารือยกเลิกโทษประหารในไทย

หมวดหมู่ : ข่าวสิทธิมนุษยชน
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

แอมเนสตี้เข้าพบ ก.ยุติธรรม หารือยกเลิกโทษประหารในไทย

ตัวแทนผู้บริหารและนักวิจัยของ 'แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล' เข้าพบตัวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยื่นจดหมายและรายงานโทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตปี 2558 เพื่อนำไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย

          วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2559 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมสว่างกมล ชั้น 3 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ นายราเฟนดี จามิน ผู้อำนวยการประจำสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชีย-แปซิฟิก และนางปิยนุช โคตรสาร รักษาการผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเข้าพบกับนางกรรณิการ์ แสงทอง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในฐานะตัวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อยื่นจดหมายและรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2558 ซึ่งรวบรวมโดยนักวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และหารือเพื่อนำไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย

          นางปิยนุช โคตรสาร รักษาการผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเผยว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ดำเนินการให้การศึกษา สร้างความเข้าใจ และรณรงค์ให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณีมาอย่างยาวนาน และพบว่าไม่มีหลักฐานใดแสดงว่าโทษประหารชีวิตมีส่วนช่วยป้องกันอาชญากรรม จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรักษาพันธสัญญาและเห็นคุณค่าของทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน  จึงขอให้รัฐบาลไทยพิจารณาสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศในการยกเลิกโทษประหารชีวิต ดังนี้

  • ประกาศพักการประหารชีวิตในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการโดยทันที เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 3 โดยมีเจตจำนงที่จะออกกฎหมายให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในท้ายที่สุด
  • เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อลดจำนวนความผิดทางอาญาที่มีบทโทษประหารชีวิต
  • ลงนามและให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights) ที่มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิต

          ด้านนางกรรณิการ์  แสงทอง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวในระหว่างการหารือว่า  เรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิตอาจจะไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างทันทีว่าควรจะยกเลิกหรือไม่ ขณะนี้กระทรวงยุติธรรมโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้ดำเนินการใน 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคนในสังคม การทบทวนและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนากระบวนการยุติธรรม

"เราต้องช่วยกันให้ข้อมูลกับประชาชนว่าโทษประหารชีวิตสามารถป้องปรามอาชญากรรมได้จริงหรือไม่ ซึ่งต้องยกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมานำเสนอด้วย ส่วนการทบทวนแก้ไขกฎหมายเพื่อลดจำนวนความผิดทางอาญาที่มีบทลงโทษประหารชีวิตที่มีอยู่ 63 ฐานนั้น ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่และจะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป”

          จากรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2558 ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่าปัจจุบันมี 140 ประเทศหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของ ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว โดยที่ 102 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดอาญาทุกประเภท โดยในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการตัดสินลงโทษประหารชีวิตอย่างน้อย 7 คน ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 ประเทศไทยมีนักโทษประหาร 420 คน ชาย 368 คน หญิง 52 คน เป็นนักโทษคดียาเสพติด 195 ราย นักโทษคดีทั่วไป 225 ราย

          โดยประเทศไทยมีการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2552 ก้าวเข้าสู่ปีที่เจ็ดที่ไม่มีการประหารชีวิต ซึ่งหากไม่มีการประหารชีวิต 10 ปีติดต่อกัน ทางองค์การสหประชาชาติจะถือว่าเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติทันที ซึ่งจะถือเป็นพัฒนาการที่ดีด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับประเทศไทยอีกก้าวหนึ่ง

          สำหรับประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วนลาว พม่า และบรูไน ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ (การที่ยังคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิต แต่ได้ระงับการประหารชีวิตเป็นระยะเวลา 10 ปีติดต่อกัน) ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามยังคงมีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่

          แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตตามที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม


 

ป้ายคำ: 

  • โทษประหารชีวิต
  • สถานการณ์โทษประหารชีวิต
  • การประหารชีวิต
  • กระทรวงยุติธรรม
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
  • สิทธิมนุษยชน
  • สิทธิในการมีชีวิตอยู่